รวมกลอนสอนใจ สุนทรภู่ มหากวีเอกด้านวรรณกรรมไทยแห่งรัตนโกสินทร์

26 มิ.ย. 66

26 มิถุนายน รำลึกเกียรติคุณ สุนทรภู่ มหากวีเอกด้านวรรณกรรมไทยแห่งรัตนโกสินทร์ รวมกลอนสอนใจจากบทประพันธ์เลื่องชื่อมากมาย

ในวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีถูกกำหนดให้เป็นวันสำคัญของไทยนั่นก็คือ "วันสุนทรภู่" เพื่อรำลึกถึง 'สุนทรภู่' กวีเอกด้านวรรณกรรมไทย โดยเฉพาะกลอนนิทานเรื่อง "พระอภัยมณี" จนได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม หรือ "มหากวีแห่งรัตนโกสินทร์" หรือ "เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย"

ประวัติ สุนทรภู่

ทำไมวันที่ 26 มิถุนายนถึงเป็นวันสุนทรภู่

เนื่องจาก วันที่ 26 มิถุนายน เป็นวันคล้ายวันเกิดของพระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวัง ซึ่ง "สุนทรภู่" เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 ในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ดังนั้นจึงกำหนดให้เป็นวันที่ ระลึกยกย่องในเกียรติคุณผลงาน

ทั้งนี้ จัดตั้งโดย องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก้ (UNESCO) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลกให้ปรากฏแก่มวลสมาชิกทั่วโลก

สำหรับ ผลงานของสุนทรภู่ นั้นมีอยู่มากมาย หลายต่อหลายคนมักได้รู้จักหรือได้เรียนรู้ผ่านบทเรียนต่างๆ ตั้งแต่สมัยประถม และมัธยม อย่าง นิราศ นิทานกลอน ซึ่งมักจะถูกแทรกด้วยบทกลอนที่มีคติสอนใจแฝงเอาไว้อยู่ และในบางบทประพันธ์ก็จะได้เห็นการเล่าหรืออธิบายความรักผ่านบทคลอน จนกลายเป็นที่จดจำ หรือถูกหยิบยกมาใช้กันมากมาย อาทิ 

บทกลอนคติสอนใจ

นิราศภูเขาทอง

“ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต

แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา”

 

จากเรื่องพระอภัยมณี

“เขาย่อมเปรียบเทียบความว่ายามรัก แต่น้ำผักต้มขมชมว่าหวาน

ครั้นรักจางห่างเหินไปเนิ่นนาน แต่น้ำตาลว่าเปรี้ยวไม่เหลียวแล”

.........................

“แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด

ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน”

.........................

 

“แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา

รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี”

 .........................

“อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน

แม้องค์พระปฏิมายังราคิน คนเดินหรือจะสิ้นคนนินทา”

 

เพลงยาวถวายโอวาท

“อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย

แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย เจ็บจนตายเพราะเหน็บให้เจ็บใจ”

 .........................

“อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก

สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย”

 

จากเรื่องขุนช้างขุนแผน

“แม่รักลูก ลูกก็รู้ อยู่ว่ารัก

ใครอื่นสัก หมื่นแสน ไม่แม้นเหมือน

จะกินนอน วอนว่า เมตตาเตือน

จะจากเรือน ร้างแม่ ก็แต่กาย” 

 

จากเรื่องสิงหไกรภพ

“พระชนกชนนีเป็นที่ยิ่ง ไม่ควรทิ้งทอดพระคุณให้สูญหาย

ถึงลูกเมียเสียไปแม้นไม่ตาย ก็หาง่ายดอกพี่เห็นไม่เป็นไร

พระบิดามารดานั้นหายาก กำจัดจากแล้วไม่มีที่อาศัย”

 

จากนิราศภูเขาทอง

“ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน

ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไปแต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืนฯ”

advertisement

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส