วันที่ 14 ก.ค. นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นในรายละเอียดการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่เห็นว่าควรปรับปรุง โดยพร้อมที่จะพูดและให้ความเห็นหลังจากที่พ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญ และหยิบยกว่าตนเคยเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ รัฐธรรมนูญปี 2550 และรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2558 โดยย้ำว่าควรรู้ว่าจะทำรัฐธรรมนูญหรือปรับปรุงอย่างไรแต่ขอยังไม่พูดตอนนี้
เมื่อถามว่าพรรคประชาชนมีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาและการยื่นถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายนครินทร์ระบุ ก็ดี ก็เป็นเรื่องของสมาชิกรัฐสภาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ มองว่าเป็นเรื่องที่ดีก็ขอให้ทำไป
ส่วนกรณีที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ นายนครินทร์กล่าวว่า ควรจะปรับปรุง แต่อย่างไรต้นพูดไม่ได้ ต้องรอให้พ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญก่อน แต่ควรจะปรับปรุง มหาวิทยาลัยโดยรอให้พ้นจากตำแหน่งแล้วจะพูดอย่างเต็มที่
เมื่อถามว่าการทำงานในสถานการณ์ตอนนี้มีความกดดันหรือไม่ นายนครินทร์ระบุว่าแน่นอน ก่อนจะตอบว่าความจริงตนพ้นวาระแล้ว เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ให้หาคนมาแทนตนด้วย ทั้งนี้ไม่ขอวิจารณ์ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคประชาชนที่กำหนดที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจากการโหวตให้ความเห็นชอบของ 2 สภา คือ สว.- สส. จากเดิมเป็นสว. ให้ความเห็นชอบเพียงอย่างเดียว แต่ให้ความเห็นว่าคุณสมบัติที่มาจะต้องศึกษาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย เพราะว่ารูปแบบขององค์กรศาลรัฐธรรมนูญในโลกนี้มีหลายรูปแบบ โดยอ้างอิงว่าประเทศในโลกนี้มีศาลที่รับคดีรัฐธรรมนูญ 138 ประเทศ
ขณะที่บางประเทศไม่รับวินิจฉัยคดีรัฐธรรมนูญเลย แต่ใน 138 ประเทศก็มีหลายรูปแบบ โดยในจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งเป็นคดีรัฐธรรมนูญที่อยู่ในแผนกหนึ่งของศาลฎีกา เช่นประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย บังกลาเทศ ปากีสถาน ที่ไม่มีศาลรัฐธรรมนูญ มีแต่ศาลฎีกา และคดีรัฐธรรมนูญอยู่ในแผนกหนึ่งของศาลฎีกา ขณะเดียวกันบางประเทศมีศาลรัฐธรรมนูญแยกออกมาเป็นการเฉพาะ ประมาณ 70 ประเทศ และมีการแยกเฉพาะใน 3-4 รูปแบบ ซึ่งเรื่องนี้มีความซับซ้อนอยู่ แต่เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่มีอำนาจหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ที่ควรทำดำเนินการ
Advertisement