ประวัติ พระเจ้าเสือ กษัตริย์ที่เด็ดขาด ดุดัน แห่งกรุงศรีอยุธยา ต้นตำรับแม่ไม้มวยไทย

19 ต.ค. 66

ประวัติ พระเจ้าเสือ ที่พงศาวดารระบุว่าเป็นพระราชโอรสลับในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กษัตริย์ที่ประชาชนยำเกรงว่ามีนิสัยดุร้ายดั่งเสือ ต้นตำรับแม่ไม้มวยไทย

สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี (หลวงสรศักดิ์) มีพระนามเดิมว่า มะเดื่อ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระบรมราชวินิจฉัยพระนามว่าเป็นสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 29 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่สองแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ พ.ศ. 2246-2251

พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่าพระเจ้าเสือเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอในสมเด็จพระเพทราชา ส่วนพระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน ระบุว่าเป็นพระราชโอรสลับในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกับพระสนมซึ่งเป็นพระราชธิดาในพญาแสนหลวง เจ้าเมืองเชียงใหม่

29093854_823428057827713_5505

ประชาชนมักเรียกขานพระองค์ว่า พระเจ้าเสือ เพื่อเปรียบว่าพระองค์มีพระอุปนิสัยโหดร้ายดังเสือ พระองค์ทรงมีพระปรีชาด้านมวยไทย โดยทรงเป็นผู้คิดท่าแม่ไม้มวยไทย ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏชัดเจน และได้มีการถ่ายทอดเป็นตำราให้ชาวไทยรุ่นหลังได้เรียนรู้ฝึกฝนจนถึงปัจจุบัน

พระเจ้าเสือ เป็นพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว ที่เสด็จออกไปชกมวยกับสามัญชน ทรงแต่งกายเป็นชาวบ้าน ให้ทุกคนเข้าใจว่า เป็นนักมวยจากเมืองกรุง ทรงชกชนะนักมวยฝีมือดีจากเมืองวิเศษไชยชาญ ถึง 3 คน ได้แก่ นายกลาง หมัดตาย นายใหญ่ หมัดเหล็ก และนายเล็ก หมัดหนัก เหตุการณ์นี้จึงเป็นตำนานบทหนึ่งที่ทรงแสดงพระปรีชาสามารถการต่อสู้ด้วยมวยไทย ปัจจุบัน กระทรวงวัฒนธรรม ได้กำหนดให้วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันที่พระองค์ได้ขึ้นครองราชย์ตามหลักฐานในประวัติศาสตร์เป็น วันมวยไทย

f8utirwaaaacap1

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าเสือได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาพระเจ้าเสือ ทรงมีส่วนสำคัญผลักดันให้พระเพทราชายึดอำนาจตั้งตนเป็นกษัตริย์ และสถาปนาราชวงศ์ใหม่คือราชวงศ์บ้านพลูหลวงในการปฏิวัติ พ.ศ. 2231

เมื่อพระเพทราชาได้ราชสมบัติ พระเจ้าเสือก็ได้รับการสถาปนาเป็นอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) แต่เมื่อพระเพทราชาประชวรจะสวรรคตในปี พ.ศ. 2246 พระเจ้าเสือได้ทำการประหารเจ้าพระขวัญซึ่งเป็นอนุชาต่างมารดาของพระองค์ ที่พระเพทราชาโปรดจะให้สืบราชสมบัติแทน พระเพทราชาทรงไม่พอพระทัยจึงยกราชสมบัติให้พระราชนัดดาอีกคนคือ เจ้าพระพิไชยสุรินทร์

img_8497_1521722825

แต่ว่าเมื่อพระเพทราชาสวรรคต เจ้าพระพิไชยสุรินทร์เกิดความเกรงกลัวไม่กล้ารับราชสมบัติ จึงน้อมถวายราชสมบัติแด่พระเจ้าเสือให้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แทน ในปี พ.ศ. 2246 ทรงมีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ เจ้าฟ้าเพชร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) และเจ้าฟ้าพร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)

พระเจ้าเสืออยู่ในราชสมบัติในระยะเวลาค่อนข้างสั้นคือ 6 ปี เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2252 เมื่อพระชนมายุได้ 45 พรรษา

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม