เหมือนหรือต่าง? เทียบ "เงินดิจิทัล - คนละครึ่ง" สวัสดิรัฐเพื่อประชาชน

23 ส.ค. 66

เปรียบเทียบ เงินดิจิทัล นโยบายเพื่อไทยเหมือนหรือต่างกับโครงการ คนละครึ่ง รัฐบาล "ลุงตู่" ประชาชนจับตาทั้งประเทศหลัง "เศรษฐา" ได้เก้าอี้นายกฯ

เงินดิจิทัล จากนโยบายในการหาเสียงของพรรคเพื่อไทย สู่คำถามของประชาชนมากมายว่า "เงินดิจิทัลเข้าวันไหน?" หลังจากที่เมื่อ 22 ส.ค.66 ที่ผ่านมา นายเศรษฐ ทวีสิน ได้รับคะแนนโหวตจากทั้ง สส. พรรคร่วม และ สว. ทำให้ นายเศรษฐา ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย 

สำหรับการแจกเงินดิจิทัลของรัฐบาลเพื่อไทยภายใต้การนำของ นำโดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่พรรคใช้ในการหาเสียงก่อนการเลือกตั้ง เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ คาดว่าน่าจะประกาศใช้เดือนมกราคม 2567 

เงินดิจิทัล

รัฐบาลไทยกับเงินสวัสดิการ 

ในยุครัฐบาล คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เกิดนโยบายทางการเงินหนึ่งขึ้นมานั่นก็คือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือที่มักเรียกติดปากว่า ‘บัตรคนจน’ ซึ่งเป็นโยบายที่มห้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล สมารถใช้ได้ผ่านบัตรที่จัดทำจากภาครัฐ โดยสารมารถนำไปใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้า หรือชำระค่าสาธารณูประโภคต่างๆ ตามที่รัฐกำหนดได้ และด้วยนะโยบายนี้เองทำให้ประชาชนเริ่มมองว่าภาครัฐควรจัดสวัสดิการให้ประชาชนอย่างเท่าเทียมมากขึ้น 

คนละครึ่ง อีกโครงการหนึ่งที่ รัฐบาลของ "ลุงตู่" พลเอกพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้จัดทำขึ้นเพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ ด้วยการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน และช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ร้านค้ารายย่อยทั่วประเทศ ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 มีวิธีการใช้งานคือ ใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน "เป๋าตัง" ภาครัฐจะช่วยออกเงินให้ครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นเงินที่ประชาชนต้องเติมเข้าไปเอง

เงินดิจิทัล

นอกจากนี้ เงินสนับสนุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ในยุคของรัฐบาลลุงตู่ ยังมีโครงการอื่นๆ อยู่ เช่น เราเที่ยวด้วยกัน เป็น นโยบายเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภาคประชาชนผ่านการท่องเที่ยวภายในประเทศ ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง สนับสนุนการสร้างงานและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ คล้ายกับ คนละครึ่ง

เปรียบเทียบ คนละครึ่ง กับ เงินดิจิทัล 10,000 บาท

แม้ คนละครึ่ง กับ เงินดิจิทัล 10,000 บาท จะเป็นนโยบายให้เงินสนับสนุนประชาชนเพื่อเป็นไปในการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งคู่ แต่ก็ไม่เหมือนกันไปเสียทั้งหมด โดยในเบื้องต้นมีความต่างกันดังนี้

 

ใครได้รับสิทธบ้าง?

  • คนละครึ่ง

ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ณ วันที่ลงทะเบียน มีหมายเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และมีบัตรประจำตัวประชาชน และต้องเป็นผู้ที่ไม่ได้รับสวัสดิการอื่นจากรัฐเช่น ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และไม่เป็นผู้ได้รับสิทธิโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ

  • เงินดิจิทัล 10,000 บาท

คนไทยตั้งแต่อายุ 16 ปีขึ้นไป มีบัตรประชาชน เลข 13 หลัก ผู้ได้ที่ได้รับสวัสดิการ เช่น ผู้พิการ คนชรา ยังคงมีสิทธิ์ได้รับเงินดิจิทัลเต็มจำนวน ไม่หักลด

 

การลงทะเบียนรับสิทธิ

  • คนละครึ่ง

ต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ คนละครึ่ง 

  • เงินดิจิทัล 10,000 บาท

 ไม่ต้องลงทะเบียน จะผูกกับบัตรประชาชนของผู้ที่มีสิทธิ์

 

วิธีใช้งาน

  • คนละครึ่ง

ใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน "เป๋าตัง" โดยประชาชนผู้มีสิทธิ์เติมเงินเข้าไปครึ่งหนึ่ง และภาครัฐออกให้อีกครั้งหนึ่งในวงเงิน 150 บาท ต่อวัน หรือสามารถใช้วงเงิน 800 บาท ตลอดโครงการ

  • เงินดิจิทัล 10,000 บาท

สามารถใช้งานได้ผ่านรหัสบัตรประชาชน 13 หลัก และสามารถใช้งานได้แม้ไม่มีสมาร์ทโฟน หรือแอปพลิเคชัน

 

ใช้จ่ายที่ไหนได้บ้าง

  • คนละครึ่ง

สามารถใช้จ่ายได้ที่ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการทั่วประเทศ 

  • เงินดิจิทัล 10,000 บาท

รัศมี 4 กิโลเมตร จากที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน (ปรับเปลี่ยนได้ตามลักษณะภูมิประเทศ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนทุกคน)

 

ซื้ออะไรได้บ้าง

  •  คนละครึ่ง

สินค้าจำเป็น อาหาร น้ำดื่ม

  • เงินดิจิทัล 10,000 บาท

ใช้ซื้ออาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค หรือเครื่องมือทำกินใดก็ได้ทั้งสิ้น 

 

ระยะเวลาการใช้งาน

  • คนละครึ่ง

 ใช้จ่ายตามระยะเวลาที่โครงการกำหนดในแต่ละครั้ง

  • เงินดิจิทัล 10,000 บาท

ต้องใช้ให้หมดภายใน 6 เดือน โดยสามารถใช้จ่ายรวดเดียว 10,000 บาท หรือทยอยใช้ก็ได้

 

แม้จะมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างของทั้งสองโครงการ แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ต้องใช้จ่ายตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้เท่านั้น ไม่สามารถถอนออกมาเป็นเงินสดเพื่อใช้จ่ายได้

ทั้งนี้ กระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท ของพรรคเพื่อไทย ยังคงเป็นเพียงนโยบายเท่านั้น ยังไม่มีการบังคับใช้จริง ชึ่งต้องรอดูกันต่อไปว่า พรรคเพื่อไทยจะประกาศใช้นโยบายดังกล่าวตามกำหนดการเดิมตามที่เคยแจ้งในช่วงหาเสียงหรือไม่

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม