แนะ 6 สมุนไพรที่ควรมีติดรถช่วงเดินทาง แก้อาการเจ็บป่วยเบื้องต้น

29 ธ.ค. 66

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แนะ 6 สมุนไพรที่ควรมีติดรถช่วงเดินทาง แก้อาการเจ็บป่วยเบื้องต้น

29 ธ.ค. 2566 ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 หลายคนใช้ช่วงวันหยุดในการเดินทางกลับภูมิลำเนาไปเติมพลังกาย พลังใจ ทั้งเดินทางโดยสาธารณะและขับรถกลับเอง

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกแนะ 6 สมุนไพรที่ควรมีติดรถช่วงเดินทางแก้อาการเจ็บป่วยเบื้องต้น รายละเอียดระบุว่า “กรมการแพทย์แผนไทยฯ แนะ พก 6 ยาสมุนไพร เดินทางปีใหม่ แก้อาการเจ็บป่วยเบื้องต้น”

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แนะพกยา #สมุนไพร 6 ชนิด ประจำรถ ประจำตัว เช่น ฟ้าทะลายโจร ยาหอมอินทจักร์ ยาขี้ผึ้งไพล ยาเหลืองปิดสมุทร ยาขิง และ ยาดมสมุนไพร แก้อาการเจ็บป่วยเบื้องต้น ที่อาจเกิดขึ้นได้ขณะเดินทาง ช่วง #เทศกาลปีใหม่

s__9797638

ดร.ภก.ปรีชา หนูทิม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขประกาศนโยบาย 3 D “Drink Don’t Drive”  ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับเพื่อรณรงค์ความปลอดภัยในการขับขี่และลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จึงขอแนะนำ 6 ยาสมุนไพร ที่ควรมีประจำรถ ประจำตัว เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น ขณะเดินทางไกล อาทิ

  1. ยาฟ้าทะลายโจร สรรพคุณ บรรเทาอาการเจ็บคอ โรคหวัดและใช้กับผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่มีความรุนแรงน้อยรวมไปถึงบรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ มีข้อห้ามใช้ในผู้หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ผู้ที่แพ้ฟ้าทะลายโจร และ ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอ เนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น มีตุ่มหนองในลำคอ
  2. ยาหอมอินทจักร์ ใช้แก้วิงเวียนศีรษะ แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ มีข้อห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์
  3. ยาขี้ผึ้งไพล บรรเทาอาการปวดเมื่อย
  4. ยาเหลืองปิดสมุทร บรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูกหรือมีเลือดปน ไม่มีไข้
  5. ยาขิง บรรเทาอาการท้องอืด ขับลม แน่นจุกเสียด ป้องกันและบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน ที่มีสาเหตุจากการเมารถ เมาเรือ ซึ่งยาทั้ง 5 ชนิดนี้ เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร สามารถเบิกจ่ายยาดังกล่าวได้ตามสิทธิ์ในโรงพยาบาลของรัฐ และ
  6. ยาดมสมุนไพร บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย และช่วยให้สดชื่นในระหว่างการขับขี่ยานพาหนะด้วย

นอกจากยาเหล่านี้ ผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะทางไกลทุกชนิด ควรพักผ่อนร่างกายให้เพียงพอ อย่างน้อย 6 - 8 ชั่วโมง งดเว้นการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทุกชนิด งดทานยาที่มีฤทธิ์กดประสาท เพราะจะส่งผลให้สมรรถนะในการขับขี่ยานพาหนะลดลง และ ควรตรวจสอบยานพาหนะของท่าน ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และ ควรปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด อีกด้วย

สนใจการใช้สมุนไพร สามารถสอบถามข้อมูลกับแพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ ได้ที่คลินิกการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลของรัฐ ทั่วประเทศ หรือ สามารถสอบถามโดยตรงได้ที่กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก หมายเลขโทรศัพท์ 0 2149 5678

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส