อินไซต์เศรษฐกิจ

ทำไม 'แชร์ลูกโซ่' ไม่เคยหมดไปจากสังคมไทย ?

24 ส.ค. 65
ทำไม 'แชร์ลูกโซ่' ไม่เคยหมดไปจากสังคมไทย ?
ไฮไลท์ Highlight
“ใครมาชวนว่าได้ผลตอบแทน 10 % 15% 20 % โดยไม่ต้องทำอะไรเลย ให้จำไว้เสมอว่า มีโอกาสโดนหลอก และคนที่จะสามารถนำเงินของเราไปลงทุนต่อได้จะไม่ใช่บัญชีของบุคคลธรรมดา ก่อนโอนเงินต้องตรวจสอบให้แน่ชัด ซึ่งปัจจุบันทั้งเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีรายชื่อผู้ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับเงินตรา  ส่วนถ้าเป็น หุ้น หรือ คริปโทเคอร์เรนซี่สามารถตรวจสอบผู้ได้รับอนุญาต จากเว็บไซต์ของ กลต. ได้เช่นกัน  อย่าไปลงทุนกับคนที่ไม่มีใบอนุญาต นอกจากเสี่ยงโดนหลอกแล้ว  อาจไม่มีกฏหมายมาคุ้มครองให้เราได้เงินกลับมาเต็มเม็ดเต็มหน่วยอีกด้วย”    “แชร์ลูกโซ่ไม่เคยหมดไปจากสังคมไทย และเชื่อว่าอนาคตจะเกิดขึ้นอีก  สาเหตุสำคัญนอกจากจูงใจด้วยผลตอบแทนที่สูงเกินจริงแล้วยังหลงเชื่อ คนใกล้ชิด หรือคนที่ดูน่าเชื่อถือในสังคม มาชวนให้ไปลงทุน  พลาดเพราะความไว้ใจ”

ไมว่าจะผ่านมากี่สิบปี “แชร์ลูกโซ่” ก็ไม่เคยหมดไปจากสังคมไทย แถมขนาดของวงเงินยังเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ  กรณี Forex 3 D มีวงเงินสูงถึง  40,000 ล้านบาท ใหญ่กว่าแชร์ลูกโซ่ในตำนาน อย่างแชร์แม่ชม้อย เมื่อกว่า 40 ปีที่แล้วเสียอีก SPOTLIGHT พาย้อนไปดูคดีแชน์ลูกโว่ดังในตำนาน และร่วมกันวิเคราะห์ว่า “ทำไมแชร์ลูกโซ่ ไม่เคยหมดไปจากสังคมไทย” ?

พ.ศ. 2520 -  2528  แชร์แม่ชม้อย

แชร์ลูกโซ่


แชร์แม่ชม้อยหลอกลวงให้คนลงทุนเกี่ยวกับน้ำมัน โดยผู้ลงทุนต้องใช้เงินราว 160,000 บาทในการซื้อรถขนน้ำมัน  โดยจะได้ดอกเบี้ยราว 6.5 %ต่อ 15 วันหรือ 1เดือน  แชร์แม่ชม้อย สามารถระดมเงินจากประชาชนได้ถึง 8 หมื่นกว่าคน วงเงินมากถึง 4 พันล้านบาท  ทั้งที่แท้จริงแล้ว ชม้อย ทิพย์โส  ไม่เคยนำเงินไปลงทุนในธุรกิจน้ำมันจริงๆ เพียงเอาเงินคนใหม่ไปจ่ายให้คนเก่า จนสุดท้ายก็หมุนไม่ทัน เกิดทางตันจนวงแตกเพราะมีคนเริ่มไม่ได้รับเงิน  นำมาสู่การตรวจสอบและจับกุม นางชม้อยกับพวกถูกตัดสินจำคุก 154,005 ปี แม้นจะถูกสั่งจำคุกเป็นแสนปี แต่ตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 ก็กำหนดการจำคุกสูงสุดได้ไม่เกิน 20 ปี  แถมเวลาติดจริงนางชม้อยก็ติดคุกไม่ถึง 20 ปีก็ได้รับการปล่อยตัวออกมาแล้ว

พ.ศ. 2528 แชร์ชาร์เตอร์

แชร์ลูกโซ่


หลังจากแชร์แม่ชม้อยโดนปราบไปก็มีแชร์ชาร์เตอร์  ของนายเอกยุทธ อัญชันบุตร เจ้าของบริษัท ชาร์เตอร์ อินเวสต์เมนท์ จำกัด ชักชวนให้คนนำเงินไปลงทุนซื้อสินค้าโภคภัณฑ์และเงินตราต่างประเทศมาเก็งกำไร ให้ผลตอบแทนถึงเดือนละ 9% สูงกว่าแชร์แม่ชม้อยถึง 2.5 %  มีผู้เสียหายนับพันคนแห่กันมาลงทุน แต่ภายหลังจากที่รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ออกพระราชบัญญัติการกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527  แชร์ชาร์เตอร์ก็โดนปราบปรามไปด้วย บวกกับมีข่าวเช็คเด้งของนายเอกยุทธ ยิ่งสสร้างความสั่นคลอน เหตุการณ์คคล้ายกันคือ สุดท้ายถึงทางตันจ่ายเงินให้ลูกแชร์ไม่ได้ ต้องถูกฟ้องร้องดำเนินคดี จนนายเอกยุทธหลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ  และทางการต้องอายัดทรัพย์สินของนายเอกยุทธ อัญชันบุตร นำออกขายทอดตลาดเพื่อคืนผู้เสียหาย

พ.ศ 2534 แชร์บลิสเชอร์ 

แชร์ลูกโซ่



เป็นรูปแบบแชร์ลูกโซ่ที่มีสินค้าคือ ธุรกิจจัดสรรวันพักผ่อน หรือไทม์แชริ่ง  มีการเปิดรับสมาชิกโดยคิดค่าสมัคร 30,000 บาท แลกกับสิทธิ์เข้าพักในโรงแรมต่างๆ 4 วัน 4 คืนต่อปี นานถึง 20 ปี ยังไม่พอหากหาสมาชิกใหม่เข้ามา จะได้ค่าตอบแทนอีก 20%  กรณีแชร์บลิสเชอร์ถูกทางการจับตาอย่างใกช้ชิด จนกระทั่งปี 2537 มีคนร้องเรียนว่าไม่ได้รับเงินตามที่ตกลงไว้ วงแชร์เริ่มสะดุด ทางการจึงรวบรวมหลักฐานและดำเนินคดีในที่สุด ประมินว่าคดีนี้มีผู้เสียหายกว่า 2หมื่นราย มูลค่าความเสียหายกว่า 800 ล้านบาท

แชร์ลูกโซ่ “มุกเดิม” แต่หลอกคนได้ทุกยุค ทุกสมัย 

จาก 3 กรณีคดีแชร์ลูกโซ่ในตำนาน และที่จริงยังมีอีกหลายสินค้าที่ถูกนำมาเป็นข้ออ้างของแชร์ลูกโซ่ เช่นขายข้าวสาร เครื่องสำอาง เที่ยวญี่ปุ่น คริปโทเคอร์เรนซี่ และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งปัจจยสำคัญที่สุดคือ “ผลตอบแทนสูง”

“ผลตอบแทนสูง” คือหัวใจสำคัญที่สร้างความอยากได้ ความโลภ ให้กับทุกคนหากไม่มีความรู้ก็จะหลงเชื่ออย่างง่าย ๆ จะเห็นได้ว่าแชร์ลูกโซ่  3 กรณีข้างต้นให้ผลตอบแทนต่อเดือนประมาณ 10 % ปีนึงเป็น 100% ซึ่งสูงกว่าการลงทุนทั่วไปเช่น เงินฝาก หุ้น ทองคำ  ซึ่งผู้บริหาร บริษัทหลักทรัพย์พาย กวี ชูกิจเกษม บอกว่า คำว่า High Risk High Return  หรือ ความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนสูง เป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่สำหรับแชร์ลูกโซ่ ความเสี่ยงสูง และมีโอกาสที่จะไม่ได้ผลตอบแทนคืนกลับมาเลยด้วยซ้ำ เพราะเจ้าของวงแชร์ ไม่ได้มีการนำเงินไปลงทุนต่อจริง และต่อให้ลงทุนต่อก็ไม่มีการลงทุนไหนที่จะรับประกันผลตอบแทนสูงเท่านี้ โดยที่ไม่มีความเสี่ยงจะเสียเงินต้น    


“ใครมาชวนว่าได้ผลตอบแทน 10 % 15% 20 % โดยไม่ต้องทำอะไรเลย ให้จำไว้เสมอว่า มีโอกาสโดนหลอก และคนที่จะสามารถนำเงินของเราไปลงทุนต่อได้จะไม่ใช่บัญชีของบุคคลธรรมดา ก่อนโอนเงินต้องตรวจสอบให้แน่ชัด ซึ่งปัจจุบันทั้งเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีรายชื่อผู้ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับเงินตรา  ส่วนถ้าเป็น หุ้น หรือ คริปโทเคอร์เรนซี่สามารถตรวจสอบผู้ได้รับอนุญาต จากเว็บไซต์ของ กลต. ได้เช่นกัน  อย่าไปลงทุนกับคนที่ไม่มีใบอนุญาต นอกจากเสี่ยงโดนหลอกแล้ว  อาจไม่มีกฏหมายมาคุ้มครองให้เราได้เงินกลับมาเต็มเม็ดเต็มหน่วยอีกด้วย”   

“แชร์ลูกโซ่ไม่เคยหมดไปจากสังคมไทย และเชื่อว่าอนาคตจะเกิดขึ้นอีก  สาเหตุสำคัญนอกจากจูงใจด้วยผลตอบแทนที่สูงเกินจริงแล้วยังหลงเชื่อ คนใกล้ชิด หรือคนที่ดูน่าเชื่อถือในสังคม มาชวนให้ไปลงทุน  พลาดเพราะความไว้ใจ”

 

กวี ชูกิจเกษม


คุณกวี กล่าวไว้ว่า หลายคนไม่ใช่ไม่รู้ ว่าผลตอบแทนสูงๆแบบนี้เสี่ยงจะเป็นแชร์ลูกโซ่ แต่หลายครั้งคนที่มาชวนลงทุน เป็นคนใกล้ชิด เป็นเพื่อนสนิท พี่สนิท ไว้ใจกันมา  คิดว่าเค้าไม่หลอกเรา สุดท้ายโดนหลอกทั้งคู่ .หรือบางที เจ้าของวงแชร์มีหน้าตาในสังคม เป็นคนมีชื่อเสียง อย่างกรณี แชร์ชาร์เตอร์  สมัยเอกยุทธ อัญชันบุตร ก็เป็นบุคคลที่มีความรู้ทางการเงิน คนที่นำเงินไปลงทุนก็เป็นคนมีฐานะทางสังคม ก็ยังถูกหลอกได้

ความรู้ ความเข้าใจ คือหัวใจสำคัญของการลงทุน

สุดท้ายแล้ว ความรู้ คือสิ่งสำคัญที่สุดก่อนที่เราจะคิดลงทุน การลงทุนที่คำนึงถึงผลตอบแทนสูงไม่ใช่เรื่องผิด แต่ต้องรู้จักฝั่งของความเสี่ยงด้วย ต้องคิดกลับทางว่าถ้าเกิดขาดทุนจะรับได้หรือไม่  ขณะเดียวกัน อยากให้ทางการ มีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความรู้เรื่องการลงทุนอย่างจริงจัง เพื่อให้คนมีความตระหนักรู้มากกว่านี้  ที่สำคัญ บทลงโทษของคนที่กระทำความผิดหลอกลวงประชาชน ควรได้รับโทษที่จริงจัง ไม่เช่นนั้น ก็อาจจะเกิดเหตุการณ์แชร์ลูกโซ่ขึ้นอีกในอนาคตแน่นอน  

ดูคลิปสัมภาษณ์ คูณกวี รายการ Spotlight Exclusive วันที่ 23 ส.ค.2565

 

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT