วัยรุ่นเกินครึ่ง ไม่ฉลอง “วาเลนไทน์” เหตุของราคาแพง-ค่าครองชีพสูง

7 ก.พ. 66

อธิการบดี ม.หอการค้าไทย เผยผลสำรวจ วัยรุ่นเกินครึ่งไม่ฉลอง “วาเลนไทน์” เหตุของราคาแพงขึ้น ส่วน “เจนซี” ยังคงพึ่งพาเงินจากผู้ปกครอง

วันที่ 7 ก.พ. 66 นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษา ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยว่า ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงวัน "วาเลนไทน์" ปีนี้ ผลสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 1,255 ราย ทั่วประเทศ

พบว่า จำนวนคนที่ฉลองเทศกาลวาเลนไทน์ และไม่ฉลอง มีสัดส่วนไม่แตกต่างกันมากนัก โดยไม่ฉลอง 50.8% ฉลอง 49.2% โดยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่อายุต่ำกว่า 40 ปี สำหรับสถานที่ฉลองนั้น พบว่า ห้างสรรพสินค้า มีมากที่สุด 30.2% ตามมาด้วย คาเฟ่ 15.7% และร้านอาหาร 15.3%

นอกจากนี้ยังพบว่า มีค่าใช้จ่ายโดยรวมในช่วงวาเลนไทน์เฉลี่ย 1,848.82 บาทต่อคน คิดเป็นเงินสะพัดรวม 2,389.31 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 15% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเท่านั้น ขณะที่มีความแตกต่างจากเทศกาลปีใหม่และเทศกาลตรุษจีน มีมูลค่าใช้จ่ายโดยรวมสูงที่สุดในรอบ 3 ปี หรือก่อนปี 63

ขณะที่การใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนนั้น กลับมาดีที่สุดในรอบ 4 ปี แสดงให้เห็นว่าคนเริ่มกลับมาใช้จ่าย แต่การใช้จ่ายโดยรวมยังไม่ได้กระเตื้องมาก เนื่องจากผลสำรวจในปี 66 นี้ สัดส่วนคนที่ใส่ใจเรื่องของวันวาเลนไทน์ ไม่ได้สูงมาก

อีกด้านหนึ่งคือ อาจเป็นเรื่องของการมีเทศกาลที่เกิดขึ้นติดต่อกันต่อเนื่อง ทำให้มีการใช้จ่ายไปแล้วพอสมควร ไม่ว่าจะปีใหม่ หรือตรุษจีน และกลุ่มที่มีความสัมพันธ์กับวันวาเลนไทน์ คือกลุ่ม เจนซี (Gen Z) ที่อาจจะยังต้องระมัดระวังการใช้จ่าย และยังคงพึ่งพาเงินจากผู้ปกครอง จึงใช้จ่ายได้ไม่เต็มที่ แต่สิ่งที่น่ากังวลในการตอบแบบสอบถามครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างระบุว่า ต้องมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น เพราะสินค้าและบริการราคาแพงขึ้น และค่าครองชีพสูง เพราะฉะนั้นทำให้กลุ่มตัวอย่างรู้สึกไม่อยากใช้จ่ายเยอะ เพราะว่าของแพง กล้าๆ กลัวๆ ชั่งใจในการซื้อของ

 

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส