เดินหน้าแจกเงิน 1 หมื่น ยันไม่ได้เสกเงินมาใหม่ ยินดีฟังทุกความเห็น

9 ต.ค. 66

กระทรวงการคลังแถลงเดินหน้าโครงการแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ยัน ไม่ได้เสกเงินขึ้นมาใหม่ พร้อมยินดีรับฟังทั้งความเห็นต่างและเห็นด้วย เพื่อนำมาปรับใช้ให้ดีที่สุด

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง แถลงหลังมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์โครงการแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ที่หลายฝ่ายออกมาท้วงติงว่า เป็นเรื่องดีที่หลายฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์ หลังจากไม่ได้เห็นหลายภาคส่วนออกมาวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาลมาเป็นเวลานานหลายปี โดยที่ผ่านมาเศรษฐกิจของประเทศไทยยังเติบโตช้า คุณภาพชีวิตของประชาชนยังอยู่ในภาวะเปราะบาง นโยบายแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนของเงินไปสู่ฐานราก ก่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย นำไปสู่การจ้างงาน จ้างอาชีพ โดยรัฐจะได้เงินคืนมาในแบบของภาษี และจะเป็นการวางรากฐานระบบดิจิทัล

ทั้งนี้ นโยบายนี้ไม่ได้ยืนอยู่ได้ด้วยนโยบายเดียว รัฐบาลเดินหน้าตามที่ให้คำมั่นกับรัฐสภาไว้ ทั้งเรื่องฟรีวีซ่า เรื่องลดค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันดีเซล การดึงดูดเม็ดเงินจากนานาประเทศที่นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปพบปะกับผู้นำในหลายประเทศ การเตรียมความพร้อมเรื่องภัยพิบัติ เดินหน้าเรื่องประชามติ ทั้งหมดเป็นการขับเคลื่อนโดยรวม เพื่อสร้างความมั่นคง สร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

ส่วนทำไมต้องมีโครงการดิจิทัลวอลเล็ต นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีปัญหาสะสม ประชาชนส่วนใหญ่ยากลำบาก คนต่างจังหวัดร้อยทั้งร้อยรอนโยบายนี้ด้วยความหวัง รัฐบาลไม่ได้ละเลยเสียงสะท้อน เรารับฟัง แต่ด้วยความหวังของพี่น้องประชาชน สะท้อนผ่านการเลือกตั้ง และรัฐบาลได้นำเสนอต่อรัฐสภา ก็ต้องเดินหน้าโครงการนี้ให้สำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ให้ได้

สถานการณ์ที่ประเทศไทยเจอเป็นสถานการณ์ที่เปราะบาง โครงการนี้จะกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ จะรีสตาร์ทชีวิตของคนในประเทศ

ส่วนที่มีข้อสงสัยว่าเงินดิจิทัลคืออะไร นายจุลพันธ์ ชี้แจงว่า เงินดิจิทัล ไม่ใช่การเสกเงินขึ้นมาใหม่ เงินทุกบาททุกสตางค์เป็นเงินในกฎหมาย ไม่มีการพิมพ์เงินขึ้นมาใหม่ ไม่ใช่เขียนโปรแกรมสร้างคริปโตขึ้นมาให้ประชาชนใช้ เงินจะถูกเทียบบาทต่อบาท ตามเงินบาทไทย แต่เป็นเพียงแค่เงินที่จะใช้ผ่านทางระบบดิจิทัล ที่จะถูกกำหนดเงื่อนไขในการใช้เพื่อให้เกิดการหมุ่นเวียนในเศรษฐกิจได้มากที่สุด เช่น กำหนดให้ใช้ใน 6 เดือน ใช้ตามกรอบระยะทาง และมีกรอบสินค้าที่ห้ามใช้ ทั้งหมด นำไปสู่คำตอบที่ว่าทำไมนโยบายนี้จะกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่านโยบายอื่น ๆ เพราะเงื่อนไขที่เราบังคับให้เงินเหล่านี้นำไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากกว่า เงินนี้ไม่สามารถนำไปสู่การออม การลดหนี้สิน หรือการซื้อขายอบายมุขได้ แต่จะนำไปสู่การจ้างงาน การกระตุ้นเศรษฐกิจ

ขณะที่เรื่องของระยะทางในการใช้เงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท นั้น เป็นหน้าที่ของอนุกรรมการในการศึกษา โดยนาจุลพันธ์ เปิดเผยว่า มีความโน้มเอียงที่จะขยายกรอบในการใช้ เพื่อให้เกิดการคล่องตัวในการใช้ของพี่น้องประชาชนได้มากขึ้น และจะมีความชัดเจนในสิ้นเดือนตุลาคมนี้

ส่วนที่ที่หลายคนสงสัยเรื่องที่มาของเม็ดเงิน ต้องพิจารณาก่อน แต่ขอยืนยันว่ารัฐบาลยึดมั่นจากหลักวินัยการเงินการคลังเป็นหลัก ขอให้ดูผลงานของพรรคเพื่อไทย ที่เคยจ่ายหนี้ไอเอ็มเอฟก่อนเวลา ทำให้เห็นได้ว่าเรามีความเข้าใจเรื่องของวินัยการเงินการคลังเป็นอย่างดี แหล่งที่มานั้นจะใช้แหล่งของงบประมานเป็นหลักใหญ่ ส่วนรายละเอียดขอรอในสิ้นเดือนนี้ จะมีตัวเลขที่ชัดเจนให้กับทุกคน ขอให้มั่นใจเพราะจะใช้ประสบการณ์ที่มี ใช้งบให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

ทั้งนี้ นายจุลพันธ์ขอยืนยันว่า รับฟังเสียงทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการที่สนับสนุน และคัดค้าน หรือไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชนที่รอการกระตุ้น หรือภาคประชาชนที่รอคอยด้วยความหวัง ความเห็นทั้งหมดจะถูกแลกเปลี่ยน ถกกันในชั้นของอนุกรรมการ รัฐบาลจะประชาสัมพันธ์รายละเอียดทุกอย่างภายในสิ้นเดือนตุลาคม นี้ อย่างแน่นอน โดยในวัน พฤหัสบดี ที่ 12 ต.ค. นี้ จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเป็นครั้งแรก เพื่อถกกันในเรื่องต่าง ๆ และจะได้มอบหมายให้ทุกฝ่ายไปหาคำตอบ จากนั้นในวัน พฤหัสบดีที่ 19 ต.ค. นี้ จะประชุมคณุอนุกรรมการครั้งที่ 2 เพื่อหาข้อสรุปและแนวทางมาเสนอต่อคณะกรรมการชุดใหญ่ และในวันอังคารที่ 24 นี้ คาดว่าจะนำเข้าเสนอต่อคณะกรรมการชุดใหญ่ต่อไป

ด้านนายเผ่าภูมิ โรจนสกุล เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การจ่ายเงินในลักษณะนี้แตกต่างจากในอดีตเพราะมีเงื่อนไขและจ่ายเงินแบบดิจิทอลได้กว่าปลอดภัยกว่าและรวดเร็วกว่า ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้ตัวเลขหรือบทวิจัยในอดีตมาเปรียบ และการที่จ่าย 10,000 บาท มากกว่าการกระตุ้นการบริโภคอาจเป็นการกระตุ้นการลงทุนโดยเฉพาะการลงทุนขนาดเล็ก และผลประโยชน์ของการสร้างอาชีพและการลงทุน ทำให้ประชาชนลืมตาอ้าปากได้

ด้านจะป้องกันการโกงได้อย่างไร ได้มีการตั้งคณะกรรมการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดูในเรื่องนี้

ส่วนจะมีการพิจารณาเรื่องของการทยอยจ่ายหรือไม่ หรือแบ่งกลุ่มจ่ายรับฟังแต่ยังไม่ได้ข้อสรุปขอให้รอ ดูว่าสามารถปรับอย่างไร และที่ทำคัญเพื่อไม่กระทบกับวัตถุประสงค์ขององค์การในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เชื่อว่าคนที่รวยที่สุดคงไม่รับ คงไม่เข้าสู่โครงการ

จึงยืนยันว่าจะเดินหน้าทำนโยบายนี้ต่อ ส่วน ข้อเสนอแนะต่างๆจะนำเข้าสู่ที่ประชุมเพื่อพิจารณาและจะมีการแถลงความชัดเจนอีกครั้ง

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม