สถานการณ์การเป็นหนี้ของครัวเรือนไทยยังคงอยู่ในระดับสูงเกินกว่า 80%ต่อ GDP มาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2558 อยู่ที่ 81.2%ต่อ GDP และไต่ขึ้นมาอยู่ในระดับสูงถึง 90.1%ต่อGDP ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ในปี 2564 จนล่าสุดไตรมาส 3 ของปี 2565 หนี้ครัวเรือนไทย อยู่ที่ 86.8%ต่อGDP มูลค่าประมาณ 14 ล้านล้านบาท ซึ่งเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย คือ ต้องการให้หนี้ครัวเรือนไทยลงมาต่ำกว่าระดับ 80% ต่อGDP ซึ่งถือเป็นระดับตามเกณฑ์ เพราะหากหนี้ครัวเรือนสูงกว่า80% จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และอาจก่อให้เกิดปัญหาเสถียรภาพการเงินของประเทศ
ซึ่งล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดทำ “แนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน” เพื่อสะท้อนข้อมูลเชิงลึกของหนี้ครัวเรือนไทยและสื่อสารหลักการในการแก้ปัญหาหนี้ให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ รวมทั้งคำนึงถึงภาพระยะยาวมากขึ้น เพราะที่ผ่านมา มาตรการส่วนใหญ่เน้นให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 เพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้าเป็นหลัก แต่ภายหลังที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวและได้ปรับมาตรการให้เน้นการแก้หนี้ระยะยาวที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้แล้ว แต่ยังไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมานาน ดังนั้น หากไม่ทำอะไรเพิ่มเติม คาดว่าหนี้ครัวเรือนจะสูงกว่าร้อยละ 80 ของ GDP
ก่อนที่ไปลงรายละเอียดว่า แนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนควรทำอย่างไร มาดูสภาพความเป็นจริงของการเป็นหนี้ของคนไทยก่อนว่าสถานการณ์หนักหนาแค่ไหน
ในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า ต้องทำอย่างครบวงจรให้เหมาะกับลักษณะและสาเหตุุของปัญหาในแต่่ละช่วงของการเป็นหนี้ และต้องทำอย่างถูกหลักการ คือ แก้ให้ตรงจุด ไม่สร้างภาระเพิ่มให้ลูกหนี้ ไม่ลดโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อ และตั้งใจจริง ซึ่งทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน ทั้งเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และภาครัฐ
หนี้เสียที่มีอยู่ในปัจจุบัน
เร่งรัดการปรับโครงสร้างหนี้ตามมาตรการแก้หนี้ระยะยาวการกำหนดให้เจ้าหนี้ต้องมีบริการให้คำปรึกษาแก้หนี้ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของลูกหนี้ การสร้างตัวช่วยลูกหนี้ โดยให้มีคนกลางทำหน้าที่ให้คำแนะนำด้านการแก้หนี้และไกล่เกลี่ยหนี้ และการผลักดันให้มีกฎหมายที่ช่วยให้ลูกหนี้รายย่อยทั่วไปที่ไปต่อไม่ไหวได้เข้ากระบวนการฟื้นฟูหรือขอล้มละลายได้ด้วยตนเอง
ทั้งนี้ ธปท. จะเร่งผลักดันการแก้ไขปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนตามแนวทางที่วางไว้ผ่านกระบวนการรับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บังคับใช้ได้จริงเหมาะสมกับปัญหาของลูกหนี้แต่ละกลุ่ม สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจการเงิน และสามารถดูแลหนี้ครัวเรือนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้ภาคครัวเรือนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ลดความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจและเสถียรภาพการเงินในระยะยาว และภาคการเงินมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง พร้อมรองรับการพัฒนาด้านดิจิทัลและการปรับตัวไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมได้
น.ส.สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 1 ธปท. เปิดเผยถึงสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทย และแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนว่า ข้อมูลการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ครัวเรือน และลูกหนี้ธุรกิจในการแก้หนี้เดิม มีทั้งสิ้นรวม 3.95 ล้านบัญชี คิดเป็นมูลหนี้ 2.98 ล้านล้านบาท โดยในจำนวนนี้ แยกเป็น ลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ และ non-bank 1.58 ล้านบัญชี คิดเป็นมูลหนี้ 1.89 ล้านล้านบาท และลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 2.37 ล้านบัญชี คิดเป็นมูลหนี้ 1.09 ล้านล้านบาท
ส่วนการให้สินเชื่อใหม่ (ข้อมูลถึงวันที่ 6 ก.พ. 66) มีทั้งสิ้น 137,462 ราย คิดเป็นยอด 348,897 ล้านบาท แบ่งเป็น สินเชื่อฟื้นฟู 59,675 ราย ยอดรวม 210,679 ล้านบาท ส่วน Soft Loan 77,787 ราย ยอดรวม 138,220 ล้านบาท
“จากมาตรการความช่วยเหลือดังกล่าว อาจยังไม่เพียงพอที่จะทำให้หนี้ครัวเรือนลดลงต่ำกว่าระดับที่ต้องเฝ้าระวัง (ระดับ 80% ขึ้นไป) และเมื่อมองไปข้างหน้า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอที่จะทำให้ระดับหนี้ครัวเรือนกลับไปสู่จุดที่มีเสถียรภาพได้ โดยธปท.คาดการณ์ว่าหากไม่มีการดำเนินการใดๆ ในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน จะทำให้ในปี 2570 หนี้ครัวเรือนไทยจะอยู่ที่ระดับ 84% ของ GDP”
ที่มาขอข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย ชมคลิปการแถลงข่าว