ฝนตกหนัก! กาญจนบุรีอ่วมรอบ 27 ปี น้ำล้นเขื่อนท่วมมิดหลังคา เตรียมบ้านแพลอยฝ่าวิกฤติ (คลิป)

13 ส.ค. 61
จากเหตุการณ์ฝนตกต่อเนื่อง ในพื้นที่ต้นน้ำ แม่น้ำรันตี บี่คลี่ และซองกาเลีย ซึ่งเป็นแม่น้ำสำคัญทั้ง 3 สาย ของ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ที่ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำของเขื่อนวชิราลงกรณ์ ส่งผลให้ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง บ้านเรือนชาวบ้านวังกะ หมู่ที่ 2 ต.หนองลู อ.สังขละบุรี พื้นที่ริมขอบอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่น้ำท่วม
สถานการณ์น้ำท่วม ในจ.กาญจนบุรี
สถานการณ์น้ำท่วม ในจ.กาญจนบุรี
ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจ พบบ้านเรือนประชาชนกว่า 12 หลังคาเรือน ที่น้ำเริ่มเข้าท่วม โดยมี 2 หลังที่น้ำท่วมจนมิดหลังคาบ้าน เนื่องจากเป็นบ้านที่ปลูกสร้างชั้นเดียว และไม่ได้ยกพื้น ขณะที่เจ้าของบ้านได้อพยพไปอาศัยเช่าห้องพักก่อนที่น้ำจะเข้าท่วม จึงไม่ได้รับอันตราย ส่วนบ้านที่ยกพื้นสูง พบว่าบางหลังคาเรือน ยังมีผู้อยู่อาศัยอยู่ในบ้าน เพราะหากต้องเช่าห้องพัก ก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
นายประวิทย์ อุดมดชะวงศ์ และภรรยา ชาวบ้าน ม.2
นายประวิทย์ อุดมดชะวงศ์ ชาวบ้าน ม.2 อาศัยอยู่กับภรรยาและลูก 2 คน เปิดเผยว่า ครอบครัวเตรียมบ้านแพมาไว้ หากพบว่าน้ำสูงจนไม่สามารถอาศัยอยู่ในบ้านได้ ก็พร้อมจะย้ายลงไปอาศัยในบ้านแพที่เตรียมไว้ ซึ่งขณะนี้ห้องน้ำเริ่มถูกน้ำท่วมจนไม่สามารถใช้ได้ ต้องไปอาศัยห้องน้ำเพื่อนบ้านใช้ ซึ่งตอนปี 2534 น้ำเคยท่วมสูงจนมิดหลังคาบ้านมาแล้ว ตอนนั้นตนก็อาศัยอยู่ในบ้านแพ จนน้ำลดจึงกลับเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านเหมือนเดิม ปีนี้จากการเฝ้าติดตามข่าวสารและข้อมูลจากเขื่อนฯ คาดว่าน้ำน่าจะใกล้เคียงปี 2534 จึงได้เตรียมแพไว้แล้ว ซึ่งทุกคนในพื้นที่ก็ยอมรับได้ เนื่องจากน้ำไม่ได้ท่วมทุกปี และที่สำคัญทุกคนรู้ว่าอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แต่ก็ที่ต้องอยู่เนื่องจากไม่มีทางเลือก
นายสมบูรณ์ ศรีกุล ชาวบ้านบ้านวังกะ
นายสมบูรณ์ ศรีกุล ชาวบ้านบ้านวังกะ หมู่ที่ 2 ต.หนองลู ซึ่งกำลังสร้างบ้านในพื้นที่ริมขอบอ่างเขื่อนฯ เปิดเผยว่า ตนกำลังสร้างบ้านโดยเลือกสร้างบ้านให้มีพื้นสูง เพื่อป้องกันน้ำท่วม เนื่องจากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า บ้านชั้นเดียวมักประสบปัญหาน้ำท่วม ส่วนบ้านที่ยกพื้นสูงแม้น้ำจะท่วมก็เพียงด้านล่าง ยังคงอยู่อาศัยได้ ซึ่งกว่าที่น้ำจะสูงขนาดก็จะเป็นวงรอบ 10-20 ปี ต่อครั้ง ก็ยังดีกว่าการสร้างบ้านชั้นเดียว ที่โอกาสเจอน้ำท่วมมีมากกว่า
นายสมบูรณ์ ศรีกุล ชาวบ้านบ้านวังกะ
นอกจากนี้ ในขณะที่ฝนในพื้นที่ยังคงตกอย่างต่อเนื่อง แต่ที่เขื่อนวชิราลงกรณ์เริ่มมีการระบายน้ำเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ระดับน้ำจากที่เคยเพิ่มขึ้นวันละ 80 ซม. - 1 เมตร เหลือเพียงวันละ 10-15 ซม. ซึ่งส่งผลดีต่อชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมขอบอ่าง บ้านวังกะ

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ