สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ออกมาตรการช่วยเหลือสำหรับพื้นที่ประสบเหตุวาตภัยและอุทกภัย ระยะเวลาประสบเหตุ 6 เดือน ตั้งแต่ช่วงเดือน ตุลาคม 2567 - มีนาคม 2568 สำหรับนายจ้าง ผู้ประกอบการ และผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม มาตรา 33 และมาตรา 39 รวมพื้นที่ 55 จังหวัด ด้วยมาตรการ "ปรับลดเงินส่งสมทบประกันสังคม"
หลักเกณฑ์ปรับลดกี่บาท ?
- ผู้ประกันตน มาตรา 33 และนายจ้าง จาก 5% เหลือ 3%
- ผู้ประกันตน มาตรา 39 จาก 432 บาท เหลือ 283 บาท
ครอบคลุม 55 จังหวัด มีที่ไหนบ้าง ?
1. กระบี่
2. กาญจนบุรี
3. กาฬสินธุ์
4. กำแพงเพชร
5. ขอนแก่น
6. ฉะเชิงเทรา
7. ชลบุรี
8. ชัยนาท
9. ชัยภูมิ
10. ชุมพร
11. เชียงราย
12. เชียงใหม่
13. ตรัง
14. ตาก
15. นครนายก
16. นครปฐม
17. นครพนม
18. นครราชสีมา
19. นครศรีธรรมราช
20. นครสวรรค์
21. น่าน
22. บึงกาฬ
23. ปราจีนบุรี
24. พระนครศรีอยุธยา
25. พะเยา
26. พังงา
27. พิจิตร
28. พิษณุโลก
29. เพชรบูรณ์
30. แพร่
31. ภูเก็ต
32. มหาสารคาม
33. มุกดาหาร
34. แม่ฮ่องสอน
35. ยโสธร
36. ยะลา
37. ร้อยเอ็ด
38. ระยอง
39. ลำปาง
40. ลำพูน
41. เลย
42. สงขลา
43. สตูล
44. สมุทรสาคร
45. สระบุรี
46. สิงห์บุรี
47. สุโขทัย
48. สุราษฎร์ธานี
49. สุรินทร์
50. หนองคาย
51. หนองบัวลำภู
52. อ่างทอง
53. อุดรธานี
54. อุตรดิตถ์
55. อุทัยธานี
แล้วต้องลงทะเบียนขอรับเงินไหม ?
ผู้ประกันตนมาตรา 33 ไม่ต้องลงทะเบียน เนื่องจากนายจ้างที่มีสถานประกอบการในพื้นที่ 55 จังหวัด จะเป็นผู้ดำเนินการยื่นเรื่องให้ ระยะเวลาในการได้รับเงินคืนขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่นายจ้างยื่นเรื่อง สามารถติดต่อได้ที่สถานประกอบการต้นสังกัด
ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ที่จ่ายเงินสมทบเกิน จะได้จำนวนเงินที่ได้คืนสูงสุดไม่เกิน 900 บาทต่อคน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับฐานเงินเดือนและยอดเงินที่จ่ายเกินจริงในช่วงเวลานั้น
สำนักงานประกันสังคม เริ่มดำเนินการทยอย "โอนเงินส่วนต่างที่จ่ายเกิน" กลับคืนให้ผู้ประกันตนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2568 เป็นต้นไป เฉพาะพื้นที่ 55 จังหวัดตามเงื่อนไขที่ได้รับผลกระทบวาตภัยและอุทกภัย
ออกจากระบบประกันสังคมก่อนช่วงภัยพบัติ มีสิทธิ์ได้รับเงิน ?
หากผู้ประกันตนหลุดจากระบบประกันสังคม เช่น ลาออกจากงาน และไม่ได้เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือมาตรา 39 แล้ว ณ วันที่เกิดภัยพิบัติ จะไม่มีสิทธิ์รับเงินเยียวยาภัยพิบัติ 900 บาท
Advertisement