ทำไมเงินเฟ้อ หลังโควิดเริ่มคลี่คลาย

11 พ.ย. 64

11.พ.ย.2564

 

  • ภาวะเงินเฟ้อ คือการสะท้อนว่า ภาวะเงินในกระเป๋าของเรามีมูลค่าลดลง ของชิ้นเดิมแต่ไม่สามารถซื้อได้ด้วยเงินเท่าเดิม  
  • เมื่อโควิดเริ่มคลี่คลาย ทำให้ความต้องการสินค้า บริการมีมากขึ้น ฝั่งผู้ผลิตยังไม่สามาถผลิตได้เพียงพอในช่วงเริ่มต้นการฟื้นตัวจากโควิด19 ส่งผลให้ราคาสินค้าหลายประเภทปรับตัวสูงขึ้น 
  • ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ บรรดานักเศรษฐศาสตร์ทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมถึง ธนาคารแห่งประเทศไทย มองคล้ายกันว่า ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในช่วงนี้เกิดขึ้นแค่ชั่วคราว ดังนั้น แนวโน้มดอกเบี้ย ซึ่งเป็นเครื่องมือปราบเงินเฟ้อ จึงยังไม่ปรับขึ้นเร็วนัก

 

เงินเฟ้อ (Inflation) คืออะไร?

คือภาวะที่ระดับราคาของสินค้าและบริการในประเทศสูงขึ้น เท่ากับมูลค่าของเงินกลับในกระเป๋าเราลดลง ตัวอย่างเช่น เมื่อ 20 ปีที่แล้ว เราเคยซื้อก๋วยเตี๋ยว 1 ชามได้ในราคา 20-30 บาท แต่ในปี 2564 เงิน 20 บาทเท่าเดิม กลับไม่สามารถซื้อก๋วยเตี๋ยวชามนั้นได้อีกแล้ว  ตามหลักเศรษฐศาสตร์ จะอธิบายว่า เงินเฟ้อ มาจาก 2 สาเหตุ คือ ต้นทุนของสินค้านั้นเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาสินค้าต้องปรับขึ้นตาม (Cost push)  กับอีกสาเหตุคือ  มีความต้องการสินค้านั้นมากขึ้น ราคาสินค้าก็เลยปรับสูงขึ้น  (demand pull)

ผู้ที่ทำหน้าที่ในการรายงานภาวะเงินเฟ้อ สำหรับในประเทศไทยคือ กระทรวงพาณิชย์ โดยมีการเก็บข้อมูลภาวะราคาราคาสินค้าและบริการ ทั้งหมด 8 หมวด แต่ละหมวดก็มีรายการสินค้าย่อยๆลงมาอีกหลายรายการ เช่น ในหมวดอาหารที่ไม่รวมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  หมวดเคหะสถาน มีทั้ง ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นต้น โดยกระทรวงพาณิชย์นำรายการสินค้าเหล่านี้มาคำนวนและรายงานออกมาเป็น ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index ) ตัวย่อ คือ CPI หรือจะเรียก อัตราเงินเฟ้อ ก็ได้เช่นกัน มีการรายงานกันเป็นประจำทุกเดือน    

 

โควิด19 VS เงินเฟ้อ 

สหรัฐอเมริกา เพิ่งจะมีการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดออกมา ปรากฏว่า พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์  6.2% ในเดือนตุลาคมเทียบปีที่ผ่าน ถ้าหากดูข้อมูลย้อนหลังก็พบว่าเงินเฟ้อในสหรัฐฯปีนี้ ไต่ระดับขึ้นจาก 1.4 % ในเดือนมกราคมมาถึงล่าสุด 6.2 % ซึ่งภาวะเงินเฟ้อนนี้เองที่ธนาคารกลางสหรัฐใช้เป็น1 ในเกณฑ์ที่จะตัดสินใช้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

 แต่มีการวิเคราะห์กันว่า อัตราเงินเฟ้อในช่วงนี้ อาจเป็นเพียง สถานการณ์ชั่วคราวเท่านั้น เพราะสถานการณ์โควิด19 ที่หนักในปี 2020 ประเทศต่างๆ ต้องมีการประกาศ Lock Down กิจกรรมทางเศรษฐกิจแทบหยุดชะงัก ทำให้ดัชนีชี้วัดอัตราเงินเฟ้อในปี2020 ออกมาต่ำถึงขนาดติดลบ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ทำให้รัฐบาลและธนาคารกลางทั่วโลกอัดฉีดเงินกันอย่างเต็มที่   

ต่อมาในปี 2021 ประเทศต่างๆระดมการฉีดวัคซีนให้ประชาชนจำนวนมาก อัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจกันขนานใหญ่ ทำให้ สถานการณ์เศรษฐกิจค่อยๆกลับมา และเมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมา มีการเดินทาง การท่องเที่ย ความต้องการสินค้าและ บริการเริ่มสูงขึ้น  ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นมาก ส่งผลให้เงินเฟ้อ  ขยับสูงขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง  ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ บรรดานักเศรษฐศาสตร์ทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมถึง ธนาคารแห่งประเทศไทย มองคล้ายกันว่า ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในช่วงนี้เกิดขึ้นแค่ชั่วคราว  ผลการประชุม กนง.ล่าสุด ประเมินว่า สถานการณ์ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมากในช่วงนี้ จะทรงตัวได้ในช่วงในไตรมาส 2 ของปี 2565 เมื่อฝั่งผู้ผลิตน้ำมันสามารถผลิตได้สอดคล้องกับความต้องการน้ำมันที่สูงขึ้น ดังนั้น แนวโน้มดอกเบี้ย ซึ่งเป็นเครื่องมือปราบเงินเฟ้อ จึงยังไม่ปรับขึ้นเร็วนัก

 

 

เงินเฟ้อ กระทบกัยประชาชนอย่างไร?

แน่นอนว่า หากราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นมากๆ กระทบกับประชาชนที่จะมีภาระค่าครองชีพสูงขึ้น ยิ่งหากรายรับเท่าเดิมในภาวะโควิด19แบบนี้ ยิ่งกระทบหนัก อีกหนึ่งผลกระทบคือ เงินเฟ้อส่งผลให้คนหันไปถือครองทรัพย์สินอื่นแทน หวังว่ามูลค่าจะสูงขึ้นกว่าการถือเงินสด  แต่ทั้งนี้เงินเฟ้อไม่ได้น่ากลัวไปทุกด้าน เพราะหากประเทศ มีภาวะเงินเฟ้ออ่อนๆ ระดับประมาณ 1-2%  ก็จะกระตุ้นให้ภาคธุรกิจมีการลงทุน เพราะสามารถขายสินค้าได้ราคานั่นเอง และนั่นก็หมายถึงภาวะเศรษฐกิจที่ดูคึกคักมากขึ้น    

 

 

 

advertisement

Powered by อมรินทร์ทีวีออนไลน์

ข่าวยอดนิยม