แตกตื่น! อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร แตก ผอ.ชลประทาน โคราช ยันไม่จริง สถานการณ์น้ำยังคุมได้

26 ก.ย. 64

สืบเนื่องจากกระแสข่าวในโลกออนไลน์ที่มีการแชร์ว่า แจ้งเตือน! อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรแตก ขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ท้ายอ่าง เร่งขนของขึ้นที่สูง พร้อมเฝ้าระวังติดตามมวลน้ำไหลเชี่ยวแรง

ล่าสุดวันที่ 26 ก.ย.64 นายกิติกุล เสภาศีราภรณ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครราชสีมา เปิดเผยว่า ไม่เป็นความจริง ไม่ใช่เขื่อนแตก โดยจุดที่มีการแชร์ออกไป คือจุดที่กำลังก่อสร้าง ทางชลประทานนครราชสีมา ทำเพื่อเพิ่มช่องระบายน้ำ ยืนยันตอนนี้สถานการณ์น้ำยังควบคุมได้

ขณะที่เมื่อเวลา 19.00 น. สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา เผยว่า "แจ้งสถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายสูง
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา แจ้งเตือนการระบายน้ำ อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร (ตอนล่าง) ฉบับที่ 2 ด้วยกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา ได้รับแจ้ง

จากโครงการชลประทานนครราชสีมา ว่าเนื่องจากปริมาณน้ำจากลำเชียงไกร ตอนบน และลำน้ำสาขามีปริมาณป็นจำนวนมาก และได้ระบายลง อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร ตอนล่าง จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มการระบายน้ำเป็นจำนวนมาก (ข้อมูล ณ เวลา 14.09 น.วันที่ 26 ก.ย. 64) ระบายน้ำลงลำน้ำเดิม 66.443 ลบ.ม. ระบายน้ำผ่านอาคารระบายน้ำฉุกเฉิน 101.72 ลบ.ม. รวมการระบายน้ำ 168.15 ลบ.ม. ส่งผลให้ระดับน้ำในลำเชียงไกร และลำน้ำสาขา มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น และจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมสองฝังลำน้ำ และพื้นที่ริมตลิ่ง

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา พิจารณาแล้วขอให้ดำเนินการ ดังนี้
1.ให้อำเภอด้านท้ายอ่างฯ ได้แก่ อำเภอโนนไทย พระทองคำ เมืองนครราชสีมา โนนสูง พิมาย ชุมพวง ลำทะเมนชัย และอำเภอเมืองยาง แจ้งเตือนประชาชนให้ทราบถึงสถานการณ์อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายสูง เจ้าหน้าที่กำลังดำเนินการควบคุมสถานการณ์ ให้อพยพไปยังสถานที่ปลอดภัย ในระดับสีส้ม โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ริมน้ำและที่ลุ่มต่ำให้เก็บทรัพย์สินสิ่งของจำเป็นขึ้นไว้ที่สูงกว่าที่เคย ระวังติดตามมวลน้ำไหลเชี่ยวแรง ดูแลเด็กเล็กและคนชรา ผู้ป่วยติดเตียง

2. ประสานท้องถิ่น ติดตั้งเครื่องสูบน้ำในจุดสำคัญทางเศรษฐกิจ จัดหาและสนับสนุนกระสอบทราย ให้กับประชาชนเพื่อปิดกั้นน้ำเข้าบ้านเรือนและพื้นที่สำคัญ จัดรถกระจายข่าวแจ้งเตือนประชาชนให้ทั่วถึง และจัดกำลังเจ้าหน้าที่ ประสานกำลังพลสนับสนุนการอพยพประชาชนไปยังศูนย์พักพิงที่เตรียมไว้ล่วงหน้า จัดตั้งโรงครัว หรือครัวพระราชทาน เพื่อดูแลผู้ได้รับผลกระทบและเจ้าหน้าที่

3. ให้ความสำคัญในการแจ้งให้พี่น้องประชาชนได้รับรู้อย่างทั่วถึง ขอให้ติดตามข้อมูลข่าวสาร และปฏิบัติตามคำแนะนำของทางราชการอย่างใกล้ชิด

4. กรณีการอพยพประชาชน ขอให้ไม่ต้องห่วงทรัพย์สิน ควรให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในชีวิต และความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น

5. ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครอง จะมีการจัดชุดลาดตระเวนตรวจตรา ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันผู้ฉกฉวยโอกาสขโมยทรัพย์สิน

6. รายงานสถานการณ์ และผลการดำเนินการ ตามแบบรายงานเหตุด่วนสาธารณภัยพร้อมภาพถ่ายให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมาทราบทันที จนกว่าสถานการณ์จะสิ้นสุด

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- โคราช เตือนประชาชนเก็บของขึ้นที่สูง รับมือมวลน้ำจาก อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร
- ประยุทธ์ ลุยตรวจ น้ำท่วมสุโขทัย ชวนชาวบ้านสวดมนต์ขอพายุมาลูกเดียวพอ
- เตี้ยนหมู่ พ่นพิษ! น้ำทะลักท่วมโรงเรียนโคราชสูงกว่า 70 ซม. ครูขนของขึ้นที่สูง
- เตี้ยนหมู่ทำเจ็บหนัก! สุนารี ราชสีมา เผยคลิปน้ำท่วมอ่วม 80 กว่าไร่ จบสิ้นข้าวกำลังอุ้มท้องอ่อน

- จนท.-ชาวบ้าน แข่งกับเวลาหลังมวลน้ำทะลักเข้า รพ. เร่งขนอุปกรณ์การแพทย์หนี

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ