ศาล รธน. ไม่รับคำร้องปมเสนอชื่อ "พิธา" โหวตนายกซ้ำ

16 ส.ค. 66

ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน ปมมติรัฐสภาห้ามเสนอชื่อ 'พิธา' โหวตนายกฯซ้ำ ส่งผลให้กระบวนการ โหวตนายกฯรอบ3 เดินหน้าต่อไป

 

16 ส.ค.66 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้นัดประชุมในเวลา 09.30 น. เพื่อพิจารณาว่าจะรับคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดินไว้วินิจฉัยหรือไม่ หลังขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 กรณีรัฐสภามีมติไม่เห็นชอบกับการเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรีรอบสอง เป็นญัตติทั่วไป ห้ามนำเสนอญัตติซ้ำอีก ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อ 41 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 หรือไม่

ต่อมาเวลา 12.43 น. ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาคดีประชุมปรึกษาคดีกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ว่ากรณีรัฐสภามีมติไม่เห็นชอบกับการเสนอชื่อ บุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีรัฐสภาได้พิจารณาให้รัฐสภาได้พิจารณาให้ความเห็นชอบให้ความเห็นชอบในรอบที่สอง เป็นญัตติทั่วไปต้องห้ามนำเสนอต้องห้ามนำเสนอญัตติซ้ำอีกญัตติซ้ำอีกตามข้อบังคับ ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อ 41 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 หรือไม่

โดยข้อเท็จจริงตามคำร้อง คำร้องแก้ไขเพิ่มเติมคำร้อง และเอกสารประกอบสรุปได้ว่าผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับเรื่องได้รับเรื่องร้องเรียนจาก รองศาสตราจารย์พรชัย เทพปัญญา ผู้ร้องเรียนที่หนึ่งและ ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญส่ง ชเลธร ผู้ร้องเรียนที่สอง ซึ่งเป็นบุคคลผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของพรรคก้าวไกล และนางปัญญารัตน์ นันทภูษิตานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคก้าวไกล และคณะ ซึ่งเป็นประชาชนผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งและเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกลจำนวน 17 คน (ผู้ร้องที่สาม) กับผู้ร้องเรียนเพิ่มเติมอีก 13 คนซึ่งเป็นประชาชนผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง

โดยผู้ร้องเรียนทุกคนกล่าวอ้างว่าการที่รัฐสภามีมติดังกล่าวละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของผู้ร้องเรียนทุกคนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 5 วรรคหนึ่ง มาตรา 25 วรรคสาม และ มาตรา 27 และขอให้กำหนดมาตรการหรือวิธีชั่วคราวก่อนวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญโดยให้มีคำสั่งยุติการเลือกนายกมนตรีไว้ก่อนจนกว่าศาลว่ามนูญจะมีคำวินิจฉัย


โดยศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐถ้ามนูญมาตรา 213 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2516 มาตรา 46 เป็นบทบัญญัติที่มีเจตนารมณ์ให้ศาลรับมนูญคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลจากการกระทำละเมิดโดยใช้อำนาจรัฐ แต่บุคคลที่จะมีสิทธิ์ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต้องเป็นบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรง สำหรับกระบวนการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีมาตรา 272 วรรคหนึ่งประกอบแล้วถ้ามนูญ 159 วรรคหนึ่ง ให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบเฉพาะจากบุคคลที่พรรคการเมืองเสนอและเป็นผู้ที่มีชื่อในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมือง แจ้งไว้ตามมาตรา 88 เท่านั้น ดังนั้นผู้มีสิทธิ์ที่จะได้รับการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากรัฐสภาต้องเป็นผู้ที่พรรคการเมืองเสนอตามมาตรา 159 วรรคหนึ่ง อันเป็นสิทธิเฉพาะบุคคลที่รัฐธรรมนูญ 2560 ก่อตั้งขึ้นเป็นหลักการใหม่ของการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนอกเหนือจากสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในหมวดที่ 3 เมื่อผู้ร้องเรียนทุกคนไม่ใช่บุคคลที่พรรคการเมืองแจ้งรายชื่อไว้ว่าจะเสนอรัฐสภาเมื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งไม่ได้เป็นบุคคลที่พรรคการเมืองเสนอชื่อต่อรัฐสภาผู้ร้องเรียนทุกคนจึงไม่ใช่บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรง ไม่อาจใช้สิทธิ ยื่นคำร้อง เรียนได้ตามรัฐธรรมนูนมาตรา 213 กรณีไม่ต้องอาศัยด้วยหลักเกณฑ์วิธีและเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ 2561 มาตรา 46 วรรคหนึ่ง ประกอบมีช่องทางในการยื่นคำร้องที่บัญญัติไว้ในรัฐมนูญเป็นการเฉพาะแล้วดังนั้นผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 ได้ ศาลแล้วถ้ามนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยเมื่อมีคำสั่งไม่รับคำร้องแล้ว คำขออื่นย่อมเป็นอันตกไป

 


 

 

 

 

 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวการเมือง เป็นกระแส