พระไพรวัลย์ ดึงสติ "โต ซิลลี่ ฟูลส์" อย่าคิดแคบ พุทธ-มุสลิม หัวใจเดียวกัน แค่แสดงออกต่าง (คลิป)

5 เม.ย. 61
จากกรณีโลกออนไลน์ แชร์คลิปรายการ "โตตาล" ของอดีตนักร้องชื่อดัง นายวีรชน ศรัทธายิ่ง หรือ "โต ซิลลี่ฟูลล์" ซึ่งได้กล่าวถึงประเด็น ทำไมศาสนสอิสลามถึงไม่มีรูปปั้น เหมือนชาวพุทธไว้ยึดเหนี่ยวจิตใจ ซึ่งมีบางช่วงบางตอนที่ผู้จัดรายการได้กล่าวว่า "ผมจะไม่กราบสิ่งใดที่ต่ำเท่าผม หรือต่ำกว่าผม รูปปั้นหากผลักก็ตกแตก มันต่ำกว่าผมแล้ว มันไม่มีชีวิต จะไหว้ทำไมสิ่งไม่มีชีวิต รูปร่างอัปลักษณ์กว่าผม ปั้นให้ตายก็หล่อสู้ผมไม่ได้" จนกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ซึ่งนายวีรชนได้ชี้แจงไปเบื้องต้นแล้วว่า ตนไม่มีเจตนาเหยียดคนที่บูชารูปปั้น และยืนยันว่าไม่มีการพาดพิงถึงพระพุทธศาสนา ตามที่นำเสนอไปแล้วนั้น (อ่าน: โต ซิลลี่ ฟูลส์ โต้เหยียดคนบูชารูปปั้น ชื่นชมพระพุทธเจ้า-กูรูติงมิควรเทียบศาสนา)
นายวีรชน ศรัทธายิ่ง หรือ โต ซิลลี่ฟูลล์  (ขวา) ในรายการ "โตตาล"
ขณะที่เพจเฟซบุ๊ก สำนักจุฬาราชมนตรี ได้โพสต์คลิปวิดีโอแถลงการณ์ของ นายอาศิส พิทักษ์คุมพล ในฐานะจุฬาราชมนตรี โดยเตือนสติผู้ต้องการเผยแผ่ศาสนาอิสลาม และได้มีการบริภาษความเชื่อของคนต่างศาสนา ว่าเป็นการกระทำที่สร้างความไม่สบายใจต่อเพื่อนร่วมสังคม เพราะการพูดในเชิงวิพากษ์ศาสนาอื่น ทำให้อิสลามมีภาพลักษณ์ที่ก้าวร้าว และยังขัดต่อหลักอัลกุรอาน [caption id="attachment_179271" align="aligncenter" width="640"]
_snapshot_00.05_2018.04.05_00.01.05-1024x576.jpg" alt="" width="640" height="360" /> นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี[/caption] นอกจากนี้ จุฬาราชมนตรี บอกด้วยว่า การเผยแพร่อิสลามจะต้องเผยแพร่ด้วยความระมัดระวัง และให้ความเคารพต่อคนต่างศาสนา ทั้งยังขอให้ทำความเข้าใจว่าบางสิ่งที่เกิดขึ้นหรือทำลงไปนั้น ไม่ใช่หลักคำสอนของอิสลาม แต่เป็นการฝ่าฝืนคำสอนของอิสลาม และขอให้ระมัดระวังการยกหลักคำสอนของอัลกุรอานขึ้นมาใช้ในการพูดเพื่อเผยแพร่ศาสนา เพราะอาจจะนำไปสู่ความสูญเสียแก่อิสลามและมุสลิมในประเทศไทย จนนำไปสู่การสร้างความแตกแยกในสังคมได้
พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ พระนักคิดนักเขียน
ด้าน พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ พระนักคิดนักเขียน วัดสร้อยทอง เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวด้วยว่า พุทธศาสนาไม่มีการบัญญัติให้สร้าง แต่ก็ไม่มีข้อห้ามในการจัดสร้างรูปเคารพ วัตถุ ที่จะใช้เป็นสื่อแทนทางศาสนา ซึ่งต่างจากศาสนาอิสลาม ที่มีการบัญญัติไว้ชัดเจน พระมหาไพรวัลย์ ระบุว่า ในยุคพระพุทธองค์ ไม่มีรูปปั้นเพื่อเคารพ แต่ก็จะมีการใช้วัตถุอย่างอื่น ในการเป็นสื่อแทนสิ่งที่เคารพ ศาสนาพุทธในอดีตก็มีการบูชาเคารพต้นโพธิ์ ซึ่งเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และต่อมาก็มีการสร้างเจดีย์ สถูป เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุตามมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็คือสัญลักษณ์ทางศาสนา เป็นสิ่งที่ชาวพุทธเคารพบูชามาโดยตลอด ส่วนกรณีที่ คุณโต มีการพูดถึงรูปปั้น ว่ามีลักษณะที่อยู่ต่ำนั้น พระมหาไพรวัลย์ ระบุว่า การที่คุณโตมีมุมมองความคิดในเรื่องรูปปั้นในแบบที่ผิด ก็ย่อมทำให้อาจจะมองไม่ออกก็ได้ว่า คนศาสนาอื่นมีแนวคิดการมองรูปเคารพอย่างไร เพราะอิสลามมีการปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง แต่ศาสนาอื่นไม่ได้มองเช่นนั้นทั้งหมด พระมหาไพรวัลย์ บอกว่า นี่คือความผิดพลาดที่คุณโตใช้ความคิดตามลักษณะของศาสนาที่ตัวเองนับถือ ตัดสินคนนับถือศาสนาอื่น คือความคิดที่แคบ แม้การที่ตอบว่าไม่ได้หมายถึงพุทธศาสนา แต่เปรียบไปถึงตุ๊กตาลูกเทพ พระมหาไพรวัลย์บอกว่า คุณโตพยายามเลี่ยง แต่หากพูดถึงคนเคารพรูปปั้นในเชิงดูถูก จึงคิดว่าอาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ สำหรับคนที่เคารพบูชารูปเคารพเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ หากเป็นเช่นนี้ ย่อมทำให้เกิดความไม่พอใจ เพราะมีการเปรียบเทียบ โดยนำวิธีคิดของศาสนาหนึ่ง มาตัดสินอีกศาสนาหนึ่ง และยังเป็นการพูดในลักษณะว่า ศาสนาของใครดีกว่าใคร ซึ่งการมองแบบนี้ ก็เป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้
พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ พระนักคิดนักเขียน พูดคุยกับผู้สื่อข่าว
พระมหาไพรวัลย์ ยังแนะอีกว่า หากต้องมีการพูดถึงศาสนาอื่นที่ตัวเองไม่ได้นับถือ ก็ควรทำความเข้าใจถึงเหตุผล ว่าเหตุใดแต่ละศาสนาจึงเป็นเช่นนี้ ไม่ใช่เอาค่านิยม ความเชื่อของตัวเองไปตัดสิน หากมีความฉลาด และใจกว้าง เช่นนักการศาสนา ก็ควรอธิบายให้ไม่เกิดความขัดแย้ง และเหมือนเป็นการเหยียดความเชื่อของศาสนาอื่น เพราะทุกศาสนา ล้วนจะมีแนวทางในการเข้าถึงศาสดาของศาสนา เปรียบได้กับการไปแสวงบุญของชาวอิสลามที่เมืองเมกกะ นอกจากนี้ พระมหาไพรวัลย์ ยังบอกอีกว่า หากเรามองผู้อื่นแบบพยายามเข้าไปทำความเข้าใจ และไม่ไปตัดสินผู้อื่น หัวใจของชาวพุทธที่กราบพระพุทธรูป ก็คือหัวใจดวงเดียวกัน กับของคนมุสลิมที่ไปจูบหินดำที่เมกกะ เพราะคือหัวใจของประชาชน ที่อยู่บนความศรัทธาของศาสดาของตัวเอง พระมหาไพรวัลย์ ทิ้งท้ายไว้ว่า ศาสนาแต่ละศาสนา มีอัตลักษณ์แตกต่างกัน อย่างมุสลิม ผู้ชายก็ต้องไว้เครา อย่างอาตมาเป็นพระก็ต้องโกนผม ดังนั้น คนอื่นก็ย่อมมีธรรมเนียมปฏิบัติต่างกัน ทั้งนี้ ระบุว่า ศาสนาเป็นเรื่องที่วิจารณ์ได้ แต่การใช้ถ้อยคำต้องระวัง ไม่ให้ไปเหยียดทางความเชื่อของศาสนาอื่นด้วย

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ