Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
เปิดเส้นทางการระบายน้ำเหนือลงสู่ภาคกลาง มีโอกาสท่วมกรุงเทพฯ เหมือนปี 54 หรือไม่

เปิดเส้นทางการระบายน้ำเหนือลงสู่ภาคกลาง มีโอกาสท่วมกรุงเทพฯ เหมือนปี 54 หรือไม่

26 ส.ค. 67
18:10 น.
|
9.8K
แชร์

เปิดเส้นทางการระบายน้ำจากภาคเหนือ ลงสู่ลุ่มแม่น้ำภาคกลาง มีโอกาสท่วมกรุงเทพฯ เหมือนปี 54 หรือไม่ ต้องจับตาดูปริมาณน้ำและฝนในเดือนกันยายนและตุลาคม

จากเหตุการณ์อุทกภัยในภาคเหนือหลายจังหวัด เกิดปริมาณน้ำสะสมจากเหตุฝนตกหนัก ทำให้น้ำในแม่น้ำสายสำคัญของ 4 สาย ต้องมีการระบายน้ำลงมาสู่ตอนล่างของประเทศ

ภาคเหนือมีแม่น้ำ 4 สายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำปิง มีเขื่อนภูมิพล จ.ตาก กั้นอยู่ แม่น้ำน่าน มีเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ กั้นอยู่ แม่น้ำวัง มีเขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง กั้นอยู่ ส่วนแม่น้ำยมนั้นไม่มีเขื่อนกั้น หากฝนตกมากน้ำจะท่วมจังหวัดพะเยา แพร่ สุโขทัย และพิษณุโลก โดย ปิง วัง ยม น่าน จะไหลมาบรรจบรวมกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่ ต.ชุมแสง อ.ปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์

แม่น้ำเจ้าพระยาจะไหลผ่านจังหวัดอุทัยธานี โดยมีแม่น้ำสะแกกรัง ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านจังหวัดชัยนาท โดยมีเขื่อนเจ้าพระยากั้นกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อำเภอสรรพยา โดยกรมชลประทานจะเป็นฝ่ายดุแลการเปิดปิดประตูระบายน้ำตามที่กำหนด

จากนั้นแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา ซึ่งที่นี่จะมีแม่น้ำป่าสัก ที่มาจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี ระบายมายังอยุธยาผ่านเขื่อนพระรามหก และมารวมกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่หน้าวัดพนัญเชิง แล้วไหลไปสู่จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพญ ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ อำเภอปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ

456701380_1870116426812096_49

อาจารย์สนธิ คชวัฒน์ อาจารย์ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ได้ระบุถึงโอกาสน้ำเข้าท่วมกรุงเทพฯ นั้น ปัจจัยหลักเกิดจาก มวลน้ำจากภาคเหนือไหลลงมา ซึ่งภาคเหนือมีเขื่อนเก็บกักน้ำอยู่ยกเว้นแม่น้ำยม หากฝนตกลงมามากและมวลน้ำมีมากไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C.13 ที่จังหวัดชัยนาท หากระบายน้ำออกจากเขื่อนเจ้าพระยาเฉลี่ย 2800-3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะทำให้จังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา มีน้ำท่วมมากขึ้น และหากมีการตรวจวัดที่สถานีสูบน้ำ C.29 ที่สถานีหน้าศูนย์ศิลปชีพบางไทรเกิน 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะทำให้แม่น้ำเจ้าพระยาช่วงจังหวัดปทุม ธานี นนทบุรีถึงกรุงเทพฯ มีระดับสูงขึ้นเกิน 1 เมตรจากปกติน้ำน้ำจะล้นตลิ่ง

ในช่วงเดือนกันยายนจนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี จะมีพายุเข้ามาอย่างน้อย 1-2 ลูกห รืออาจจะมากกว่า หากฝนตกท้ายเขื่อนสิริกิติ์และภูมิพลมากโดยเฉพาะภาคกลางและปทุมธานี กทมซึ่งช่วงนี้ฝนจะตกแบบ Rain bomb คือฝนตกหนักเฉพาะจุดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีโอกาสทำให้น้ำไหลเข้าท่วมมากขึ้น

456695873_931103222395628_133

ในช่วงเดือนตุลาคมเป็นเดือนที่มีน้ำทะเลหนุน หากการระบายน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่คลองต่างๆ และอ่าวไทยไม่ได้มาก เนื่องจากน้ำทะเลจะทำให้น้ำท่วมนานขึ้น

การบริหารจัดการน้ำ การเตรียมตัวของเมืองในการขุดลอกคูคลอง การกั้นตลิ่งการระบายน้ำลงทะเลและการพร่องน้ำจากเขื่อนก่อนซึ่งจะต้องทำแต่เนิ่นๆก่อนน้ำเหนือหลากลงมา

ดังนั้นปัจจัยที่สำคัญที่น้ำจะท่วมถึง จังหวัดปทุมธานีนนทบุรีและกรุงเทพฯ ในเดือนกันยายนและตุลาคมก็คือน้ำเหนือไหลหลาก บวกกับพายุเข้าและฝนตกหนักท้ายเขื่อน น้ำทะเลหนุน และการจัดการป้องกันน้ำท่วมไม่ดีไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ก็อาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมได้ จึงให้จับตาดูปริมาณน้ำและฝนตกในเดือนกันยายนและตุลาคมให้ดี

Advertisement

แชร์
เปิดเส้นทางการระบายน้ำเหนือลงสู่ภาคกลาง มีโอกาสท่วมกรุงเทพฯ เหมือนปี 54 หรือไม่