ขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค 2567 จัดขึ้นวันไหน เช็กวันซ้อม วันเสด็จฯ วันจัดแสดงได้ที่นี่

5 ก.ค. 67

โปรดเกล้าฯ ให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม รัฐบาลและกองทัพเรือฝึกซ้อมกำลังพลเพื่อความสมพระเกียรติ พร้อมเผยวันจัดแสดงขบวนเรือ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหาร ในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567 ซึ่งนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ประชุมเพื่อจัดการเตรียมความพร้อมร่วมกับกองทัพเรือ ประกอบด้วย การซ่อมทำเรือพระที่นั่ง และเรือรูปสัตว์ การฝึกกำลังพลฝีพายเรือพระราชพิธี โดยเน้นย้ำว่า พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ด้วยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคมีความสำคัญของกำลังพลทุกนาย เป็นการร่วมแสดงความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

79478512_2961532033871503_678

ทั้งนี้ กองทัพเรือ ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ซึ่งได้มีการเตรียมการด้านการฝึกซ้อมกำลังพลฝีพาย และการซ่อมบำรุงเรือ รวมถึงการเตรียมความพร้อมในส่วนอื่นๆ เพื่อให้การจัดงานในครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สง่างาม และสมพระเกียรติ

ในส่วนของการฝึกซ้อมฝีพายเรือพระราชพิธีนั้น กองทัพเรือโดยคณะกรรมการเตรียมการจัดขบวนพยุหะยาตราทางชลมารคได้ดำเนินการจัดการฝึกซ้อมฝีพาย ประกอบด้วย การฝึกครูฝึกฝีพาย ระหว่าง 12 กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2567 รวม 20 วันงาน และการฝึกฝีพายบนเขียง ระหว่าง 18 มีนาคม – 16 พฤษภาคม 2567 รวม 40 วันงาน โดยจะทำการแยกฝึกตามหน่วยต่างๆ ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และพื้นที่สัตหีบ การฝึกฝีพายในหน่วยในเรือในน้ำ ระหว่าง 28 พฤษภาคม – 30 กรกฎาคม 2567 รวม 40 วันงาน 

สำหรับการซ่อมบำรุงเรือพระราชพิธีนั้น อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ได้นำเรือพระที่นั่งรูปสัตว์ รวมถึงเรือในขบวนเรือพระราชพิธีลำอื่นๆ มาซ่อมบำรุง ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จ จึงทำการส่งมอบให้กรมศิลปากร เพื่อดำเนินการประดับตกแต่งตัวเรือตามแผนปฏิบัติงานการจัดขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค พ.ศ. 2567 โดยการดำเนินการในส่วนของกรมศิลปากร จะเป็นการตกแต่งรายละเอียด เช่น วาดลวดลาย ติดกระจกเกรียบกระจกสีทำจากแร่ดีบุก ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในวันที่ 30 มิถุนายน 2567 ก่อนจะมีการอัญเชิญเรือพระที่นั่งลงน้ำ เพื่อเตรียมการในส่วนของการฝึกซ้อมฝีพายต่อไป

78544815_2961532213871485_736

นอกจากนี้ ระหว่างวันที่ 27 – 29 กรกฎาคม 2567 กองทัพเรือ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญเรือพระที่นั่ง จำนวน 3 ลำ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช จัดแสดงแบบผูกทุ่น ประกอบกาพย์เห่เรือเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 (คลิกอ่านบทกาพย์เห่เรือ 4 บท) ซึ่งจะแสดง 2 วัน วันละ 2 รอบ โดยในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 จัดการแสดง เวลา 15.00 น. และ 20.00 น. ในส่วนของวันที่ 29 กรกฎาคม 2567 จัดการแสดง เวลา 17.00 น. และ 20.00 น. พร้อมทั้งจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ณ บริเวณท่าราชวรดิฐ ถนนมหาราช แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ

สำหรับการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ ใช้เรือพระราชพิธีจำนวนทั้งสิ้น 52 ลำ จัดขบวนเป็น 5 ริ้ว ความยาว 1,200 เมตร กว้าง 90 เมตร โดยใช้กำลังพลประจำเรือในขบวนเรือพระราชพิธีรวมทั้งสิ้น 2,200 นาย โดยจะเริ่มทำการซ้อมย่อยเป็นรูปขบวนเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาจำนวน 10 ครั้ง ดังนี้

  • ครั้งที่ 1 ในวันที่ 1 สิงหาคม 2567
  • ครั้งที่ 2 ในวันที่ 8 สิงหาคม 2567
  • ครั้งที่ 3 ในวันที่ 15 สิงหาคม 2567
  • ครั้งที่ 4 ในวันที่ 22 สิงหาคม 2567
  • ครั้งที่ 5 ในวันที่ 3 กันยายน 2567
  • ครั้งที่ 6 ในวันที่ 12 กันยายน 2567
  • ครั้งที่ 7 ในวันที่ 19 กันยายน 2567
  • ครั้งที่ 8 ในวันที่ 26 กันยายน 2567
  • ครั้งที่ 9 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2567
  • ครั้งที่ 10 ในวันที่ 10 ตุลาคม 2567

จากนั้นจะเป็นการซ้อมใหญ่จำนวน 2 ครั้งในวันที่ 15 และ 22 ตุลาคม 2567 โดยประชาชนที่มีความสนใจรับชมการฝึกซ้อมฝีพายและความงดงามของขบวนเรือพระราชพิธี ที่นับว่าเป็นหนึ่งเดียวในโลก สามารถรับชมได้ตลอด 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่สะพานพระราม 8 จนถึงวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

170934

358914

 

กาพย์เห่เรือเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พุทธศักราช 2567 ประพันธ์โดย พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย ประกอบด้วย 4 บท ได้แก่ บทสรรเสริญพระบารมี บทชมเรือกระบวน บทบุญกฐิน และบทชมเมือง

01

02

03

04

05

06

07

08

 

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส