ญาติยืมเงิน ทวงแบบไหนดี ? พร้อมวิธีให้ยืมเงินแบบไม่ลำบากใจตอนทวง

25 ธ.ค. 66

ญาติผู้ใหญ่ คนสนิทยืมเงินแล้วไม่ยอมคืนทวงยังไงดี ? พร้อมเผย 7 วิธีปฎิเสธและให้ยืมเงิน หรือช่วยเหลือแบบไม่ต้องลำบากใจตอนทวง

เมื่อมีคนสนิทเข้ามาขอหยิบยืมเงินด้วยความเดือดร้อน หากเราพร้อมแน่นอนว่าต้องช่วยเหลืออยู่แล้ว แต่กลับกัน บางครั้เมื่อถึงวันที่ต้องคืนเงินกลับกลายเป็นว่าตัวเราที่ให้ยืมดันลำบากเอง ไหนจะทำเป็นต้องใช้เงินที่ถูกยืมไป ไหนจะความหนักใจที่ต้องทวงเงินจากคนสนิท หรือญาติที่เป็นคนในครอบครัว กลัวจะเสียความสัมพันธ์ 

ญาติผู้ใหญ่ยืมเงินทวงยาก

เรื่องนี้มีสมาชิกเว็บไซต์ pantip ได้เข้าไปตั้งกระทขอคำปรึกษา โดย ญาติของเธอได้ยืมเงินในช่วงต้นปี ด้วยเหตุผลคือเดือดร้อนเรื่องเงิน เจ้าตัวสงสารและเห็นว่าเป็นญาติ จึงได้ให้หยิบยืมไปและทางญาติเองก็รับประกันเอาไว้ว่าคืนอย่างแน่นอนแต่หลังจากนั้นเขาก็หายไปเลย มีหลักฐานการยืมเงินแค่สลิปโอนเงิน กับแชทที่เป็นการพูดคุยกันถึงการยืมเงินที่บอกว่าจะคืน พร้อมกับระบุว่า รบกวนผู้ที่มีความรู้เข้ามาตอบกันหน่อยนะค่ะ หมดหนทางที่จะทวงแล้วจริงๆ

ซึ่งความเห็นจากสมาชิกขิงเว็บระบุว่า ส่งหนังสือทวงถาม (โนติส) ไปก่อนครับ ถ้าไม่ได้ยังไงก็ค่อยเดินเรื่องฟ้องร้องกันไป อาจได้ไกล่เกลี่ยแล้วทำสัญญากัน แต่จะบังคับหนี้ได้แค่ไหนก็ต้องพิจารณาหลาย ๆ อย่างก่อนครับ

นอกจากนี้ยังมีอีกกระทู่หนึ่ง ตั้งคำถามเอาไว้ว่า ขอHow to ทวงเงินญาติผู้ใหญ่แบบไม่น่าเกลียดหน่อยค่ะ ตามหัวกระทู้เลยค่ะ คือเค้ามายืมเงินครอบครัวเราไปตั้งแต่เราเด็กๆแล้ว แล้วเค้าไม่ยอมคืน เราจะทวงยังไงดีคะ คือเราก็ยังไม่ได้โตมากถ้าไปทวงมันจะน่าเกลียดไหม ปล.1 ใครมีคาถาทวงเงินก็มาแชร์กันนะคะ ปล.2 ถ้าแท็กผิดห้องต้องขออภัยด้วยนะคะ

ซึ่งกระทู้นี้ก็มีสมาชิกเข้ามาแสดงความคิดเห็นในทำนองเดียวกันว่าให้ทนายเป็ฯคนทวงให้ หรือไม่ก็ลองให้พ่อ หรือแม่เป็นคนทวงให้แทน แต่ถ้าหากทวงไม่ได้ก็คงจำเป็นต้องให้ทนายช่วยทวงแทน แต่ก็ต้องยอมรับเรื่องของเงินที่จะต้องจ่ายด้วยว่าคุ้มค่าหรือไม่ 

How to ให้ยืมเงินแบบไม่ลำบากใจตอนทวง

1.ให้ไปเลยแต่พอสมเหตุสมผล

เพราะเชื่อว่าคนย่อมเดือดร้อนจริงยิ่งในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองเช่นนี้ แต่หากจะให้ยืม ควรเป็นจำนวนที่พอเหมาะพอดีในแบบที่ตัวเราไม่เดือดร้อน อาจไม่ได้ตอบสนองเงินทั้งหมดที่เขาต้องการ และให้คิดว่าเป็นการให้ครั้งเดียวเท่านั้น อย่างน้อยก็เป็นเกราะป้องกันการยืมครั้งต่อๆ มา หรือถ้ามายืมอีกก็ต้องใจแข็ง อย่าให้เป็นความเมตตาสร้างข้อผิดพลาดเรื้อรังดีกว่า

2.ให้ยืมแบบมีข้อแลกเปลี่ยนชัดเจน

ให้ยืมหรือช่วยเหลือใช้หนี้บนข้อแลกเปลี่ยนที่มีการทำสัญญาอย่างจริงจัง เช่น สัญญาต่างตอบแทน โดยอาจใช้วิธีการแลกว่าสามารถทำงานอะไรเพื่อแลกกับเงินก้อนนี้ หรือดูว่าผู้ที่ต้องการใช้เงินมีทรัพย์สินอะไรมาขายเพื่อแลกเป็นเงินก้อน หรือทำเป็นสัญญาเงินกู้ที่นำทรัพย์สินมาจำนำ จดจำนอง หรือเอามาค้ำประกันหนี้ โดยในสัญญาต้องระบุดอกเบี้ย และเบี้ยปรับด้วย เพราะถ้ามีการผิดเงื่อนไขพร้อมยึดทรัพย์สินทันที

3.ช่วยเหลือแบบอื่น หรือหาต้นเหตุของหนี้

การให้ยืมเงินเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ หากอยากช่วยเขาแบบที่เราก็รอดด้วย ลองมานั่งหาสาเหตุก่อหนี้ ตรวจสอบว่าต้นตอปัญหาอยู่ที่ไหน เพราะคนนอกที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง มักมองเห็นหรือสะท้อนมุมมองที่ชัดเจนกว่าคนที่ตกอยู่ในวงล้อมปัญหา หรืออาจเสนอการช่วยแบบที่เราไม่เสียเงิน เช่น หาช่องทางการสร้างรายได้ใหม่ๆ เพื่อไม่ให้เงินทองขาดมือ

4.ขอเวลาคิดระยะยาว (มาก)

เพราะการมาขอยืมเงิน บ่งบอกว่าเขาย่อมต้องรวบรวมความกล้ามาก่อน ถ้าช่วยไม่ไหว แต่ก็ไม่อยากเสียความสัมพันธ์ ลองใช้วิธีผัดผ่อน ไม่ตกปากรับคำชัดเจนว่าจะให้ยืมหรือไม่ แต่ขอเวลากลับไปคิดทบทวน หรือวางเงื่อนไขให้เขาเห็นว่า เรายังมีภาระค่าใช้จ่ายอนาคตรออยู่ในช่วงนี้ช่วงนั้น และยังเป็นกำหนดที่ไม่แน่นอนเสียด้วย จะรอได้หรือไม่ หากคนรอไม่ไหวอาจต้องถอยทัพไปหาแหล่งให้ยืมใหม่เอง

5.บอกให้ชัดว่าไม่ให้ เพราะเคยมีประสบการณ์น่าผิดหวัง

บอกเหตุผลไปเลยว่าเหตุผลที่ไม่ให้ เพราะคนในครอบครัวเคยมีปัญหาการให้ยืมจนผิดใจกับเพื่อนสนิท บทเวลายืมนั้นอาจจะขอกันง่าย แต่เวลาจะใช้คืน แทบจะวิงวอนเหมือนคนติดหนี้แทนว่าช่วยคืนหนี้หน่อยเถิดนะ สุดท้ายเงินต้นก็เสียไป แถมยังมองหน้ากันไม่ติด โดยอ้างประสบการณ์ที่เราเจอเอง หรืออ้างคนในครอบครัวที่แชร์กระเป๋าเงินร่วมกันเลยว่า สั่งห้ามเป็นกฎเหล็กของบ้านเลยว่า ไม่ให้คนนอกยืมเงินเด็ดขาด

6.พูดตรงๆ เลยว่าไม่ให้เพราะอะไร

การพูดตรงๆ ว่าไม่ให้ยืม เป็นวิธีที่จริงใจ เจ็บแต่จบ ไม่ยืดเยื้อ เพราะคนที่ถูกยืมใช่ว่าจะเป็นฝ่ายมีเงินก้อนโตเสมอไป การบอกเหตุผลประกอบ น่าจะเป็นการดีที่ทำให้ผู้ยืมเข้าใจ เช่น ตอนนี้การเงินก็ตึงๆ เช่นกัน หรือไม่เคยให้คนสนิทยืมเงินเลย เพราะกลัวเป็นต้นเหตุความสัมพันธ์บาดหมาง เลยตั้งปณิธานไว้ว่าจะไม่ให้คนสนิทยืมเงินเด็ดขาด

7.อย่าเปิดตัวเลขทางการเงินให้คนอื่นรู้

จำไว้เลยว่า ถ้าเปิดเผยรายได้หรือทรัพย์สินมากเท่าไร ก็จะกลายเป็นภัยมาถึงตัวมากเท่านั้น เพราะถ้ามีคนเดือดร้อนตั้งใจจะหาแหล่งยืมเงินอยู่แล้ว เขาจะมองหาคนที่มีศักยภาพในการให้ยืม เล็งเป็นเป้าหมายอันดับต้นๆ และถ้าเขามีเจตนาไม่บริสุทธิ์ คงคิดมาเป็นอย่างดีว่า ถ้าเกิดเบี้ยวนี้ขึ้นมา เจ้าหนี้รายนี้คงไม่เดือดร้อน เพราะมีฐานะการเงินแข็งแรงอยู่แล้ว

ข้อมูลจาก : ธนาคารไทยพาณิชย์

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส