รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการพิเศษ เกาะติดชายแดน ไทยกัมพูชา ทางช่องอมรินทร์ทีวี ประเมินสถานการณ์ชายแดนไทยกัมพูชาว่า สถานการณ์ยังเป็นการปะทะต่อสู้กัน ในหลายพื้นที่ และเป็นการปะทะกันที่ต้องพูดว่าเป็นสงครามขนาดเล็ก จำกัดวงอยู่พอสมควร แต่ว่าการยกระดับ ไปสู่นานาชาติก็จะเกิดขึ้นแล้ว ในอีกไม่กี่ชั่วโมง เนื่องจาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ก็จะประชุมเรื่องนี้ตามคำขอร้องของกัมพูชา ซึ่งในแง่ศักยภาพของทางการทหารก็ชัดเจนว่า แตกต่างกัน ทางกัมพูชาก็คงที่จะหาจังหวะลดความสูญเสียลง โดยเฉพาะทางอากาศ ก็ชัดเจนเท่าที่ผ่านมาในรอบ 2 วัน แต่ทางบกกัมพูชาก็มียุทโธปกรณ์อย่างที่เห็น ซึ่งสามารถที่จะผลักดันไม่ให้เราเข้าไปจัดการพื้นที่ในบริเวณ รอยต่อ ให้ปลอดภัย ในขณะนี้กองบัญชาการกองทัพไทย ที่ได้บัญชาการ สถานการณ์การปฏิบัติงาน ก็ได้ให้กองทัพบกเข้าไป เพื่อที่จะทำให้พื้นที่ปลอดภัยขึ้น และผลักดันกัมพูชาออกไปจากพื้นที่ที่เขารุกล้ำขึ้นมา รวมทั้ง การย้ายสิ่งกีดขวาง และปฏิบัติการกู้ทุ่นระเบิด เพราะฉะนั้นระหว่างนี้ก็คงมีการปะทะกันเป็นระยะๆอย่างที่เราเห็นตลอดทั้งวัน
และเชื่อว่ากัมพูชา จะไม่ดำเนินการรบ ในลักษณะที่ซับซ้อนได้นานมากนัก แต่ว่าในการจัดหน่วยขนาดเล็กเข้ามาก่อกวนหรือกดดัน หรือว่าใช้อาวุธบางประเภทที่เพิ่งได้รับมา ซึ่งยังมีกระสุนสำรองอยู่บ้าง ก็สามารถที่จะยืดเวลาเพื่อการกดดันเรา แต่คืนนี้ต้องดู ผลของคณะมนตรีความมั่นคงที่กัมพูชาต้องการว่า จะเป็นผลหรือไม่ และจะมากำหนดว่าสถานการณ์ปะทะกันจะรุนแรงมากน้อยขนาดไหนด้วย หากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ มีผลหรือคำสั่งออกมา ก็จะมี 3 แนวทาง
แนวทางแรกถือว่าเป็นสถานการณ์สำคัญ และแทรกอยู่ในวาระประจำที่เร่งด่วน อย่างเช่นเรื่องของฉนวนกาซ่า ที่มีกิจการทางด้านมนุษยธรรมแล้ว กลุ่มแรกถ้าจะมีข้อสังเกตหรือมีมติ ทั่วไปออกมาว่าเป็นกังวลอย่างที่เลขาธิการสหประชาชาติเพิ่งให้ข่าวไป และต้องการให้ 2 ประเทศยับยั้งชั่งใจ และเข้าสู่กระบวนการพูดคุย ซึ่งตรงนั้นเรารับได้ และเป็นไปตามหลักการของเรา ไม่ได้มีปัญหาอะไร เพราะเราก็มีข้อมูลพร้อมที่จะชี้แจง และก็ได้ส่งไปส่วนหนึ่ง
กรณีที่ 2 ถ้าหากว่าสหประชาชาติ ต้องการที่จะยกบทบาทตัวเองเข้ามา และต้องการส่งผู้สังเกตการณ์เข้ามาเก็บข้อเท็จจริงต่างๆเมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลายแล้วก็ต้องตัดสินใจกันอีกที แต่ก็ยังเป็นไปได้ และเราก็ยังสามารถพลิกสถานการณ์ให้เป็นประโยชน์แก่เรา
แต่ที่ไม่เป็นคุณเลย ประเด็นที่ 3 ก็คือถ้าหากคณะมนตรีความมั่นคงพยายามที่จะออกมาติ หรือข้อมติออกมา แล้วไม่มีประเทศใดคัดค้านไม่มีพันธมิตรของเราใน 5 ชาติ ที่เป็นคณะมนตรีถาวรช่วยออกเสียงคัดค้านเหมือนครั้งที่แล้วที่เขาช่วยเรา และเขาต้องการยกระดับ ออกข้อมติ ที่กดดันเรา ประจานเรา ประณามเรา ซึ่งเราก็ไม่ได้คิดในชั้นนี้ว่าเขาจะทำหรือว่าอย่างน้อยๆก็ให้ความเห็นเร่งรัดไปยังศาลโลก เป็นไกด์ส่วนหนึ่งของสหประชาชาติ ให้เร่งดูคดีเหล่านี้ ซึ่งกัมพูชามองว่าชักช้า ต้องการใช้เงื่อนไขตรงนี้ไปกดดันผ่านคณะมนตรีความมั่นคง ตรงนั้นซึ่งยังไม่เป็นคุณ และเรา ก็ยังไม่จำเป็นต้องตอบรับ จนกว่าเราจะชัดเจนว่าทางศาลโลกสามารถรับข้อมูลชุดใหม่ของเราอย่างที่เราได้ส่งไปแล้วที่สหประชาชาติแล้วไปใช้อย่างจริงจังหรือไม่ ถ้าไม่เราก็สงวนสิทธิ์ เราก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อเรียกร้องทั้งหมด แต่ก็ต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ดี ว่าทำไมเราไม่ไม่
ทั้งนี้หากไทยจะกดดันกัมพูชาด้วยการลุกล้ำเข้าพื้นที่มากเกินไปเพื่อหวังให้มีการเจรจา อาจารย์ปณิธาน บอกว่า ไม่เป็นผลดีกับเรา เพราะกัมพูชาอาจจะพลิกสถานการณ์และบอกว่า นี่คือการบุกรุก การก้าวร้าว และกัมพูชาเองก็มีพันธมิตรในคณะมนตรีความมั่นคง มากกว่าเรา ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องใหม่ หลายคนก็คงจะไม่เข้าใจว่า คณะมนตรีความมั่นคงส่วนใหญ่ ที่มาจากภูมิภาค หมุนเวียนไม่ถาวร 10 ชาติ ส่วนใหญ่ก็เป็นประเทศที่ยากจน ในปัจจุบันมีเดนมาร์ก เกาหลีใต้ ที่จะมาเป็นประธานชั่วคราวในเดือนกันยายน อาจจะเข้าใจเรามากกว่า และคณะมนตรีความมั่นคงถาวรส่วนใหญ่ ก็เห็นใจกัมพูชา และก็เคยปกครองประเทศกัมพูชาด้วยซ้ำอย่างเช่นฝรั่งเศส เป็นต้น หรือเป็นประเทศที่ส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ให้กับกัมพูชาอย่างเช่นจีน หรือรัสเซีย เป็นต้น เพราะฉะนั้นเราก็ต้องระวังอย่าไปถึงจุดนั้น แต่การสถาปนาพื้นที่ปลอดภัย เอาเครื่องกีดขวางต่างๆออก จากทุกบริเวณที่เรามีโอกาสตอนนี้ก็ต้องรีบทำ ก่อนที่คณะมนตรีความมั่นคงจะมีมติอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นการปฏิบัติการในการป้องกันตนเอง ในลักษณะของการสถาปนาพื้นที่ให้ปลอดภัย เพราะชัดเจนแล้วว่าถ้าไม่ทำ ประชาชนคนไทยก็อาจจะสูญเสียอีก ซึ่งนี่ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียใจอย่างยิ่ง และเป็นสิทธิของเรา ที่ต้องทำในช่วงนี้แต่เมื่อในมติออกมาอย่างไร เราก็อาจจะรับฟัง และเดินตามนั้นทั้งที่ดีก็ทรงกลับมาให้อาเซียนช่วยประสานงาน และในที่สุดอาเซียนก็จะส่งให้กับกัมพูชา ไทย ไปเจรจาในระดับทวิภาคี เหมือนครั้งที่แล้วก็จะดีที่สุด
ทั้งนี้หากสงครามขนาดเล็กไม่จบในคณะมนตรีความมั่นคง อาจารย์ปณิธาน บอกว่าในเมื่อมีปฏิบัติการทางทหาร หากมีฝ่ายใดเสียเปรียบมากอย่างชัดเจนแล้ว ส่วนใหญ่ก็จะส่งสัญญาณพร้อมยุติ ในการเผชิญหน้าพักรบชั่วคราว และเข้าสู่การเจรจาซึ่งนั่นก็เป็นหนึ่ง ในแนวทางที่เป็นไปได้แต่ก็ไม่ง่าย เพราะกัมพูชามีประสบการณ์สะสมในการรบ แบบกองโจรขนาดเล็ก และรบแบบเคลื่อนที่ ด้วยหน่วยที่ไม่ต้องอาศัยการสนับสนุนมาก เพราะเขาผ่านประสบการณ์รบกับเวียดนาม กับสหรัฐฯ และกับนานาชาติมาแล้ว รวมทั้งจีนมาแล้ว เพราะฉะนั้นเขาก็มีประสบการณ์ค่อนข้างสูง ในแง่การรบแบบอิสระ แต่กลับกันเขาไม่มีประสบการณ์การรบแบบกองทัพอากาศ และกองทัพเรือ ซึ่งก็เห็นได้ชัดว่าเขาเพลี่ยงพล้ำไปแล้ว เพราะฉะนั้นเขาก็คงต้องตัดสินใจ อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งนั่นก็เป็นแนวทางหนึ่งถ้าเกิดการเพลี่ยงพล้ำของทางฝ่ายกัมพูชามากเกินไป แต่ว่าอดีตผู้นำของกัมพูชาและอดีตผู้นำของไทย และผู้นำปัจจุบันของทั้งสองประเทศก็ต้องส่งสัญญาณให้ชัดว่ าอาจจะถอยกันคนละครึ่งและหันไปเจรจาเปิดช่องทางในการพูดคุยให้มากขึ้น ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศก็ยืนยันว่าช่องทางการพูดคุยยังเปิดอยู่ ถึงแม้ว่าได้ลดระดับลงไป แต่นั่นก็เป็นหนทางในการเข้าไปสู่ตัวเจรจาเร็วขึ้น ซึ่ง 2 ครั้ง ที่เราลดระดับความสัมพันธ์ใช้เวลาหลายเดือน ในช่วงการปะทะกันค่อนข้างเข้มข้น ในอดีตเมื่อปี 2554 แต่ว่าถ้าไม่ตัดความสัมพันธ์เลย การกลับไปฟื้นฟูความสัมพันธ์ก็จะง่าย
ส่วนการถอยคนละครึ่งจะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้หรือไม่ อาจารย์ปณิธาน บอกว่า ต้องดูในฝ่ายของเราและฝ่ายกัมพูชา ว่าจะรับเงื่อนไขต่างๆ ที่จะมีการเสนอกันได้หรือไม่ ซึ่งของเราก็จะต้องดูในเรื่องของความปลอดภัยเป็นหลัก และการปฏิเสธไม่ให้เขาเข้ามาใช้พื้นที่เราในการยึดกระสุนข่ม ในการวางกับระเบิด ในการเข้ามารุกล้ำมีการก่อสร้างมีหมู่บ้านหลายอย่าง หากเราทำได้สำเร็จ ก็น่าจะพร้อมพูดคุยกัน และยังมีเรื่องเสียหายค่าเสียหายต่างๆ ที่เขาจะต้องรับผิดชอบเหมือนกัน ซึ่งก็จะต้องตกลงเจรจากันค่อนข้างยาก แต่ก็สามารถทำได้ควบคู่กัน ต้องดูว่าจุดไหนที่จะสามารถรับข้อตกลงเหล่านี้กันได้ และลดความสูญเสีย ไม่ขยายสงครามขนาดเล็กเป็นสงครามขนาดใหญ่ระดับนานาชาติ เพราะอาจจะทำให้หลายชาติเข้ามายุ่งเกี่ยวโดยตรง
Advertisement