แพทย์เตือน PM 2.5 ทำลายทางเดินหายใจ-ภูมิคุ้มกัน ทำติดโควิด-19 ง่ายขึ้น

17 ธ.ค. 63

แพทย์ศิริราช เตือนฝุ่น PM 2.5 ทำลายระบบทางเดินหายใจ-ภูมิคุ้มกัน ทำติดโควิด-19 ง่ายขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ โรคเรื้อรัง ยิ่งเสี่ยงมากขึ้น

านนี้(16 ธ.ค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวถึงกรณีปัญหาฝุ่น PM 2.5 มีผลทำให้ติดเชื้อโควิด-19 ง่ายขึ้นหรือไม่ โดยระบุว่า วิธีการจัดการทั้ง 2 ปัญหาไม่ต่างกันคือการสวมใส่หน้ากากอนามัย แต่หน้ากากอนามัยที่ป้องกันโควิด-19 ทั่วไปอาจป้องกัน PM 2.5 ได้เพียงบางส่วนเท่านั้น แนะหลีกเลี่ยงสถานที่เปิดโล่ง โดยคนที่เป็นภูมิแพ้จะติดเชื้อได้ง่ายขึ้น เพราะฝุ่นละะอองเหล่านี้จะไประคายเคืองท่อทางเดินหายใจ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย

ขณะที่เมื่อ 15 ธ.ค. ที่ผ่านมา ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล พร้อมด้วย รศ.นพ.นิธิภัทร เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ ร่วมแถลงสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 พบว่าในขณะนี้ประเทศไทยมีหลายพื้นที่ซึ่งมีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กสูง เกินค่ามาตรฐาน   

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศบค. เผย 7 พยาบาลใน ASQ ติดโควิดจากการสัมผัสลูกบิดประตู
"วราวุธ" เตือนประชาชนรับมือ คาดฝุ่นพิษอยู่ยาวถึง 17 ธ.ค.
กทม. สั่งงดก่อสร้าง แก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 คลุ้งเมือง

ศ.นพ.ประสิทธิ์ ระบุว่า ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคระบบทางเดินหายใจ โรคเรื้อรัง เช่น หอบหืด หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตเรื้อรัง เบาหวานและภูมิแพ้ ทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ได้ง่ายขึ้น โดยมีข้อมูลการศึกษาเชิงระบาดวิทยาในกลุ่มประเทศพื้นที่ยุโรป และอเมริกา พบว่าพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูง มีโอกาสเสี่ยงในการระบาดของโควิด-19 สูงเช่นกัน เนื่องจากฝุ่น PM 2.5 เมื่อเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจจะทำลายระบบภูมิคุ้มกัน จึงเป็นโอกาสให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น 

131270156_10159047136935522_1

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ กล่าวว่า PM2.5 เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดการอักเสบรุนแรง และการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาของเนื้อเยื่อตั้งแต่จมูกลงไปจนถึงปอด ส่งผลให้ในระยะสั้นให้เกิดการระคายเคืองจมูก มีน้ำมูก เจ็บคอ และไอ ตามมาด้วยการเกิดปอดอักเสบ ติดเชื้อง่ายขึ้นรวมทั้งโรคโควิด-19

ผู้ที่มีโรคปอดเรื้อรัง เช่น โรคหืด และโรคถุงลมโป่งพองจะเกิดการกำเริบของโรค ส่วนในระยาวจะทำให้สมรรถภาพปอดถดถอยจนเกิดโรคถุงลมโป่งพองโดยที่ไม่สูบบุหรี่ และมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น เนื่องจาก PM2.5 สามารถหลุดรอดผ่านกระแสเลือดจากปอดไปทำลายอวัยวะต่าง ๆ ได้ทั่วร่างกายด้วย จึงทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตเรื้อรังตามมา รวมถึงโรคสำคัญอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น เบาหวาน ผิวหนังเหี่ยวย่น ตาแห้ง จอรับภาพที่ตาเสื่อม และสมรรถภาพทางเพศถดถอย ฯลฯ 

 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ