"หมอริท" ชี้ต่อให้ "โตโน่" ว่าย 10 รอบ ได้เงินพันล้าน หมอ-พยาบาลก็เหนื่อยเท่าเดิม

23 ต.ค. 65

"หมอริท" ฝากไว้ให้คิด ต่อให้ "โตโน่" ว่าย 10 รอบ ได้เงินพันล้าน หมอ-พยาบาลก็เหนื่อยเท่าเดิม แนะควรแก้ที่ต้นเหตุ ให้ผู้มีอำนาจลงมาจัดการเรื่องความเสี่ยงและเวลาในการทำงาน

หลังจากที่ "โตโน่-ภาคิน คำวิลัยศักดิ์" สามารถทำภารกิจว่ายข้ามโขง รวมระยะทางราว 15 กิโลเมตร เพื่อรับบริจาคสมทบทุนช่วยเหลือโรงพยาบาลนครพนมและโรงพยาบาลแขวงคำม่วน สปป.ลาว นำไปซื้ออุปกรณ์การแพทย์ที่ขาดแคลน โดยสามารถระดมทุนไปได้ 62 ล้านบาท (ข้อมูล ณ เวลา 07.00 น. วันที่ 23 ต.ค.65)

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางเสียงยินดีก็ยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมในแง่ของการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ซึ่งเรื่องนี้มีน้องรักของโตโน่อย่าง "หมอริท" เรืองฤทธิ์ ศิริพานิช รุ่นน้องร่วมเวทีเดอะสตาร์ ซึ่งตอนนี้เป็นคุณหมอ ได้ออกมาให้ความเห็นถึงเรื่องนี้ผ่านทางทวิตเตอร์ MhorRitz โดยระบุว่า

ยินดีด้วยกับการว่ายน้ำข้ามโขงของพี่ "โตโน่ ภาคิน" ในวันนี้นะครับ ที่ปลอดภัย และได้รับเงินบริจาคจำนวนมาก อย่างแรกต้องขอขอบคุณในน้ำใจและความเสียสละของพี่ที่มีต่อบุคลากรทางการแพทย์ คนที่พร้อมจะเสียสละเพื่อคนอื่นแบบพี่ ไม่ได้หาได้ง่ายเลย นับถือใจจริงๆ

87446

ในบทสัมภาษณ์มีหลายครั้งที่พี่พูดว่า ที่พี่มาว่ายน้ำครั้งนี้ เพราะหมอและพยาบาลเค้าเหนื่อยกว่า เสี่ยงกว่า เลยอยากขออนุญาตฝากมุมมองไว้ซักนิดครับ เผื่อพี่อาจจะลืมมองเหตุผลพวกนี้นะครับ (ไหนๆคนก็สนใจโครงการพี่เยอะแล้ว)

1. ต่อให้พี่ว่ายน้ำข้ามโขงเป็น 10 รอบ ได้เงินบริจาคมากว่า 1000 ล้าน หมอ พยาบาล เค้าก็เหนื่อยเท่าเดิมครับ ขอยกตัวอย่างในฝั่งของหมอนะครับ ระบบสุขภาพของประเทศไทยคือ ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า แปลว่า คนไทยจะป่วยยังไง ก็มีการรักษารองรับ (ซึ่งจริงๆดีกับคนไทยในบางมุมนะ เช่น คนจนมีสิทธิ์เข้าถึงการรักษา แต่ข้อเสียก็คือ คนไทยไม่ใส่ใจสุขภาพ เกิดปัญหา เช่น ติดเหล้า ติดบุหรี่ และเกิดปัญหาสุขภาพตามมา ทำให้คนต้องมาโรงพยาบาลกันเยอะ) ซึ่งทำให้หมอต้องทำงานหนัก แต่ยังได้ค่าตอบแทนเท่าเดิม ซึ่งทุกวันนี้หมอไทยยังต้องทำงานเกินเวลาตามระเบียบกำหนด ทำให้เกิดภาวะสมองไหล หมอๆ ก็ออกนอกระบบโรงพยาบาลรัฐกันหมด หมอก็น้อยลง งานก็ยังหนัก ผลิตหมอเท่าไหร่ก็ไม่พอ ก็วนลูปแบบนี้ไปเรื่อยๆครับ ถึงบอกว่าเงินบริจาคเยอะแค่ไหน ก็ไม่ได้ช่วยให้หมอหายเหนื่อยครับ

_or65988

2. พี่บอกว่าหมอพยาบาลเสี่ยง คำถามคือ แล้วใครปล่อยให้หมอพยาบาลทำงานภายใต้ความเสี่ยง? ถ้ารู้ว่าเค้าทำงานแบบเสี่ยงอยู่ ทำไมผู้มีอำนาจโดยตรงถึงมองไม่เห็นและไม่สามารถจัดการปัญหานั้นโดยเร่งด่วนได้ หรืองบประมาณไม่เพียงพอ แล้วถ้างบไม่พอจริงๆ ทำไมไม่รายงานขึ้นไป ทำไมต้องรอเงินบริจาค? ส่วนตัวมองว่า การบริจาคไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดีนะครับ แต่ที่มา หลักการ จุดประสงค์ของโครงการและการนำเงินไปใช้ต้องชัดเจน รวมถึงควรสนับสนุนการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุไปในตัวด้วยครับ ถ้าพี่สื่อสารจุดนี้ได้ด้วย คิดว่าคนไม่เห็นด้วยน่าจะน้อยลงนะครับ และทำให้โครงการของพี่ดูมีเหตุสมควรมากขึ้น

104113

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส