spotlight
อินไซต์เศรษฐกิจ

คำเตือน! "วิกฤติอาหารโลก" กระทบประเทศไทยอย่างไร?

25 เม.ย. 65
คำเตือน! "วิกฤติอาหารโลก" กระทบประเทศไทยอย่างไร?
ไฮไลท์ Highlight
“เราเคยบอกว่า ประเทศไทย  เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรอาหาร แต่ผลพวงจากวิกฤติอาหารโลกเราจะพูดว่า ไทยเป็นอู่ข่าวอู่น้ำ ได้แบบไม่เต็มปากแล้ว”      ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้สัมภาษณ์กับ SPOTLIGHT เตือนถึง ”วิกฤติอาหารโลก” ที่กำลังเกิดขึ้นและอาจจะทวีความรุนแรงมากขึ้น  

คำเตือน วิกฤติอาหารโลก กระทบประเทศไทยอย่างไร?

 

“เราเคยบอกว่า ประเทศไทย  เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรอาหาร แต่ผลพวงจากวิกฤติอาหารโลกเราจะพูดว่า ไทยเป็นอู่ข่าวอู่น้ำ ได้แบบไม่เต็มปากแล้ว”     

ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้สัมภาษณ์กับ SPOTLIGHT เตือนถึง ”วิกฤติอาหารโลก” ที่กำลังเกิดขึ้นและอาจจะทวีความรุนแรงมากขึ้น  

 

คำว่า “วิกฤติอาหารโลก”   Global Food Crisis  ในที่นี้ไม่ได้มีความหมายว่า อาหารขาดแคลนเพียงอย่างเดียวแต่มันยังรวมถึงความปั่นป่วนในห่วงโซ่การผลิตอาหารที่กำลังเกิดขึ้นอีกด้วยซึ่งมีสาเหตุหลักๆดังนี้  

 

สงครามรัสเซีย – ยูเครน

สหประชาชาติ , ธนาคารโลก , กองทุนการเงินระหว่างประเทศ  หรือแม้แต่รัฐมนตรีคลังของสหรัฐฯ ออกมาเตือนเรื่องวิกฤติอาหารโลกในเวลาไล่เลี่ยกัน  และมองตรงกันว่า สถานการณ์สงครามรัสเซีย ยูเครน เป็นตัวเร่งให้ปัญหาอาหารของโลกรุนแรงมากยิ่งขึ้น   เดวิด บีสลีย์ ผู้อำนวยการบริหารของโครงการอาหารโลก (World Food Program) สหประชาชาติ  ถึงกับใช้คำว่า  การรุกรานยูเครนของรัสเซียอาจทำให้เกิดวิกฤตอาหารโลกครั้งร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง

นั่นเป็นเพราะ ทั้งยูเครนและรัสเซีย ต่างเป็นผู้ผลิตอาหารที่สำคัญของโลก  นั่นคือ ผลิตข้าวสาลีคิดรวมกันเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณข้าวสาลีทั่วโลก /  ผลิตข้าวโพดรวมกัน 20 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณทั่วโลก / ผลิตน้ำมันเมล็ดทานตะวันรวมกันราว 75 – 90 เปอร์เซ็นต์จากปริมาณทั่วโลก  / และยังเป็นประเทศผู้ส่งออกพลังงาน และ ปุ๋ย รายใหญ่ของโลก อีกด้วย  สงครามที่ยืดเยื้อยาวนานเข้าสู่เดือนที่ 3 แล้วจึงเป็นตัวเร่งให้ราคาพลังงานพุ่งขึ้นและมันคือต้นทุนการผลิตที่สำคัญ

 

ปูติน ปธน.รัสเซียลงพื้นที่เพาะปลูกข้าวสาลีในประเทศ
ภาพจาก AFP ปธน.รัสเซียลงพื้นที่เพาะปลูกข้าวสาลีในประเทศ ปี 2009

 

 

ผลกระทบจาก วิกฤติอาหารโลก 

  • ทั่วโลกกำลังเผขิญกับต้นทุนด้านพลังงานที่สูงขึ้น

ยิ่งประเทศไหนพึ่งพาการนำเข้าก็เจ็บหนักกว่า ประเทศที่มีแหล่งพลังงานของตัวเอง

 

  • ราคาอาหารพุ่งขึ้นตามไปด้วยเพราะวัตถุดิบที่มาจากรัสเซีย ยูเครน คือ ต้นทางของการทำการเกษตรและปศุสัตว์ที่สำคัญ  

ทั้ง 2 ประเทศ มีผลผลิตที่เป็นต้นทางจริงๆตั้งแต่ธัญพืช ปุ๋ย และ อาหารสัตว์  

 

  •  ประเทศที่พึ่งพาผลผลิตจากรัสเซีย ยูเครน โดยตรง ต้องเผชิญกับความยากลำบาก หากมีการคว่ำบาตรรัสเซีย ตัวอย่างเช่น อียิปต์และเลบานอนนำเข้าธัญพืชกว่า 80 เปอร์เซ็นต์จากยูเครน หรือ บังคลาเทศ  นำเข้าข้าวสาลีเกือบครึ่งหนึ่งที่มีการบริโภคในประเทศมาจากยูเครนและรัสเซีย

เดวิด บีสลีย์ ผู้อำนวยการบริหารของโครงการอาหารโลก (World Food Program) สหประชาชาติ

เดวิด บีสลีย์

ผอ.โครงการอาหารโลก (World Food Program) สหประชาชาติ



เดวิด บีสลีย์ ผู้อำนวยการบริหารของโครงการอาหารโลก (World Food Program) สหประชาชาติ เคยแสดงความเห็นก่อนหน้านี้ว่า  “หากสงครามยังดำเนินต่อไป จะทำให้เกิด หายนะซ้ำไปอีก  ประเทศต่างๆ จะเกิดภาวะข้าวยากหมากแพง และขาดเสถียรภาพ สิ่งสุดท้ายที่ทางสหประชาชาติไม่ต้องการทำคือ “นำอาหารจากเด็กที่หิวโหย ไปให้กับเด็กที่ขาดแคลนอาหาร”

 

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ คือสาเหตุเริ่มต้น

ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ประเด็นสงครามระหว่างรัสเซีย ยูเครน เป็นเพียงตัวเร่งให้สถานการณ์วิกฤติอาหารรุนแรงขึ้น แต่แท้จริงแล้ว จุดเริ่มต้นของวิกฤติอาหารโลก มาจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่นับวันปัญหานี้ เร่งตัวขึ้น และทวีความรุนแรงมากขึ้นจนส่งผลต่อผลิตอาหารทั่วโลก เช่นปรากฏการณ์  เอลนีโญ และ ลานีญา   


ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาพจากคณะเศรษศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย




วิกฤติอาหารโลก  กระทบประเทศไทยอย่างไร

“เราเคยบอกว่า ประเทศไทย  เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรอาหาร แต่ผลพวงจากวิกฤติอาหารโลกเราจะพูดว่า ไทยเป็นอู่ข่าวอู่น้ำ ได้แบบไม่เต็มปากแล้ว”   ที่พูดเช่นนี้เพราะประเทศไทยขาดการปฏิรูปภาคการเกษตรมานานมาก  จุดเปลี่ยนที่สำคัญเกิดขึ้นในสมัยรัชกาล ที่ 5  ในยุคนั้นมีการทำคลองชลประทานใหม่ เช่นคลองรังสิตประยูรศักดิ์  เป็นต้น ซึ่งนั่นเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ผลลิตข้าวไทยในเขตพื้นที่ภาคกลางมีความยิ่งใหญ่ขึ้นมา  

 

แต่เมื่อไม่มีการปฏิรูปมาเป็นเวลานาน ปัญหาทีเกิดขึ้นระดับโลก และ ภายในประเทศเองจึงกลายเป็นความผันผวนของสินค้าเกษตรไทย เมื่อต้องเจอทั้งต้นทุนที่สูงขึ้นจากสถานการณ์รัสเซีย ยูเครน   , การจัดการสินค้าเกษตร ที่ต้องรับมือกับปัญหาโควิด 19  เช่น การส่งออกทุเรียนไปจีนที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการคุมเข้มจากจีน ดังนั้นสินค้าเกษตรของไทยจึงมีทั้งราคาพุ่งสูง และ ราคาตกต่ำ ในเวลาเดียวกัน

 

  • หมวดโปรตีนราคาพุ่ง

หมวดเนื้อสัตว์ หมู เป็ด ไก่ ไข่ โปรตีนจากเนื้อสัตว์ ราคาสูง จากต้นทุนอาหารสัตว์ และต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น

 

หมูแพง

 

  • หมวดผลไม้ราคาตก 

โควิดทำให้ผลิตอาจจะต้องเจอปัญหาเรื่องมาตรการ สินค้าในประเทศอาจล้นตลาด ราคาตกต่ำ เช่น มะม่วง , สับปะรด  และอาจจะเกิดขึ้นกับ ทุเรียน  ที่ต้องเจอกับมาตรการคุมเข้มจากจีน

 

มะม่วงราคาตก

 

 

ทุเรียนไทยส่งไปจีน

 

  •  ผลผลิตทางการเกษตรของประเทศไทยหลายรายการ มีปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง

หรือ บางชนิดก็ลลดลงเรื่อยๆอย่างชัดเจน  ตัวอย่างเช่น สับปะรดโรงงาน มีปริมาณ ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจบ่งชี้ ผลผลิตทางการเกษตรของประเทศไทยหลายรายการ มีปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง หรือ บางชนิดก็ลลดลงเรื่อยๆอย่างชัดเจน  ตัวอย่างเช่น สับปะรดโรงงาน มีปริมาณ

ปี 2560 อยู่ที่  2,328,378 ตัน

ปี 2261 อยู่ที่   2,350,887 ตัน

ปี 2562 อยู่ที่  1,825,257 ตัน

ปี 2563 อยู่ที่ 1,680,884 ตัน  สามรถตรวจผลผลิตอื่นๆได้ที่เว็บไซต์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

 

 

ในอีกมิติของประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม คือ เรื่องมาตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) คือ การกำหนดราคาสินค้านำเข้าบางประเภทป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเข้ามาในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งหากประเทศไทยไม่ปฏิรูปการเกษตรไทย อาจจะทำให้สูญเสียโอกาสทางการแข่งขัน ส่งออกไปได้ยากขึ้น และอาจกระทบกับราคาในที่สุด

 

สรุปได้ว่า วิกฤติอาหารในประเทศไทย แม้จะไม่ใช่การขาดแคลนอาหาร แต่อาหารบางอย่างแพง! อาหารบางอย่างถูก! ซึ่งฟังแล้วไม่ได้เป็นผลดีต่อภาคการเกษตรไทยเลย  ดังนั้นนี่คือช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของภาคเกษตรไทย ที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงหลายด้าน หากเราไม่เตรียมแผนรับมือทั้งระยะสั้น และระยะยาว อนาคตเกษตรกรไทยยังเหนื่อยหนักอย่างแน่นอน 

 

 ที่มา  reuters

 

 

 

 

 

 

 

 

 

advertisement

SPOTLIGHT