ไลฟ์สไตล์

คนญี่ปุ่นเกิดพฤติกรรม "ฮิคิโคโมริ” ผลกระทบจากโควิด 19

5 เม.ย. 66
คนญี่ปุ่นเกิดพฤติกรรม  "ฮิคิโคโมริ” ผลกระทบจากโควิด 19

ผลสำรวจของรัฐบาลญี่ปุ่น พบว่า ประชากรวัยทำงานเกือบ 1.5 ล้านคนในญี่ปุ่นมีพฤติกรรมใช้ชีวิตแบบสันโดษ อยากปลีกวิเวกกักตัวเองอยู่แต่ในห้อง โดยราว 20% อ้างสาเหตุ ว่าเป็นเพราะโควิด 19 ทำให้พวกเค้าไม่ต้องการออกไปไหน ซึ่งคนเหล่านี้มีจำนวนถึง 2% ของประชากรอายุ 15 ถึง 64 ปี 

ต้องยอมรับว่า สภาพสังคม การใช้ชีวิตในญี่ปุ่นอยู่มีแรงกดดันสูงทำให้ผู้คนต้องอยู่ในกรอบตลอดเวลา ซึ่งนั่นจึงเป็นส่วนที่ทำให้คนจำนวนหนึ่งอยากแยกตัวออกมา อยากอยู่คนเดียว ออกจากบ้านแยกตัวออกจากเพื่อนฝูง หรือไม่ยอมทำกิจกรรมต่างที่เป็นงานอดิเรก การอยู่คนเดียวกลายเป็นเรื่องปกติ แต่ภาวะเช่นนี้นี้มีคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "ฮิคิโคโมริ (Hikikomori)"

ฮิคิโคโมริ (Hikikomori) ซึ่งเป็นคำที่คิดขึ้นจากนักจิตวิทยาชื่อ ทามากิ ไซโตะ ชาวญี่ปุ่น เค้าอธิบายว่า ฮิคิโคโมริ ไม่ใช่ชื่อขอโรค แต่เป็นศัพท์ที่ใช้อธิบายถึง ภาวะที่เกิดความรู้สึกอยากอยู่คนเดียว แยกตัวออกมาจากสังคม   พฤติกรรมแยกตัวจากสังคม รักสันโดษ ชอบเก็บตัวเงียบอยู่ในบ้านพักของตน โดยไม่มีปฎิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และไม่ออกนอกบ้านถ้าไม่มีความจำเป็น

จิตแพทย์แนะนำว่า หากปล่อยให้เป็นฮิคิโคโมริไปนานๆ อาจก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า และอาจส่งผลต่อสภาพจิตใจ และอาจกลายเป็นผู้ป่วยทางจิตเวช เช่น โรคจิตเภท โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคหวาดกลัวที่กว้าง รวมถึง การขาดความมั่นใจในตัวเอง เเละอาจก่อให้เกิดการฆ่าตัวตายได้

การสำรวจของรัฐบาลได้ดำเนินการเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว โดยสำรวจความคิดเห็นของประชาชนประมาณ 30,000 คน มีอายุระหว่าง 10 ถึง 69 ปี ซึ่งเป็นการสำรวจตามช่วงอายุที่กว้างที่สุด  ซึ่งก็ยังไม่ฟันธงแบบ 100% ว่าโควิด 19 ทำให้คนญี่ปุ่นอยู่ในภาวะ ฮิคิโคโมริ มากขึ้นแค่ไหน 

แต่อย่างไรก็ตามีผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโตเกียว พบว่า การระบาดของโควิด19 เป็นปัจจัยหนึ่งที่เร่งให้ประชากรคนญี่ปุ่นฆ่าตัวตาย ในปี 2563 -2565 จำนวนคนฆ่าตัวตายในประเทศญี่ปุ่น มีมากกว่า 8,000 คน

advertisement

SPOTLIGHT