โรงพยาบาลสนาม กรุงเทพฯ ยังมีเตียงว่าง เปิดสายด่วน 1668 สอบถาม

20 เม.ย. 64

กรณี โรงพยาบาลสนาม วานนี้ (19 เม.ย. 64) สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร อัพเดตยอดผู้ป่วยโควิด-19 เข้ารักษาอาการที่โรงพยาบาลสนามของ กทม. จำนวน 8 แห่ง วันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยครองเตียง 717 เตียง เตียงคงเหลือ 933 เตียง เป็นผู้ป่วยมีอาการ 123 ราย

ผู้ช่วย ส.ส.เขตสายไหม แฉ รพ.ไม่รับผู้ป่วยโควิดไปรักษา จากติดเชื้อคนเดียวกลายเป็นลามทั้งบ้าน 

ทั้งนี้ มีผู้ติดเชื้อไม่มีอาการครองเตียง 1,650 เตียง แยกเป็นโรงพยาบาลสนามผู้สูงอายุบางขุนเทียน 1,000 เตียง ครองเตียง 443 เตียง เหลือ 557 เตียง โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ 200 เตียง ครองเตียง 194 เตียง เหลือ 6 เตียง โรงพยาบาลเอราวัณ 1 (ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ บางบอน) 100 เตียง ครองเตียง 80 เตียง เหลือ 20 เตียง และโรงพยาบาลเอราวัณ 2 (บางกอกอารีนา) 350 เตียง ยังไม่มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษา อยู่ระหว่างตรวจสอบประวัติและสอบสวนโรค

ส่วนสถานการณ์ระบาดระลอกใหม่ถึงวันที่ 19 เม.ย. 2564 มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 5,791 ราย โดยอยู่ระหว่างการรักษา 3,072 ราย รักษาหาย 1,506 ราย เสียชีวิต 12 ราย และส่งต่อ 1 ราย ถ้ารวมการระบาดระบอกใหม่ เม.ย. ที่วันนี้ (20 เม.ย. 2564) ที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 350 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมระบาดระลอกใหม่อยู่ที่ 6,141 ราย

อย่างไรก็ตาม นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ให้สัมภาษณ์ว่า รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบให้กรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ประสานความร่วมมือกับกลุ่มสถาบันแพทย์แห่งประเทศไทย (UHOSNET) สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และสมาคมโรงพยาบาลเอกชน จัดศูนย์บริหารจัดการเตียงรองรับผู้ป่วยผู้ติดเชื้อโควิด 19 และเปิดสายด่วน 1668 จำนวน 20 คู่สาย เพิ่มจากสายด่วน 1669 และสายด่วน 1330 โดยระดมบุคลากรการแพทย์จิตอาสาทั่วประเทศมาช่วยรับสาย รอบ 10 วันรวม 2,476 สาย และโทรเยี่ยมติดตาม 2,307 สาย ผู้ติดต่อขอเตียง 1,204 คน รับเข้ารักษาในโรงพยาบาลแล้ว เหลือสีเหลืองประมาณ 50 คน กรมการแพทย์กำลังจะเปิด cohort ward สีเหลืองเป็นการเฉพาะประมาณ 100 เตียง

สำหรับการรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 เข้ารับการรักษา จะมีการคัดกรองและแบ่งผู้ติดเชื้อออกเป็น 3 ระดับ คือ สีเขียว ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย อายุไม่มาก ไม่มีโรคร่วม จะส่งดูแลในรพ.สนาม หรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Hospitel) ตรวจติดตามอาการทุกวัน ส่วนสีเหลือง คือผู้ป่วยที่มีอาการปานกลาง และสีแดงคือผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง จะรับไว้รักษาในโรงพยาบาลทั้งหมด โดยศูนย์ส่งต่อ รพ.ราชวิถีจะส่งผู้ป่วยไปยัง รพ.สังกัดกรุงเทพมหานคร กรมการแพทย์ โรงเรียนแพทย์ และรพ.เอกชน ที่ผ่านมาเตียงที่เพิ่มได้จำนวนมากและเร็ว คือ Hospitel และรพ.สนาม รับเคสสีเขียวได้อย่างปลอดภัย และรับเคสสีแดงทั้งหมดเข้าโรงพยาบาลก่อน ทำให้เคสสีเหลืองเข้าโรงพยาบาลได้ช้า และไม่สามารถไปเข้า Hospitel หรือโรงพยาบาลสนามได้ ขณะนี้ได้เร่งจัดการนำผู้ป่วยที่มีอาการดีขึ้นไป Hospitel และรพ.สนาม รวมทั้งขยายเตียงในโรงพยาบาลเพิ่ม ช่วยกันทุกสังกัด จะช่วยให้ผู้ป่วยสีเหลืองเข้าโรงพยาบาลได้เร็วขึ้น

อนึ่ง กรณีที่โทร 1668 แล้วไม่มีผู้รับสายนั้น เกิดจากแต่ละวันมีผู้โทรเข้า 1668 จำนวนมากกว่า 200 สาย จนคู่สายล้น ระบบจะส่งต่อวนไปผู้ปฏิบัติงานแต่ละคน สายไหนว่างจึงมีคนรับ และใช้เทคนิค convert สายเข้าโทรศัพท์มือถือส่วนตัวของจิตอาสาจากทั่วประเทศ ทำให้แต่ละเวรมีคนช่วยรับสายเพิ่มอีกกว่า 10 คู่สายทุกคนทำงานกันอย่างเต็มที่ หรือติดต่อทางแอปพลิเคชันไลน์ โดยการเพิ่มเพื่อน @Sabaideebot กรอกข้อมูลชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรติดต่อ เพื่อความสะดวกในการประสานส่งต่อให้ผู้ติดเชื้อได้เข้ารับการดูแลรักษาโดยเร็วที่สุด

เชียงใหม่พบผู้ป่วยโควิดเพิ่มอีก 134 ราย ผู้ว่าฯ วอนงดเดินทางข้ามพื้นที่ โดยเฉพาะ 7 อำเภอสีแดง 

แพทย์เผยโควิดระลอกใหม่ พบวัยรุ่นปอดอักเสบมากกว่าเดิม เชื้ออยู่ในร่างกายได้นานขึ้น 

 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ