ที่เดียวในโลกตักบาตรขนมครก ประเพณีเก่าแก่เกือบร้อยปี

22 ก.ย. 66

แห่งเดียวของไทย ตักบาตรขนมครก ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 10 สืบสานประเพณีเก่าแก่ เพื่อสืบสานประเพณีเก่าแก่เกือบร้อยปี ที่วัดแก่นจันทร์ จ.สมุทรสงคราม

ประเพณีตักบาตรขนมครก เป็นประเพณีที่เก่าแก่ของ จ.สมุทรสงคราม ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ปี 2473 ปัจจุบันมีเพียงแห่งเดียวที่วัดแก่นจันทร์เจริญ ต.บางพรม อ.บางคนที โดยจัดกันในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี โดยเลียนแบบการจัดงานมาจากขนมเบื้องของพระราชพิธีในวัง ที่สืบทอดกันมาจนถึงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี โดยญาติโยมที่มาร่วมทำบุญ จะซื้อขนมครก และน้ำตาลทราย จากพ่อค้าแม่ค้า ที่พายเรือมาขายหน้าวัดแก่นจันทร์เจริญ ถวายพระสงฆ์ แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ชาวบ้านจึงเกรงว่าประเพณีตักบาตรขนม จึงได้ช่วยกันลงแรงและร่วมกันบริจาคเงินซื้อข้าวสารมาหมักค้างคืนไว้ พอเช้าตรู่ของวันใหม่ก็ไปรวมตัวกันที่วัดแก่นจันทร์เจริญ ช่วยกันโม่แป้ง คั้นกะทิ ทำขนมครก เพื่อนำไปตักบาตรถวายพระสงฆ์พร้อมกับน้ำตาลทรายถวายคู่กันเนื่องจากพระบางรูปชอบหวานจึงมีน้ำตาลทรายให้มาด้วย ประเพณีตักบาตรขนมครกนั้น เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีชายหญิงคู่หนึ่งชอบพอกัน ฝ่ายชายชื่อ “กะทิ” ส่วนฝ่ายหญิงชื่อ “แป้ง” แต่พ่อของแป้ง ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านไม่ชอบกะทิ จึงหาทางขัดขวางไม่ให้มายุ่งเกี่ยวกับลูกสาว และยังยกลูกสาวให้แต่งงานกับปลัดอำเภอหนุ่มจากกรุงเทพฯ จึงนำขนมที่ทำจากกะทิและแป้งและเรียกว่า “ขนมคู่รักกัน” มาเซ่นไหว้ ต่อมาได้มีผู้เห็นว่า ชื่อเรียกยาก จึงตัดเอาตัวอักษรแต่ละคำคือเอาตัว ค ควาย ร เรือ และ ก ไก่ มารวมกันจึงอ่านว่า “ครก” หรือขนมครกนั่นเองและเพื่ออนุรักษ์ประเพณีตักบาตรขนมครก ที่สืบทอดกันมานานเกือบ 100 ปี  และชาวตำบลบางพรม จัดงานตักบาตรขนมครกขึ้นที่วัดแก่นจันทร์เจริญ ในวันขึ้น 8 ค่ำเดือน 10 ซึ่งปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2566 ของทุก ๆ ปี

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส