Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ห้ามจับ ห้ามดึงกุญแจ ผิดกฎจราจรเล็กน้อย แค่ปรับเป็นพินัยไม่ใช่อาญา

ห้ามจับ ห้ามดึงกุญแจ ผิดกฎจราจรเล็กน้อย แค่ปรับเป็นพินัยไม่ใช่อาญา

7 พ.ค. 68
14:46 น.
แชร์

หลายคนอาจเคยเจอสถานการณ์ที่ทำผิดเล็กน้อย เช่น ขับรถไม่สวมหมวกนิรภัย หรือจอดรถในที่ห้ามจอด แล้วถูกตำรวจเรียกและออกใบสั่งให้ไปเสียค่าปรับ กรณีแบบนี้ไม่ได้ถือว่าเป็นคดีอาญา แต่เป็นการ “ปรับเป็นพินัย” ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565

 

ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อจัดการกับความผิดเล็กน้อยโดยไม่ต้องนำเข้าสู่กระบวนการศาล ช่วยลดภาระของตำรวจและศาล และทำให้ประชาชนไม่ต้องมีประวัติอาชญากรรมเพียงเพราะความผิดเล็กๆ น้อยๆ

 

พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565

 

พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 มาตรา 5 การปรับเป็นพินัยตามกฎหมายทั้งปวง ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ให้ถือว่าการปรับเป็นพินัยหรือคำสั่งปรับเป็นพินัยเป็นการกระทำทางปกครองหรือคำสั่งทางปกครอง

 

การปรับเป็นพินัยไม่เป็นโทษอาญา

 

กฎหมายบัญญัติชัดเจนว่าการปรับเป็นพินัยไม่ใช่โทษทางอาญาหรือทางปกครอง (มาตรา 5 วรรคสอง) ดังนั้นเมื่อความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียวไม่ถือเป็นความผิดทางอาญา ผู้กระทำจึงไม่ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามกฎหมายอาญา ตำรวจซึ่งมีอำนาจดำเนินคดีอาญาจึงไม่มีอำนาจจับกุมในกรณีเช่นนี้

 

นอกจากนี้กฎหมายปรับเป็นพินัยฉบับนี้ ยังได้กำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมว่า มาตรา 6 ในกรณีพระราชบัญญัตินี้มิได้กำหนดไว้เป็นประการอื่น การใดที่กำหนดให้แจ้ง ยื่น หรือส่งหนังสือหรือเอกสารให้บุคคลใดเป็นการเฉพาะ ถ้าได้แจ้ง ยื่น หรือส่งหนังสือหรือเอกสารให้บุคคลนั้น ณ ภูมิลำเนาหรือที่อยู่ที่ปรากฏตามหลักฐานทางทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ให้ถือว่าได้แจ้ง ยื่น หรือส่งโดยชอบด้วยพระราชบัญญัตินี้แล้ว

 

โดยในมาตรา 6 กฎหมายให้เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจดำเนินการจัดการส่งคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้กระทำความผิดตามภูมิลำเนาให้ไปชำระค่าปรับเท่านั้น และไม่ได้มีบัญญัติให้เจ้าพนักงานมีอำนาจดำเนินการนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้

 

ตัวอย่างความผิดจราจรที่มีโทษปรับ

 

โทษปรับสถานเดียวถูกนำมาใช้กับความผิดหลากหลายประเภท รวมถึงความผิดเล็กน้อยตามพระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งไม่มีโทษจำคุก ตัวอย่างข้อหา เช่น

 

1. ไม่สวมหมวกนิรภัย ขณะขับขี่หรือซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์

2. ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ขณะขับหรือโดยสารรถยนต์

3. ขับรถในช่องทางเดินรถผิดประเภท เช่น ขับจักรยานยนต์บนทางด่วน

4. หยุดรถในที่ห้ามหยุด / จอดรถในที่ห้ามจอด

5. ไม่แสดงใบอนุญาตขับขี่ เมื่อเจ้าพนักงานเรียกตรวจ

6. ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนรถ หรือป้ายทะเบียนไม่ชัดเจน

7. ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ โดยไม่ใช้อุปกรณ์เสริม

8. ไม่เปิดไฟหน้ารถในเวลากลางคืนหรือในที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ

9. บีบแตรโดยไม่มีเหตุอันควร

10. ขับรถช้าเกินไปจนเป็นเหตุให้กีดขวางการจราจร

 

ขณะเดียวกันตำรวจไม่มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว แม้จะเป็นความผิดซึ่งหน้าก็ตาม สิ่งที่ตำรวจทำได้คือออกใบสั่งให้ผู้กระทำผิดไปชำระค่าปรับ การกระทำใดๆ ที่เกินกว่านี้ เช่น การดึงกุญแจรถและสั่งให้ไปจ่ายค่าปรับที่ป้อม ซึ่งการกระทำเช่นนั้นอาจเข้าข่ายเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ถือว่าตำรวจใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ

Advertisement

แชร์
ห้ามจับ ห้ามดึงกุญแจ ผิดกฎจราจรเล็กน้อย แค่ปรับเป็นพินัยไม่ใช่อาญา