ออกข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับที่ 1 ห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง-ปิดช่องทางเข้ามาในราชอาณาจักร

25 มี.ค. 63

เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 63 หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แถลงการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อแก้ไขสถานการณ์โรคโควิด-19 ได้มีการประกาศ ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 1) โดยมีข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายภายใต้หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและเงื่อนเวลา อาทิ

ข้อ 1 การห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง ห้ามประชาชนเข้าไปในพื้นที่หรือสถานที่ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดต่อเชื้อโรคโควิด-19 ตามที่กำหนดในมติ ครม. วันที่ 17 มี.ค. 63 หรือตามที่ผู้ว่าฯ กทม. ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อได้ประกาศหรือสั่งตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558

ข้อ 2 การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค
(1) สนามมวย สนามกีฬา สนามแข่งขัน สนามเด็กเล่น สนามม้า ในทุกจังหวัตทั่วราชอาณาจักร จนกว่าจะมีประกาศเป็นอย่างอื่น
(2) ผับ สถานบริการ สถานที่แสดงมหสพ สถานที่มีการแสดงหรือการละเล่นสาธารณะ สถานประกอบการ อาบ อบ นวด และนวดแผนโบราณ สปา สถานที่ออกกำลังกาย (ฟิตเนส) สถานบันเทิง ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเบ็นอย่างอื่น
(3) สถานที่อื่นนอกจากนี้ เช่น แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ พิพิธภัณฑสถาน ห้องสมุด
สาธารณะ ศาสนสถาน สถานีขนส่งหรือโดยสาร ตลาด ห้างสรรพสินค้า ให้พิจารณาโดยสั่งปิดเฉพาะส่วน หรือทั้งหมดและอาจกำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาตามความจำเป็นและเหมาะสม

ข้อ 3 การปิดช่องทางเข้ามาในราขอาณาจักร เว้นแต่
(1) เป็นกรณีหรือผู้มีเหตุยกเว้นตามที่นายกฯ หรือหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด
(2) เป็นผู้ขนส่งสินค้าตามความจำเป็น เมื่อเสร็จภารกิจแล้วให้กลับออกไปโดยเร็ว
(3) เป็นผู้ควบคุมยานพาหนะหรือเจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะ ซึ่งจำเป็นต้องเดินทางเข้ามาตามภารกิจ และมีกำหนดเวลาออกชัดเจน
(4) เป็นบุคคลในคณะทูต คณะกงสุล องค์การระหว่างประเทศ หรือผู้แทนรัฐบาลที่มาปฏิบัติงานในประเทศไทย
(5) เป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยแต่มีใบอนุญาตทำงานหรือได้รับอนุญาตจากทางราชการ
(6) เป็นผู้มีสัญชาตีไทย ในกรณีเช่นนี้ให้ติดต่อสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยในประเทศที่พำนักเพื่อออกหนังสือรับรอง หรือมีใบรับรองแพทย์ ที่ยืนยันว่ามีสุขภาพเหมาะสมต่อการเดินทางทางอากาศ (Fit to Fly Health Certificate) ซึ่งได้รับการตรวจรับรองหรือออกให้มีระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง

ข้อ 4 การห้ามกักตุนสินค้า ห้ามผู้ใดกักตุนสินค้าซึ่งเป็นยา เวชภัณฑ์ อาหาร น้ำดื่ม หรือสินค้าอื่นที่จำเป็นต่อการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน

ข้อ 5 การห้ามชุมนุม ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ ในสถานที่แออัดหรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย

ข้อ 6 การเสนอข่าว ห้ามการเสนอข่าวหรือทำให้แพร่หลายทางสื่อต่าง ๆ ซึ่งมีข้อความ หรือข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) อันไม่เป็นความจริงและอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร

นอกจากนี้ ยังได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 5/2563 เรื่องการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยให้ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่ 2019 (โควิด-19) เรียกโดยย่อว่า "ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19" มีนายกรัฐมนตรี เป็น ผอ.ศูนย์ ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ ที่ปรึกษานายกฯ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการ

เลขาธิการนายกฯ ปลัดสำนักนายกฯ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการและผู้ประสานงานทั่วไป

นอกจากนี้ยังมีข้าราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นกรรมการ เลขานุการ และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์

890342

254769
844697

108159

924999

481186
556314

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ