เครื่องสักการะ เสด็จพ่อ ร.5 "วันปิยมหาราช" คาถาบูชา วิธีไหว้ขอพร เตือน "สิ่งห้ามทำ"

23 ต.ค. 66

วิธีไหว้ เสด็จพ่อ ร.5 วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม 2566 เครื่องสักการะมีอะไรบ้าง บทคาถาบูชา ใช้ธูปกี่ดอก ไหว้ขอพร การงาน ค้าขายคล่อง ปลดหนี้

"วันปิยมหาราช" ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงเป็นที่รักยิ่งของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน" ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น "วันปิยมหาราช"

พระคาถาบูชาเสด็จพ่อ ร.5

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)
พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (กล่าว 3 ครั้ง)

พระคาถาบูชาพระพุทธเจ้าหลวง (แบบเต็ม)

(ตั้งนะโม 3 จบ) อิติปิ โส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา
พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ พระสยามมินโท วะโรอิติ
พุทธะสังมิ อิติอะระหัง สะหัสสะกายัง วะรังพุทโธ นะโม พุทธายะ มาสีสะมานัง

เครื่องสักการะ เสด็จพ่อ ร.5

สิ่งที่พระองค์โปรด คือ น้ำมะพร้าวอ่อน, กล้วยน้ำว้า, ทองหยิบ, ทองหยอด, บรั่นดี, ซิการ์, ข้าวคลุกกะปิ และดอกกุหลาบ หรือดอกไม้สีชมพู เพราะถือว่าเป็นสีที่ตรงกับวันพระราชสมภพ นอกเหนือจากสิ่งของที่นำมาสักการะแล้ว ของที่นิยมอีกอย่าง ก็คือ หญ้าสดใหม่ เพื่อนำมาถวายแก่ม้าพระที่นั่ง

สิ่งที่ต้องรู้ ไหว้เสด็จพ่อ ร.5

•  ผู้บูชาครั้งแรกให้จุดธูป 16 ดอก ส่วนครั้งต่อไปจุด 9 ดอก
•  ให้ขอพร ห้ามบนเด็ดขาด ส่วนใหญ่นิยมขอพรเรื่อง ทำมาค้าคล่อง การงานเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า โชคลาภในการประกอบอาชีพ ปลดหนี้
•  สถานที่ยอดนิยม เดินทางไปไหว้สักการะขอพร คือ พระบรมราชานุสาวรีย์ ลานพระบรมรูปทรงม้า หรือที่ ป้อมพระจุลจอมเกล้า, พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 วัดราชบพิธฯ ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส