วันออกพรรษา ประวัติ ความสำคัญ และกิจกรรมที่ชาวพุทธนิยมปฏิบัติ

27 ต.ค. 66

วันออกพรรษา ประวัติ ความสำคัญ และกิจกรรมที่ชาวพุทธนิยมปฏิบัติ

วันออกพรรษา เป็นวันที่พุทธบริษัททั้งชาววัดและชาวบ้าน ได้พร้อมใจกันกระทำบุญกุศลต่างๆ ตามคติประเพณีที่เคยประพฤติปฏิบัติสืบๆ กันมาแต่โบราณกาล เช่น มีการตักบาตรเทโว หรือเรียกตักบาตรดาวดึงส์ เป็นต้น

สำหรับปีนี้ วันออกพรรษา ตรงกับวันที่ 29 ตุลาคม 2566

ความสำคัญของวันออกพรรษา

"วันออกพรรษา" ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี วันออกพรรษา เป็นวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ หมายถึงพระภิกษุสงฆ์ได้จำพรรษาครบกำหนดไตรมาส ตามพระพุทธบัญญัติแล้ว ท่านมีสิทธิ์ที่จะจาริกไปพักค้างคืนที่อื่นได้ ไม่ผิดพระพุทธบัญญัติและยังได้รับอานิสงส์ (ผลดี) คือ

1.ไปไหนไม่ต้องบอกลา
2.ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด
3.ลาภที่เกิดขึ้นแก่ท่านมีสิทธิ์รับได้
4.มีโอกาสได้อนุโมทนากฐินและได้รับอานิสงส์คือได้รับการขยายเวลาของอานิสงส์นั้นออกไปอีก 4 เดือน

อนึ่ง มีชื่อเรียกวันออกพรรษาอีกอย่างหนึ่งว่า "วันปวารณา" หรือ "วันมหาปวารณา" มีความหมายว่าพระภิกษุทั้งหลายทั้งพระผู้ใหญ่และพระผู้น้อยต่างเปิดโอกาสอนุญาตแก่กันและกัน ให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้มีคำกล่าวปวารณาเป็นภาษาลี ว่า "สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฏิกะริสสามิ"

แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี

000_32a68qk

การที่พระท่านกล่าวปวารณา (ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน) กันไว้ ในเมื่อต่างองค์ต่างต้องจากกันไปองค์ละทิศละทางท่านเกรงว่าอาจมีข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีไม่งามเกิดขึ้น โดยตัวท่านเองรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือมองไม่เห็นเหมือนผงเข้าตาตัวเอง แม้ผลจะอยู่ชิดติดกับลูกนัยน์ตา เราก็ไม่สามารถมองเห็นผลนั้นได้ จำเป็นต้องไหว้วานขอร้องผู้อื่นให้มาช่วยดูหรือต้องใช้กระจกส่องดู เพราะฉะนั้น พระท่านจึงใช้วิธีการกล่าวปวารณาตัดไว้เพื่อท่านรูปอื่นได้เห็นหรือแม้แต่ได้ยินได้ฟัง เรื่องดีไม่ดีไม่งามอะไรก็ตามให้กล่าวแนะนำตักเตือนได้โดยไม่ต้องเกรงใจกันทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยด้วยเจตนาดีต่อกัน คือ พระผู้ใหญ่ก็กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้และพระผู้มีอาวุโสน้อยก็สามารถกล่าวชี้แนะถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน โดยที่พระผู้ใหญ่คือผู้มีอาวุโสท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมดทุกอย่าง

การกล่าวปวารณา เท่ากับเป็นการช่วยระมัดระวังข้อประพฤติปฏิบัติที่ไม่ดีของพระรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดน้อยๆ นี้ที่จะลุกลามก่อความเสื่อมเสียไปถึงพระหมู่มาก และลุกลามไปถึงพระพุทธศาสนาอันเป็นจุดศูนย์ที่ใหญ่ได้ ท่านจึงใช้วิธีป้องกันไว้ก่อน ดีกว่าการแก้ไขในภายหลัง

ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา ที่ชาวพุทธนิยมปฏิบัติ

การตักบาตรเทโว

การทำบุญอันเป็นประเพณีที่นิยมกระทำกันมานานแล้วในวันออกพรรษา ซึ่งเรียกว่า "ตักบาตรเทโว" หรือเรียกชื่อเต็มตามคำพระว่า "เทโวโรหนะ" แปลว่าการหยั่งลงจากเทวโลก หรือการตักบาตรนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตักบาตรดาวดึงส์" และการตักบาตรเทโวนี้ จะกระทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ก็ได้สุดแท้แต่จะเห็นพร้อมกัน

การทำบุญตักบาตรเทโวนี้ ท่านจัดเป็นกาลนาน คือ หนึ่งปีมีหนึ่งครั้ง และการกระบุญเช่นนี้ โดยยึดถือว่าเป็นวันคล้ายกับวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก

72311040_10159052737843916_26

สถานที่ยอดนิยม คือ ประเพณีตักบาตรเทโว จังหวัดอุทัยธานี ณ วัดสังกัสรัตนคีรี อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี, นมัสการองค์พระใหญ่ ไหว้รอยพระพุทธบาท จังหวัดขอนแก่น ณ บริเวณวัดพระบาทภูพานคำ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น, ประเพณีเขาพระงามเทโวโรหณะ นมัสการหลวงพ่อพระงาม ตักบาตรข้าวต้มลูกโยน จังหวัดลพบุรี

ประเพณีชักพระ

ประเพณีชักพระ (พระพุทธรูป) ทางภาคใต้เรียกว่า พิธีลากพระมีสองกรณี คือ ชักพระทางบก และชักพระทางน้ำ บางท้องที่จะมีประเพณีโยนดอกบัวถวายเป็นพุทธบูชาด้วย ซึ่งปกติจัดในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11

71917410_10159052738153916_52

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม