'ทรู คอร์เปอเรชั่น' คือชื่อใหม่ของบริษัทที่เกิดจากควบรวมของสองยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมของไทย ทรูและดีแทค โดยเมื่อวานนี้ (3 มี.ค. 65) เป็นวันแรกที่หุ้น TRUE (ใหม่) เปิดให้ซื้อขายวันแรกในตลาด โดยไม่มีการกำหนด Floor - Ceiling ส่งผลให้เกิดแรงซื้อขายมหาศาล จนขึ้นเป็นที่มีโวลุ่มเทรดสูงสุดประจำวัน
Spotlight รวบรวมความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ รับหุ้นใหม่ (หน้าเดิม) ที่โดดเด่นที่สุดของตลาดในช่วงนี้
หุ้น TRUE เปิดตลาดที่ 8.35 บาทหุ้น ก่อนราคาเหวี่ยงตลอดทั้งวัน แกว่งสู่จุดจ่ำสุดที่ 8.05 บาท/หุ้น ในช่วงประมาณ 10.00 น. ก่อนปรับตัวขึ้นสู่จุดสูงสุดที่ 8.80 บาท/หุ้น ช่วง 15.00 น. แล้วปรับลดลงมาปิดตลาดที่ 8.60 บาท บวก 3% จากราคาเปิดตลาด
ด้านมูลค่าและปริมาณการซื้อขายนับว่าร้อนแรงที่สุดในกระดาน SET ในวันที่ผ่านมา โดย ครองแชมป์ทั้งด้านมูลค่าการซื้อขาย ที่ 6.64 พันล้านบาท และปริมาณการซื้อขายที่ 7.85 ร้อยล้านหุ้น โดย 5 อันดับหุ้นที่มีมูลค่าการซื้อขาย และปริมาณการซื้อขายสูงสุดประจำวันที่ 3 มี.ค. 66 เป็นดังนี้
บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด แนะนำ ‘ซื้อ’ หุ้น TRUE โดยให้ราคาพื้นฐานที่ 10.40 บาท ต่อหุ้น มองว่าบริษัทมีโอกาสเพิ่มรายได้จากการให้บริการมือถือที่ใหญ่ขึ้น เพราะรวมรายได้การให้บริการมือถือของ DTAC, รายได้จาก Online Business และ รายได้จากโทรทัศน์รายเดือน PayTV ซึ่งมีโอกาสปรับขึ้นอย่างน้อย 0.5% สอดรับกับการเติบโตของการให้ดาต้าของประเทศไทย และพฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์มือถือที่เติบโตแบบก้าวกระโดด ทำให้ TRUE เป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่มีโอกาสเติบโตโดดเด่นในช่วงหลายปีต่อจากนี้
หยวนต้าคาดว่า กำไรปกติในปี 2566 ถึง 2568 จะอยู่ที่ 3.5 พันล้านบาท , 1.2 หมื่นล้านบาท และ 1.4 หมื่นล้านบาท
ด้านบริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) แนะนำ “ซื้อ” เช่นกัน โดยให้ราคาเป้าหมายที่ 9.00 บาท โดยประเมินราคาหุ้นในระยะสั้น มีโอกาสปรับขึ้นสะท้อนการเปิดเผยเป้า Synergies ของบริษัทที่คาดว่าจะมีรายละเอียดมากขึ้น
ในขณะที่ฝ่ายวิจัยยังคงให้น้ำหนักผลบวกจากประเด็นดังกล่าวในช่วง 1-2 ปี แรก อยู่ที่การใช้ทรัพย์สินร่วมกันภายใต้จุดแข็งของบริษัทใหม่ ที่มีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 53.2% จากไตรมาส 3/65 ที่ (DTAC 22.0% และ TRUEE อยู่ที่ 31.2% (vs ADVANC 46.8%)) และการที่มีคลื่นให้บริการในมือขยับขึ้นเป็น 1,350 MHz มาใกล้เคียง ADVANC ที่ 1,450 MHz
นอกจากนี้ ยังมองว่าการควบรวมจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายดำเนินงานและงบลงทุน รวมถึงการปิดจุดอ่อนของ DTAC เดิมที่มีข้อจำกัดบริการ 5G และเน็ตบ้านเชิงพาณิชย์