ชาวบ้านเอือมระอา เสาไฟโซลาร์เซลล์ งบพันล้าน ของ ศอ.บต. ใช้การไม่ได้แรมปี

16 ก.ย. 64

ชาวบ้านร้องสื่อ เสาไฟโซล่าเซลล์ งบประมาณ 1 พันล้านบาท ของ ศอ.บต. ใช้การไม่ได้มาแรมปี

ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่บริเวณทางเข้าศูนย์วิทยพัฒน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ยะลา หมู่ที่ 4 ถ.ท่าสาป - ลำใหม่ ต.พร่อน อ.เมืองยะลา จ.ยะลา หลังจากชาวบ้านในพื้นดังกล่าวแจ้งไปถึงสื่อมวลชนยะลาว่า เสาไฟฟ้าส่องสว่างแบบโซลาร์เซลล์ ซึ่งมีการติดตั้งอยู่ตามถนนและแยกต่างๆไม่สามารถใช้งานได้ ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นมืดสนิท ไม่ตอบโจทย์กับพี่น้องประชาชน เสียดายงบประมาณมูลค่ากว่า 1 พันล้านบาท

เมื่อย้อนกลับไปก็พบว่าโครงการดังกล่าว เป็นของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้รับงบประมาณอุดหนุนจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 ต่อเนื่องถึงปีงบประมาณ 2559 เท่าที่ทีมล่าความจริงตรวจสอบพบจากเอกสาร มีทั้งสิ้น 6 โครงการด้วยกัน คือ

1. โครงการจัดซื้อพร้อมติดตั้งชุดโคมส่องสว่างถนนแบบโซลาร์เซลล์ในพื้นที่ เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน จำนวน 2,000 ชุด งบประมาณ 126 ล้านบาท
2. โครงการติดตั้งเสาไฟฟ้าพร้อมโคมส่องสว่างโซลาร์เซลล์ในศาสนสถานและสถานที่ฝังศพ เผาศพ จำนวน 3,484 ชุด งบประมาณ 219,492,000 บาท
3. โครงการสนับสนุนการติดตั้งโคมไฟฟ้าส่องสว่างระบบโซลาร์เซลล์ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1,500 ชุด งบประมาณ 94,500,000 บาท
4. โครงการติดตั้งโคมไฟถนนแอลอีดี ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อความมั่นคงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 3,365 ชุด งบประมาณ 212 ล้านบาท
5. โครงการติดตั้งโคมไฟส่องสว่างด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมหลอดประหยัดพลังงานชนิดแอลอีดี เพื่อความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 4,500 ชุด งบประมาณ 270 ล้านบาท
6.โครงการติดตั้งโคมไฟส่องสว่างแบบโซลาร์เซลล์ จำนวน 1,555 ชุด งบประมาณ 89,924,500 บาท

รวมงบประมาณทั้งจัดซื้อและติดตั้งทั้งสิ้น 1,011,916,500 บาท โดยเป็นการติดตั้งโคมไฟฟ้าส่องสว่างด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซลาร์เซลล์ 14,849 ชุด ราคาโดยเฉลี่ยชุดละ 63,000 บาท

โดยมีวัตถุประสงค์ โครงการ เน้นไปที่การสร้างความปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชน โดยติดตั้งโคมไฟส่องสว่างในจุดที่ล่อแหลม สองข้างทางมีแสงสว่างไม่เพียงพอ หากเกิดเหตุรุนแรงขึ้น กล้องวงจรปิดก็ไม่สามารถบันทึกภาพได้ เพราะแสงสว่างน้อย จุดที่ติดตั้งเป็นถนนสายที่มีสถิติเหตุรุนแรง ซึ่งนอกจากจะเพิ่มความปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชนที่สัญจรไปมาแล้ว ยังช่วยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ทั้งการลาดตระเวน และเดินทางไปยังพื้นที่ต่างๆ อีกด้วย

ซึ่งในอดีตพี่น้องประชาชนมีความคาดหวังกับโครงการนี้ เพราะจะช่วยให้จุดเสี่ยง หรือจุดล่อแหลมต่อการก่อเหตุความไม่สงบมีแสงสว่างมากขึ้น แต่ทว่าปัญหาใหญ่ที่พบก็คือ โคมไฟโซลาร์เซลล์ใช้งานได้จริงแต่ไม่นาน จากการลักขโมยอุปกรณ์จากกลุ่มคนร้าย และก็เริ่มเสียไปเรื่อยๆ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ป.ป.ช.ตรวจสอบเสาไฟเทศบาลวิเชียรบุรี ส่องราคา เสา 7 พัน ช้างและโคมไฟ 1 แสน
- โผล่ไม่หยุด ชาวโคราชแฉ เสาไฟโซลาร์เซลล์ สูง 4 เมตร ต้นละครึ่งแสน!
- เสาไฟหงส์ทอง โผล่พรึบ 44 ต้น ตำบลชนแดน เพชรบูรณ์ ตั้งถี่ยิบ

ชาวบ้านเอือมระอา เสาไฟโซลาร์เซลล์ งบพันล้าน ของ ศอ.บต. ใช้การไม่ได้แรมปี

ชาวบ้านเอือมระอา เสาไฟโซลาร์เซลล์ งบพันล้าน ของ ศอ.บต. ใช้การไม่ได้แรมปี

ชาวบ้านเอือมระอา เสาไฟโซลาร์เซลล์ งบพันล้าน ของ ศอ.บต. ใช้การไม่ได้แรมปี

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ