ลอยกระทง บทสวดขอขมาพระแม่คงคา บทอธิษฐานสำหรับลอยกระทง ให้คำขอสมหวัง

20 พ.ย. 66

วันลอยกระทง ลอยกระทง คำอธิษฐานสำหรับลอยกระทง คำขอขมาพระแม่คงคา ความเชื่อวันลอยกระทง พร้อมคำอธิษฐานที่นิยมขอในวันลอยกระทง

วันลอยกระทง วันที่คนไทยร่วมสืบสานประเพณี ลอยกระทง กันมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยโบราณ โดยวัยลอยกระทงนี้ไม่มีระบุแน่ชัดว่าเริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่า เป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน

ลอยกระทง จะตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทินสุริยคติจะราวเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเดือน 12 นี้ เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจึงเย็นสบาย และอยู่ในช่วงฤดูน้ำหลาก มีน้ำขึ้นเต็มฝั่ง ทำให้เห็นสายน้ำอย่างชัดเจน

 

ความเชื่อในวันลอยกระทง

ในวันลอยกระทงนี้มีความเชื่ออยู่หลายอย่าง ทั้ง เชื่อว่าเป็นการบูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวิธีหนึ่ง หรือ เชื่อว่าเป็นการลอยความทุกข์โศกของตนที่มีอยู่ให้ออกไปจากตัวกับสายน้ำที่ไหลไป อีกทั้งยังเชื่อว่าเป็นการขอขมาต่อน้ำโดยเฉพาะแม่น้ำลำคลองซึ่งมีคุณอย่างอเนกอนันต์ทั้งเรื่องใช้ในชีวิตประจำวัน

และนอกจากจะเป็นการบูชา ขอขมา และลอยความทุกข์โศกของตนที่มีอยู่ให้ออกไปจากตัวไปกับสายน้ำแล้ว บางคนยังได้อธิษฐานขอพรกับการลอยกระทงไปอีกด้วย

และเพื่อความเป็ฯสิริมงคล และเป็นการเสริมดวงให้กับผู้ที่ลอยกระทง ในวันลอยกระทง สามารถใช้บทสวดเหล่าในการตั้งจิต ก่อน อธิษฐานขอขมา บูชา และลอยความทุกข์โศก

 

คำอธิษฐานสำหรับลอยกระทง

มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ อะสุกายะ นัมมะทายะ นะทิยา ปุลิเน ฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ ปูชา อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ

(คำแปล) ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชา ซึ่งรอยพระพุทธบาท ที่ตั้งอยู่เหนือหาดทรายในแม่น้ำชื่อนัมมทานทีโน้น ด้วยประทีปนี้ กิริยาที่บูชารอยพระพุทธบาทด้วยประทีปนี้ ขอจงเป็นไปเพื่อประโยชน์ และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เทอญ ฯ (ผู้กล่าวคำถวายไม่ต้องกล่าวว่า "สาธุ")

 

คำขอขมาพระแม่คงคา

 

(กล่าวชื่อ ข้าพเจ้า ชื่อ นามสกุล ... วันเดือนปีเกิด ) สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต

 

ข้าแต่คงคา ลูกขอวันทา ด้วยประทีปกระทง พระแม่คงคา มีความเมตตา ต่อลูกสูงส่ง คือน้ำในกาย สามส่วนมั่นคง กายจึงยืนยง ชุ่มชื่นยืนนาน พระแม่คงคา กำเนิดจากฟ้า โปรยปรายลงมา เป็นกระแสธาร เกิดเป็นแม่น้ำ หลายนามขนาน ปิง, วัง, ยม, น่าน คือเจ้าพระยา ท่าจีน, ตาปี นครชัยศรี โขง, ชี, มูล, ละหาร ห้วยหนองคลองบึง จนถึงแก่งกว๊าน น้ำใต้บาดาล อีกทั้งประปา ลูกลูกทั้งหลาย เดินทางขายค้า สำเร็จกิจจา คมนาคม นำมากินใช้ ได้ดั่งอารมณ์ ยามร้อนประพรม ชุ่มชื่นกายใจ ชำระมลทิน โสโครกทั้งสิ้น สะอาดสดใส ผุดผ่องพราวตา แลเลิศวิไล แม่น้ำรับไว้ สกปรกโสมม น้ำเสียเรือนชาน ซักผ้าล้างจาน เททิ้งทับถม ไหลลงคงคา ธาราระทม สารพิษสะสม เน่าคลุ้งฟุ้งไป วันนี้วันเพ็ญ พระจันทร์ลอยเด่น เป็นศุภสมัย ลูกจัดกระทง ประสงค์จงใจ นำมากราบไหว้ พระแม่คงคา เทวาทรงฤทธิ์ ซึ่งสิงสถิต ทุกสายธารา ทั้งผีพรายน้ำ อย่าซ้ำโกรธา ลูกขอขมา อโหสิกรรม ทำกิจใดใด อุทกภัย อย่าได้เติมซ้ำ อย่าพบวิบัติ ข้องขัดระกำ อย่าให้ชอกช้ำ น้ำท่วมพสุธา อย่าให้สินทรัพย์ ต้องพลันย่อยยับ เพราะสายธารา อย่าให้ชีวิต ต้องปลิดชีวา พระแม่คงคา รับขมาลูก เทอญ

 

พร คำอธิษฐาน ที่มักขอในวันลอยกระทง 

  • ขอให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง
  • ขอให้สมหวังในความรัก 
  • ขอให้หมดทุกข์หมดโศก
  • ขอให้ครอบครัวมีความสุข สุขภาพร่างกายแข็งแรง
  • ขอให้ได้แต่งงาน
  • ขอให้ร่ำรวยเงินทอง
  • ขอให้ค้าขายดี
  • ขอให้ได้เจอเนื้อคู่

advertisement

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส