สมัชชาสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2566 มุ่งแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชนอย่างยั่งยืน

24 ส.ค. 66

สมัชชาสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2566 เหล่าภาคีจับมือแน่น 75 ปี ขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนขจัดการเลือกปฏิบัติ และผดุงความยุติธรรม

จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 แล้ว สำหรับ งาน “สมัชชาสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2566” โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดภายใต้แนวคิด “75 ปี ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรี เสรีภาพ ความเสมอภาค และความยุติธรรมสำหรับทุกคน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากองค์กรภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนต่อสถานการณ์สิทธิมนุษยชนและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างยั่งยืน รวมถึงเพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการขับเคลื่อนงานสิทธิมนุษยชนของประเทศ ระหว่างวันที่ 23 – 24 สิงหาคม 2566 ณ ห้องวายุภักษ์ 3 - 4 ชั้น 4 โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ

dsc03207

กิจกรรมในวันแรกได้มีการร่วมกันระดมความเห็น รวบรวมสถานการณ์ และข้อเสนอแนะจากภาคีเครือข่ายองค์กรภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และองค์กรชุมชนท้องถิ่นกว่า 30 องค์กร ในประเด็นสิทธิมนุษยชนสำคัญ และมาสู่การจัดทำข้อมติและการประกาศเจตนารมณ์รวมพลังขับเคลื่อนงานด้านสิทธิมนุษยชน  ในวันที่ 2 ซึ่งมีการกล่าวปาฐกถา ในหัวข้อ “ศักดิ์ศรี เสรีภาพ ความเสมอภาค และความยุติธรรมสำหรับทุกคน” โดยคุณ Gita Sabharwal - United Nations Resident Coordinator

dsc03240

คุณพาตีเมาะ ละตียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ที่ขึ้นกล่าวบนเวทีถึงการนำพาศักยภาพของผู้หญิงมาเป็นวงล้อสำคัญในการขับเคลื่อนโครงสร้างของจังหวัด และนำสู่ระดับประเทศ รวมถึงการนำความหลากหลายของคนในจังหวัดปัตตานี มาสร้างโอกาสการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนโดยคำนึงถึงความเสมอภาค และนำมาซึ่งสันติและเสรีภาพ

dsc03255(2)
และคุณสมชาย หอมลออ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายและที่ปรึกษาอาวุโส มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ขึ้นกล่าวบนเวทีเรียกร้องให้ความเสมอภาคปรากฎเป็นจริง โดยการนำแนวคิดความเป็นธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านมาปรับใช้ 4 ประเด็นดังนี้ 1.ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน 2.เรียกร้องให้มีการเยียวยาผู้ถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคล 3. เรียกร้องไห้มีการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ และ 4. ผลักดันให้มีการปฏิรูปเชิงนโยบาย ปรับเปลี่ยนโครงสร้างและระบบ

dsc03318(1)

และการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เป็นการระดมความเห็นต่อปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมาย เช่น พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 รวมถึงประเด็นการพัฒนากลไกในการให้ความคุ้มครอง ช่วยเหลือ และเยียวยาเหยื่อผู้ถูกกระทำความรุนแรงโดยสังคมมีส่วนร่วม รวมถึงแนวทางในการเสริมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

dsc03336

โดยมีการรับฟัง แลกเปลี่ยนความเห็นในเวทีสมัชชากลุ่มย่อย นำไปสู่การจัดทำข้อมติและการประกาศเจตนารมณ์รวมพลังขับเคลื่อนงานด้านสิทธิมนุษยชนใน 5 ประเด็นสำคัญให้มีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

dsc03095

นอกจากนี้ภายในงานยังมีนิทรรศการให้ความรู้ของภาคส่วนต่างๆ โดยในส่วนของสำนักงาน กสม. มีการให้ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน เรื่องคลินิกกฎหมายสถานะบุคคล ตลอดจนศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชนและอีกเพียบ

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม