อินไซต์เศรษฐกิจ

เตือนเศรษฐกิจไทยเข้าสู่จักรวาลคู่ขนาน ดอกเบี้ย เงินเฟ้อ โลกาภิวัตน์

3 ส.ค. 65
เตือนเศรษฐกิจไทยเข้าสู่จักรวาลคู่ขนาน  ดอกเบี้ย เงินเฟ้อ โลกาภิวัตน์

กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร จัดงานแถลงข่าว วิเคราะห์หัวข้อ “เศรษฐกิจไทยในจักรวาลคู่ขนาน: ดอกเบี้ย เงินเฟ้อ โลกาภิวัตน์” โดยมี ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ KKP Research บริษัทหลักทรัพย์(บล.) เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ให้ข้อมูลว่า สถานการณ์แวดล้อมด้านเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาหลังจากเกิดสถานการณ์โควิด-19 ได้เปลี่ยนไปอย่างมากจากหน้ามือเป็นหลังมือ จึงมีกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งของโลกรวมถึงไทย จนอาจเปรียบเทียบได้กับการเข้าไปอยู่ในอีกจักรวาลคู่ขนาน หรือ Multiverse ซึ่งท้าทายต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยที่กำลังอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว โดยเกิดจาก 3 ประเด็น

 

ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ KKP Research

 

ประเด็นแรก หลังเกิดสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ประเทศพัฒนาแล้วเริ่มมีการย้ายดึงฐานการผลิตในต่างประเทศที่ตัวลงทุนกลับมาในประเทศตัวเองหรือมาอยู่ในประเทศที่ใกล้เคียงกับประเทศตัวเองมากขึ้นเพื่อความมั่นคงของสินค้ากับซัพพลายเชนที่มีน้ำหนักมากกว่าเรื่อง Efficiency หรือการมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำสุดแล้ว เปลี่ยนแปลงจากอดดีตในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา

 

ด้วยกระแสโลกาภิวัตน์ที่ได้เปลี่ยนไปมีการเคลื่อนย้ายห่วงโซ่อุปทานการผลิต ส่งผลให้ประเทศจีนกลายเป็นผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ของโลก ขณะที่มูลค่าการค้าของโลกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอย่างมากในตลอดช่วง 30-40 ปีที่ผ่านมา แต่ในช่วง 5-10 ปีหลังที่ผ่านมาเริ่มมีอัตราการเติบโตที่ช้าลง โดยมีรายได้ของโลกต่อมูลค่าการค้าเริ่มนิ่ง อีกทั้งเริ่มเห็นความขัดแย้งในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ในหลายๆ ที่ของโลก

 

 ประเด็นที่สอง เริ่มเห็นความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์มากขึ้นเรื่อยๆ หลังยุคสงครามเย็นที่ยังไม่มีสงครามที่รุนแรง จนเกิดสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน โดยถือว่าเป็นสงครามที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา มีแนวโน้มความขัดแย้งระหว่างรัฐเพิ่มมากขึ้นซึ่งล่าสุดก็มีความขัดแย้งเกิดขึ้นอีกระหว่าง สหรัฐ-จีน-ไต้หวัน ที่มีความตรึงเครียดจากกรณที่ แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ หลังเดินทางถึงไต้หวัน ขณะที่จีนมีท่าทีไม่พอใจ ทำให้เริ่มกังวลว่าอาจมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจนนำไปความวุ่นวานที่มากขึ้นหรือไม่

 

ประเด็นที่สาม ตัวเลขเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเร่งสูงขึ้น เปลี่ยนแปลงจากเดิมซึ่งนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 หรือประมาณ 30-40 ปีที่ผ่านมา ที่ไม่เคยมีปัญหานี้และยังกังวลว่าช่วงที่ผ่านมาเงินเฟ้ออาจต่ำเกินจนทำให้เป็นอุปสรรคต่อเศรษฐกิจให้ทำงานได้ค่อนข้างยาก แต่หลังเกิดโควิด-19 เกิดขึ้น ทำให้ปัญหา supply chain disruption รวมถึงความมั่นคงด้านพลังงานจากดีมานด์ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงปัญหาสงครามที่กระทบซัพพลายให้หายไปด้วยทำให้ราคาพลังงานแพงขึ้น กระทบต่อเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลต่างๆ ของโลกจำเป็นต้องแตะเบรกเพื่อความร้อนแรงของเศรษฐกิจ

 

 ส่งผลให้เริ่มเห็นทิศทางดอกเบี้ยเริ่มขยับกลับมาเป็นขาขึ้น เปลี่ยนแปลงจากความคุ้นชินในช่วง 30-40 ปีที่ผ่านมาซึ่งดอกเบี้ยของโลกอยู่ในระดับต่ำเปรียบเทียบตัวเลขของธนาคารกลางสหรัฐเฟด(เฟด) ที่เคยมีดอกเบี้ยนโยบายสูงสุดถึง 10% ในอดีต ปัจจุบันลงมาอยู่ประมาณ 1% แต่ด้วยแรงกดดันของเงินเฟ้อที่กำลังสูงขึ้นจะกลับมาเปลี่ยนให้ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยจากนี้ไปจะเข้าสู่โหมดขาขึ้นด้วยและสูงขึ้นด้วย ซึ่งนับเป็นความท้าทายของเศรษฐกิจโลกและไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

 

โดยทั้งหมดถือเป็นความท้าทายที่สำคัญจะสังเกตุว่าประเด็นทั้งหมดดังกล่าวที่เกิดขึ้นในช่วงประมาณ 3-4 ปีที่ผ่านนี้เท่านั้น แต่ทำให้เหมือนว่าสภาวะสิ่งแวดล้อมของโลกที่เรากำลังเผชิญอยู่ปัจจุบันนี้หลุดมาอยู่ในจักรวาลคู่ขนานแล้ว

 

 

 

 

ความเสี่ยงสำคัญของเศรษฐกิจไทยระยะสั้นมี 4 ประเด็นใหญ่

ความเสี่ยงเศรษฐกิจไทย

 

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งปีหลังปี 2565 ต่อเนื่องถึงปี 2566 แม้ว่าเศรษฐกิจของไทยกำลังอยู่ในช่วงของการค่อยๆ ฟื้นตัวจากฐานที่ต่ำมาก โดยปี 2565 ประเมินว่าจีดีพีจะเติบโตได้ 3.3% จากการฟื้นตัวของการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ การขยายตัวของการส่งออกที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก การท่องเที่ยวที่กลับมามากกว่าที่คาด และรายได้ภาคเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้นตามราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย มีความน่ากังวลหลายประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นตัวที่ไม่ทั่วถึงอย่างชัดเจน และหลายภาคเศรษฐกิจของไทยถือเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่การฟื้นตัวยังไม่กลับไประดับก่อนเกิดปัญหาโควิด

 

1. เศรษฐกิจไทยกำลังเจอความเสี่ยงจากแรงกดดันเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่ปรับขึ้นตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกับทั่วโลก ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยค่อนข้างช้าและเปราะบางยิ่งได้รับผลกระทบเพิ่มมากขึ้นไปอีก โดยเฉพาะในกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้น้อยจะได้ได้รับผลกระทบมาก ขณะที่ภาคธุรกิจเอกชนยังไม่สามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นไปยังราคาสินค้าที่ขายได้เต็มที่ เพราะภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวจึงมีผลกระทบต่อกำไรของธุรกิจ

 

2. แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยไทยที่กำลังปรับตัวเป็นขาขึ้นตามแรงกดดันเงินเฟ้อ โดยในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) วันที่ 10 ส.ค. 2565 นี้ คาดว่าจะเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% หรือ 0.50% เป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลกเพื่อใช้แตะเบรกการเร่งตัวของเงินเฟ้อที่กำลังเป็นปัญหามากขึ้นในมุมมองของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่จะเป็นปัจจัยที่จะทำให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้นซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจในการบริโภคและการลงทุนได้รับผลกระทบด้วย รวมถึงจะเป็นปัจจัยเข้ามาซ้ำเติมฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจภาคครัวเรือนและธุรกิจที่กำลังมีฐานะที่กำลังมีปัญหาอยู่แล้ว



3. ปัจจัยภายจากความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกอาจจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวหรือถดถอย(Recession)ในระยะเวลาข้างหน้าจนกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยถือเป็นประเด็นที่มีผลกระทบมากที่สุดและน่ากังวล โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่ป็นประเทศคู่ค้าสำคัฐของไทย ได้แก่ จีน, สหรัฐ, ญี่ปุ่น และยุโรป มีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ในช่วงปลายปีนี้หรือต้นปี 2566 จากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในของแต่ละประเทศ รวมถึงปัญเงินเฟ้อและต้นทุนพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นจากผลกระทบกรณีที่ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยซึ่งมีสัดส่วนที่มากกว่า 50% ของการส่งออกทั้งหมด อีกทั้งจะมีผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวของไทยด้วย


4.ความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ซึ่งประเมินสถานการณ์ได้ยาก ทั้งกรณีสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย แต่มีผลกระทบค่อนข้างมากต่อต้นทุนและราคาพลังงานที่ทำราคาแพงขึ้น รวมถึงล่าสุดมีความขัดแย้งในภูมิภาคทะเลจีนใต้ที่มีประเทศที่เกี่ยวข้องทั้ง สหรัฐ,ไต้หวัน และจีน

 

ส่วนกรณีล่าสุดที่มีความขัดแย้งในภูมิภาคทะเลจีนใต้ที่มีประเทศที่เกี่ยวข้องทั้ง สหรัฐ,ไต้หวัน และจีน ถือเป็นประเด็นการเพิ่มความแน่นอนให้เพิ่มสูงขึ้นอีก แต่ยังประเมินได้ยากว่าสถานการณ์จะเดินหน้าถึงเกิดภาวะสงครามหรือไม่ แต่มีความกังวลว่ามีความเสี่ยงที่เห็นการเผชิญหน้ากันมากขึ้น

 

โดยเฉพาะในฝั่งจีนกับสหรัฐที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมากในด้านเศรษฐกิจและการลงทุนเป็นคู่ค้าสำคัญระหว่างกันมีการซื้อขายสินค้ามูลค่าสูงถึงประมาณ 5 แสนล้านบาทต่อปี ขณะที่ฐานการผลิตสินค้าของสหรัฐมีการลงทุนในจีนเป็นมูลค่ามหาศาล ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงต่อความไม่แน่นอนในความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนเพิ่มขึ้นทั้งใน สหรัฐ,ไต้หวัน และจีน

 

อย่างไรก็ดีทั้งจีนและสหรัฐ ทั้ง 2 ประเทศถือเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยด้วย โดยในอนาคตต้องจับตาว่าไทยจะต้องเลือกข้างหรือไม่ แต่หากประเมินผลบวกต่อไทยในเบื้องต้นที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตก็มีโอกาสที่ฐานการผลิตของสหรัฐในจีนจะย้ายมายังไทยหรืออาจมีการสั่งซื้อจากไทยแทนไต้หวัน


“ช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา เป็นช่วงที่ดอกเบี้ยแนวโน้มปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากนี้ภาวะดอกเบี้ยต่ำแบบนี้กำลังจะหมดไป แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังมีความเปราะบาง และไม่ทั่วถึง หลายภาคส่วนยังไม่กลับไปจุดเดิมก่อนวิกฤตโควิด และภาคครัวเรือนและธุรกิจยังคงได้รับผลกระทบและมีปัญหาในการจ่ายคืนหนี้ คำถามสำคัญคือเราจะวางแผนกันอย่างไรในโลกใบใหม่นี้” ดร.พิพัฒน์ กล่าว


สำหรับในระยะยาวเศรษฐกิจไทยยังเผชิญความท้าทายเชิงโครงสร้างหลายประการ ที่ทำให้เศรษฐกิจไทยโตช้าลงและมีความเสี่ยงที่จะมีความสามารถในการแข่งขันลดลง ในขณะที่ปัจจัยแวดล้อม เช่น พัฒนาด้านเทคโนโลยี กำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ทางออกสำคัญของเศรษฐกิจไทยในโลกยุคใหม่ คือ การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งรวมไปถึงการสนับสนุนการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา การยกระดับคุณภาพการศึกษาและทักษะแรงงาน การเปิดเสรีแรงงานและบริการ การลดการผูกขาด ตลอดจนการเพิ่มคุณภาพสถาบันเศรษฐกิจและการเมืองเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านโอกาส

 

 

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT