Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
"รอมฎอน" ชี้ รบ. ลังเลแก้ปัญหาชายแดนใต้ หนุน เจรจา BRN

"รอมฎอน" ชี้ รบ. ลังเลแก้ปัญหาชายแดนใต้ หนุน เจรจา BRN

7 พ.ค. 68
11:58 น.
แชร์

"รอมฎอน" ชี้ รบ. ลังเลแก้ปัญหาชายแดนใต้ เรียกร้อง เจรจา BRN บอกความรุนแรงกำลังทำงาน ทำประชาชนแบกรับความเสี่ยง ระบุ นายกฯไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าพูดคุย

วันที่ 7 พ.ค. ที่รัฐสภา นายรอมฎอน ปันจอร์ สส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ว่า ถ้าพิจารณาเฉพาะรายเหตุการณ์ช่วง 2 -3 สัปดาห์นี้ ภาพรวมของการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ คนในพื้นที่และคนที่ติดตามสถานการณ์ก็ชัดเจนว่ารัฐบาลดูเหมือนจะยังลังเลและไม่ชัดเจนมากนักในการกำหนดทิศทางข้อสังเกตง่ายๆ คือ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายยกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ย้ำได้ครั้งว่าจะมีการทบทวนยุทธศาสตร์ หรือนักวิชาการหลายคนทักท้วงว่ารัฐบาลต้องมีความชัดเจนเรื่องนี้ โดยหากดูเนื้อข่าวที่ผ่านมามีการเสนอข้อสั่งการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือสมช. ให้กลับไปทบทวนยุทธศาสตร์ เมื่อตอนต้นเดือนมกราคม 2568

งานนี้ต้องเสร็จภายในเดือนมกราคม แต่กลับทอดยาวมาจนถึงปัจจุบัน และสัปดาห์ที่แล้วนายภูมิธรรม ได้ขีดเส้น 7 วัน หลังสถานการณ์รุนแรงขึ้น ซึ่งตอนนี้ครบระยะเวลาแล้ว ดังนั้นภาพใหญ่ในเวลานี้รัฐบาลดูเหมือนยังไม่ชัดเจน แต่ตนเชื่อว่าโดยสถานการณ์ที่บีบคั้นในเวลานี้ และเสียงเรียกร้องของสังคมไทย รวมถึงผู้คนในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยพุทธหรือชาวมุสลิม หลังเหตุการณ์ที่บานปลายขยายตัวในขณะนี้รัฐบาลจะเริ่มมีความจำเป็นต้องทำให้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งมองว่าเป็นสาเหตุบริบทแวดล้อมที่สำคัญที่เราสามารถอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้

อย่างไรก็ตามหากอธิบายแบบเฉพาะในช่วงหลังสงกรานต์ที่ผ่านมา บางคนบอกว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมหรือเดือนรอมฎอน ซึ่งมีการเสนอจากฝั่งทางการไทย ส่งผ่านผู้อำนวยการสะดวก ไปยัง BRN ให้มีการหยุดยิ เพื่อพิสูจน์ความสามารถในการบังคับบัญชา หรือพิสูจน์ความเป็นตัวจริงก่อนหน้าที่รัฐบาลจะตัดสินใจตามคณะพูดคุยสันติภาพ แต่พบว่าในเดือนมีนาคมมีความล้มเหลวหรืออาจเรียกได้ว่า การเรียกร้องให้มีการปฏิบัติไม่มีความคืบหน้า และตนคิดว่าชนวนที่สำคัญที่สุดที่สำคัญที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายนคือการสังหารอุสตาช อับดุลรองนิง ที่อ. สุไหงโกลก

หลังจากนั้นก็ตามมาด้วยเหตุการณ์กราดยิงทำให้สามเณรเสียชีวิต หลายเหตุการณ์โจมตีพลเรือน ซึ่งคนในพื้นที่ทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยไต่ระดับเพิ่มขึ้น และการเผชิญหน้าเพิ่มสูงขึ้น และถ้าสังเกต คือ ความรุนแรงกำลังทำงานของมันเอง กำลังเรียกร้องให้มีการใช้ความรุนแรงให้สยบ แต่ยิ่งทำอย่างนั้นจะทำให้สังคมไทยและคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้แบกความเสี่ยงต่อไป เพราะความรุนแรงแต่ถาโถมเข้าไป จะยิ่งมีผลกระทบต่อ จึงเป็นเหตุผลว่าเหตุใดจึงมีเสียงเรียกร้องให้มีการสานต่อกระบวนการสันติภาพในการพูดคุยสันติภาพหลายภาคส่วนเพื่อถ่วงดุลกับความรุนแรง เพื่อมีพื้นที่ทางการเมืองให้สามารถพูดคุยสนทนาทุกเถียงกันได้ และทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการส่งเสียง

สำหรับตัวนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต้องเป็นคนนำในการเจรจาเองหรือไม่ นายรอมฎอน กล่าวว่า ตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา กรกระบวนการสันติภาพที่เราเห็น เริ่มในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่นางสาวแพทองธาร ต้องเป็นหัวหน้าคณะพูดคุย แต่นายกรัฐมนตรีต้องมีส่วนในการกำกับทิศทาง เช่น ในช่วงรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี มีความชัดเจนมากมีการวางโครงสร้างว่า โดยระดับบนมีคณะกรรมการกับทิศทางการพูดคุยที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และในชั้นที่สองจะเป็นคณะพูดคุยสันติสุข และชั้นที่สามจะเป็นคณะประสานงานในพื้นที่ แต่เมื่อมาเป็นรัฐบาลของนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมตรี และนางสาวแพทองธาร โครงสร้างนี้ไม่มีอยู่มีการจัดตั้งภายในของสมช.

ซึ่งปัญหาคือต้องมีอำนาจหน้าที่ที่แน่นอนได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ซึ่งสถานการณ์ไม่ต่างกับ BRN ซึ่งรัฐบาลไทยมีข้อกังขาว่าคณะพูดคุยของ BRN ที่มาพูดคุยก่อนหน้าหยุดชะงักในเดือนสิงหาคม 2567 เป็นตัวจริงหรือไม่ ซึ่งความเป็นจริงตัวปลอมเป็นข้อถกเถียงตั้งแต่ปี 2556 ว่ามีการส่งคนที่มีอำนาจของ 2 ฝ่ายมาพูดคุยกันแล้วจะมีน้ำหนักขนาดไหน ซึ่งเรื่องนี้เราแก้ปัญหาจากประสบการณ์ในอดีต ด้วยการค่อยๆ เติมองค์ประกอบที่มีส่วนสำคัญ คือเงื่อนไขแรกต้องได้รับอาณัติจากฝ่ายผู้มีอำนาจของแต่ละฝ่าย และระหว่างทางมีการเปลี่ยนองค์ประกอบ ท้ายสุดเรื่องที่ 2 ฝ่ายต้องคุยคือการร่วมกันยุตติสภาวะที่เป็นปรปักษ์ หรือร่วมกันเรื่องหนุดความรุนแรงและการเผชิญหน้ากัน ซึ่งกระบวนการสันติภาพต้องทำร่วมกันต้องมีองค์ประกอบทำร่วมกัน

ส่วนสถานการณ์ล่าสุดในการพูดคุยเมื่อสิงหาคม 2567 2 ฝ่ายยังไม่ได้มีการตกลงในรายละเอียดว่ากติกาในการทำงานร่วมกันจะทำแค่ไหนอย่างไร มีแค่ร่างเอกสารแผนสันติภาพเท่านั้นยังไม่ได้มีการลงลึกไปและค้างมาถึงปัจจุบัน ดังนั้นข้อเรียกร้องของรัฐบาลไทยให้หยุดความรุนแรง ดูสมเหตุสมผล “ที่ต้องหยุดยุทธศาสตร์การพูดคุยไปฆ่าไป” แต่อีกด้านก็ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เพราะต้องยอมรับว่า BRN ใช้กำลัง เพราะเป็นอำนาจดารต่อรองที่เขาพอจะมี และรู้อยู่ว่ามีการละเมิดกฎหมายและเสี่ยงต่อการถูกทำลายความชอบธรรมในทางการเมือง ถ้าเขาเลือกใช่ทางนี้ เราจะต้องคิดคือต้องเผชิญหน้ากับคนที่ใช้กำลังแบบนี้ ตนจึงคิดว่าวิธีการนี้รัฐบาลยังสามารถกำหนดกลยุทธ์ได้หลากหลายกว่าเพราะตัวเองมีความชอบธรรมทางการเมืองมากกว่า ดังนั้นการริเริ่มในฝ่ายรัฐบาลจะเป็นประโยชน์ต่อสถานการณ์โดยภาพรวม

ส่วนนายกรัฐมนตรีระบุว่าให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายดรัฐมนตรี เจรจากับนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย นายรอมฎอน ระบุว่า

ประเทศมาเลเซียเป็นตัวแสดงที่มีข้อถกเถียงมากซึ่งเริ่มจากความสามารถของนายทักษิณ ปี 2555 ในช่วงที่เราไม่รู้ว่าจะมีกระบวนการสันติภาพ โดยมีการเดินทางไปใช้คอนเน็คชั่นส์ในการประสานส่งต่อรายละเอียดเพื่อปูทางไปสู่การพูดคุยสันติภาพในปีถัดมา การเห็นมาเลเซียเป็นตัวแสดงที่สำคัญ เพราะอย่างน้อยที่สุดมาเลเซียมีส่วนได้เสียในความขัดแย้งมีด้วย เพราะพื้นที่พิพาทอยู่ใกล้กับประเทศมาเลเซีย ผู้คนประชากรประวัติศาสตร์ที่มาที่ไปมีความสัมพันธ์กัน การกันมาเลเซียจากกระบวนการแก้ไขปัญหานี้อาจจะสร้างปัญหามากกว่า แต่สถานภาพของมาเลเซียจะแค่ไหนอย่างไรต้องถกเถียงกัน และถ้าตัวเองเข้าใจไม่ผิดยุทธศาสตร์ของรัฐบาลปัจจุบัน คือใช้พันธมิตรอย่างมาเลเซียในการเอ็นเกจว่ามีปฏิสัมพันธ์กับ BRN และปูทางไปสู่การพูดคุยในอนาคต

ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับเมื่อ 10 ปีที่แล้ว แต่อย่าลืมว่ามาเลเซียก็เห็นว่าเรื่องของเราเป็นประโยชน์ของชาติของเขา และอาเซียนดังนั้นต้องขีดเส้นว่าเรานี้เป็นเรื่องภายในประเทศของเราซึ่งต้องมีอำนาจในการเทเริ่มไม่ใช่ให้ฝ BRN กำหนดโดยการใช้กำลัง หรือมาเลเซียกำหนดโดยใช้ทางการทูต แต่รัฐบาลไทยต่างหากที่จะต้องทำหน้าที่บางอย่าง เพื่อกำหนดสถานการณ์นั้น ซึ่งตนแม้จะอยู่ในฝ่ายค้านและถ้วงติงในหลายเรื่อง หากทิศทางของรัฐบาลเดินไปสู่การแสวงหาทางออกอย่างสันติวิธี ให้น้ำหนักของการพูดคุยและวิธีสันติภาพเราก็พร้อมสนับสนุน

Advertisement

แชร์
"รอมฎอน" ชี้ รบ. ลังเลแก้ปัญหาชายแดนใต้ หนุน เจรจา BRN