ตั้งสังขาร หลวงพ่อพูล ประดิษฐานศาลาหลังใหม่

13 ต.ค. 64

ตั้งสังขาร หลวงพ่อพูล ประดิษฐานศาลาหลวงพ่อพูลหลังใหม่ ศิษย์แห่ชื่นชมบารมีประติมากรรม หลวงพ่อพูล หน้าตัก 3 เมตร สูง 5 เมตร นั่งบนหนุมานอุ้มโลงแก้วหีบทอง บรรจุสังขารไม่เน่าเปื่อย 16 ปี เผย พุทธศิลป์หนึ่งเดียวในโลก หลวงพี่น้ำฝน จัดสร้างเพื่อถวายความกตัญญูเผยแพร่ความดีพร้อมเปิดให้ประชาชนเข้ากราบไหว้บูชาในศาลาหลวงพ่อพูลหลังใหม่ นับจากนี้เป็นต้นไป

วันที่ 12 ต.ค. 64 วิหารพระพุทธเมตตาประทานพรวัดไผ่ล้อม ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐมพระครูปลัดสิทธิวัฒน์ หรือ หลวงพี่น้ำฝน เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม เป็นประธานในการจัดพิธีเปลี่ยนผ้าครองย้ายสังขารพระเดชพระคุณหลวงพ่อพูลเข้าสู่ศาลาหลวงพ่อพูล ซึ่งเป็นพิธีการในการเปิดศาลาหลวงพ่อพูล(หลังใหม่) อย่างเป็นทางการหลังก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ โดยมีเพียงคณะสงฆ์ศิษยานุศิษย์ที่ใกล้ชิดรวมถึงเจ้าหน้าที่ของวัดไผ่ล้อมเข้าร่วมในพิธีโดยมีการป้องกันการเกิดคลัสเตอร์ไวรัสโควิด-9

โดยในช่วงก่อนพิธีการ เวลา 14.00 น. ที่ศาลาหลวงพ่อพูลวัดไผ่ล้อมพระปฐมเจดีย์ อ.เมืองจ.นครปฐม หลวงพี่น้ำฝน เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อมได้จัดพิธีมอบเครื่องผลิตออกซิเจน จำนวน 50 เครื่องเพื่อมอบให้กับโรงพยาบาล 2 แห่งและโรงพยาบาลสนามอีก 3 แห่งมูลค่า 2,050,000 บาท โดยมีศิษยานุศิษย์และผู้ร่วมบุญเข้ามอบให้กับตัวแทนจากโรงพยาบาลต่างๆ อาทิเช่น พล.ต.ต.วิสิทธิ์ศิริสหวัฒน์ ผบก.ศพฐ.7 นายสมชาติสาลีพัฒนาเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวลูกปลานายเงี๊ยบ ศิลปินนักร้องชื่อดัง พลพล พลกองเล็ง ศิลปินตลก กระรอก เชิญยิ้ม พิธีกรชื่อดัง นกบริพันธ์ชัยภูมิ เป็นต้น

หลวงพ่อพูล ประดิษฐานศาลาหลังใหม่

ซึ่งการมอบเครื่องผลิตออกซิเจนดังกล่าวเป็นการมอบครั้งที่ 2 หลังจากที่เคยได้ทำการมอบไปครั้งที่1 แล้วจำนวน 91เครื่อง ให้กับโรงพยาบาลหลายแห่ง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สามารถนำไปใช้กับโรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนามต่างๆ ที่มีผู้ป่วยวิกฤติที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้ามาพักรักษาตัวในสถานที่ต่างๆ เพื่อลดโอกาสในความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากการติดเชื้อลงปอด ซึ่งเป็นหนึ่งกิจกรรมทางด้านสาธารณสงเคราะห์ที่หลวงพี่น้ำฝนได้จัดขึ้นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในขณะนี้

จากนั้นเป็นพิธีการเคลื่อนสังขาร หลวงพ่อพูล ลงจากโลงหีบทองที่ตั้งอยู่ภายในวิหารพระพุทธเมตตาประทานพรและเคลื่อนมายังศาลาหลวงพ่อพูล โดยได้มีพิธีการทำสะอาดสังขารและเปลี่ยนผ้าครอง โดยมีลูกศิษย์ลูกหาที่ให้ความศรัทธาหลวงพ่อพูลได้ร่วมกันเปลี่ยนผ้าครองโดยเวลาและมีการลงกระหม่อมโดยการเปิดให้มีการทำพิธีหลักนั่นคือการลงกระหม่อม คือการเปิดให้ประชาชนได้เข้าไปกราบไหว้อย่างใกล้ชิดและใช้หน้าผากแตะปลายเท้าสังขารหลวงพ่อพูลเพื่อความเป็นสิริมงคลกีบชีวิต โดยพิธีการดังกล่าวไม่ได้จัดมาแล้ว 2 ปี เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา

หลวงพ่อพูล ประดิษฐานศาลาหลังใหม่

หลวงพี่น้ำฝน เจ้าอาวาวัดไผ่ล้อมเผยว่าในการจัดพิธีการเปลี่ยนผ้าครองสังขารหลวงพ่อพูลและการเคลื่อนย้ายสังขารไปตั้งในศาลาหลวงพ่อพูลครั้งนี้ได้มีการวางแผนมานานโดยที่ตั้งของศาลาหลวงพ่อพูลที่ได้นำสังขารท่านไปประดิษฐานตรงเดิมทีก็เป็นที่ตั้งของกุฏิของท่านเอง ซึ่งการออกแบบอาตมาก็ได้ทำตามนิมิตที่เป็นภาพคือการที่มีรูปหล่อหลวงพ่อพูลที่สร้างขึ้นมาเป็นงานที่ละเอียดมีความเหมือนกับท่านยังคงมีชีวิตและนั่งอยู่บนหนุมาน ซึ่งถือว่าหนุมานเป็นตัวแทนของความกตัญญู ซึ่งหมายถึงหลวงพี่น้ำฝนซึ่งตลอดระยะเวลาครั้งที่หวงพ่อพูลท่านยังมีชีวิตยู่

หลวงพ่อพูล ประดิษฐานศาลาหลังใหม่

หลวงพ่อพูล ประดิษฐานศาลาหลังใหม่

หลวงพี่น้ำฝนก็ได้มีการสนองงานของหลวงพ่อพูลในวัดไผ่ล้อมด้วยความตั้งใจมาโดยตลอดและแม้หลวงพ่อพูลท่านได้ละสังขารแล้ว 16 ปี แต่หลวงพี่น้ำฝนก็ยังคงสานต่อภารกิจในวัดไผ่ล้อมิย่างต่อเนื่องเสมอมา ส่วนโลงกระจกที่รูปหล่อท่านอุ้มไว้เป็นการที่แสดงให้เห็นถึงบารมีของท่านที่สังขารไม่มีการเน่าเปื่อยและเนื้อผิวก็ยังคงออกเป็นสีทองอร่ามมากขึ้นทุกปี โดยยังมีเส้นผมที่งอกออกมาด้วยจึงได้ตั้งใจมาจัดประดิษฐานเพื่อให้ประชาชนได้มาเห็นถึงบารมีของหลวงพ่อพูลที่ท่านเป็นครูบาอาจารย์ที่สร้างแต่ความดีมาตลอดการครองชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์ จากนั้นจะเปิดให้ประชาชนได้เข้ามากราบไหว้ขอพระเพื่อเป็นมงคลชีวิตนับจากนี้ไปอย่างเป็นทางการ

หลวงพ่อพูล ประดิษฐานศาลาหลังใหม่

สำหรับ หลวงพ่อพูล กำเนิดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2455 ปีชวด ที่บ้านเลขที่ 75 หมู่ที่ 3 ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมืองจังหวัดนครปฐม เป็นบุตรคนที่ 6 จากพี่น้อง10 คน บิดาชื่อนายจู มารดาชื่อนางสำเนียง นามสกุลปิ่นทอง ในวัยศึกษาได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดห้วยจระเข้ สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 เมื่อปี พ.ศ.2471

ครูจันทร์หัวหน้าคณะลิเกคณะแสงทองในสมัยนั้นได้เห็นหน่วยก้านดีจึงได้มาขอนายจูบิดาให้เด็กชายเริ่มมาฝึกฝนวิชาลิเกและแสดงให้เห็นถึงความสามารถเพราะเป็นคนมีความจำดีเยี่ยมแต่ก็ได้มาฝึกวิชาในเวลาไม่นานก็มาพบว่าชอบที่จะเรียนรู้วิชาการต่อสู้แบบลูกผู้ชายและไปฝึกซ้อมเป็นนักมวยไทยจนกลายมาเป็นนักมวยที่มีฝีมือดีคนหนึ่งในจังหวัดนครปฐมในช่วงนั้น

เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มเต็มตัวนายพูลก็ได้จุดประกายใคร่เรียนรู้ในการเขียนอักขระภาษาขอมและวิชาการแพทย์แผนโบราณ จึงได้เข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่แย้มปิ่นทอง ผู้เป็นปู่ ซึ่งได้รับวิชาจากหลวงปู่จ้อยวัดบางช้างเหนือ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง และหลวงปู่กลั่นวัดพระประโทนเจดีย์ ซึ่งล้วนเป็นอดีตพระเกจิชื่อดังแห่งเมืองนครปฐม ซึ่งหลวงปู่แย้มยังมีเพื่อนรักอีกคนหนึ่งที่เป็นศิษย์ร่วมสำนักเดียวกันนั่นคือ นายพรม ด้วงพลู หรือ พ่อพรมจอมขมังเวทย์แห่งดอนยายหอม ผู้ที่เป็นบิดาของหลวงพ่อเงินแห่งวัดดอนยายหอม นายพูลจึงได้รับการฝึกฝนวิชาต่างๆ มาจากครูบาอาจารย์หลายท่าน

ในปี พ.ศ.2477 นายพูลอายุครบสู่วัยเกณฑ์ทหารจึงสมัครเข้ารับราชการในสังกัดทหารม้ารักษาพระองค์ ทันทีที่เสร็จสิ้นเรื่องการรับใช้ชาติท่านได้เข้าบรรพชาอุปสมบททดแทนคุณบุพการี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2480 ขึ้น12 ค่ำปีฉลู ณ พัทธสีมาวัดพระงาม ได้รับฉายา อัตตะรักโข หมายความว่าผู้รักษาตน ซึ่งท่านได้ไปเข้าฝากตัวเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อพร้อมแห่งวัดพระงามซึ่งเลื่องชื่อในการสร้างพระปิดตาเนื้อทองผสม ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในวงการพระเครื่องคือพระปิดตาวัดพระงาม และท่านยังได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ซึ่งได้เรียนรู้และศึกษาทางธรรมจนมีจิตใจที่นิ่งสงบ

ต่อมาในปี พ.ศ.2490 วัดไผ่ล้อม ได้ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงที่พระองค์ทรงเกณฑ์ชาวมอญมาเป็นแรงงานในการบูรณะองค์พระปฐมเจดีย์และมีสถานที่เงียบสงบในการปฏิบัติธรรม จึงได้จัดให้เป็นธรณีสงฆ์

ในขณะนั้นวัดไผ่ล้อมได้ขาดเจ้าอาวาส หลวงพ่อเงินท่านได้บอกกับชาวบ้านว่ามีพระอาจารย์รูปหนึ่งมีการปฏิบัติที่งดงามจำพรรษาอยู่ที่วัดพระงาม ชาวบ้านจึงได้พร้อมใจกันไปกราบนมัสการอาราธนาพระอาจารย์พูลให้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดไผ่ล้อม พร้อมกับให้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม โดยมีหลวงพ่อเงินคอยเป็นพระพี่เลี้ยงคอยแนะนำให้การช่วยเหลือประสิทธิประสาทวิชาให้จนครบถ้วน หลวงพ่อพูลจึงถือได้ว่าเป็นศิษย์สายตรงของหลวงพ่อเงินที่ท่านรักและเมตตาเป็นอย่างยิ่ง

กระทั่งวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2548 เวลา14.55 น. หลวงพ่อพูลได้ละสังขารอย่างสงบ ขณะอายุ 93 ปี ซึ่งเป็นเกิดปรากฏการณ์ 3 มงคลคือตรงกับวันวิสาขบูชาพิธีไหว้ครูบูรพาจารย์และเป็นวันที่ท่านละสังขาร ซึ่งหลังจากมีการจัดพิธีการทางศาสนาได้ครบ 100 วัน

หลวงพี่น้ำฝน ได้มีการเปิดโลงหีบทองและเกิดเรื่องอัศจรรย์เมื่อพบว่าร่างสังขารของหลวงพ่อพูลยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ใบหน้าผิวพรรณของท่านยังเหมือนปกติ ไม่เน่าเปื่อย หลวงพี่น้ำฝนจึงได้อัญเชิญสังขารของหลวงพ่อพูลบรรจุไว้ในโลงแก้ว ซึ่งทำให้ศิษยานุศิษย์และประชาชนได้กราบไหว้บูชาด้วยความอัศจรรย์จนจวบถึงทุกวันนี้ นับเวลามาถึงตอนนี้เป็นเวลา 16 ปีเต็ม

ศิษยานุศิษย์รวมถึงประชาชนทั่วไปจะทราบกันกันดีว่าท่านเป็นเกจิอาจารย์ที่มีญาณหยั่งรู้แต่พูดน้อย และเป็นพระที่มีความเมตตาสูง โดยเฉพาะในกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าที่ทำการค้าขายจะมาให้ท่านจัดทำพิธีเพื่อความเป็นมงคลในการประกอบกิจการและจะเป็นที่รู้กันว่าหากจะตั้งศาลพระภูมิ หลวงพ่อพูลท่านมักจะมีการหยดเทียนน้ำมนต์ลงในอ่างน้ำมนต์ผู้ที่จัดงานมักจะมาขอดูลายหยดน้ำตาเทียนและนำไปตีเลขได้โชคลาภกันเป็นประจำ หลวงพ่อพูลท่านจึงได้รับมาขนานนามว่าพระผู้เมตตากับพ่อค้าแม่ค้า ตั้งแต่ยุคก่อนถึงจนถึงยุคปัจจุบัน

 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ