ทำความรู้จัก “ไอรอนโดม” (Iron Dome) ระบบป้องกันขีปนาวุธอัจฉริยะ

10 ต.ค. 66

ทำความรู้จัก “ไอรอนโดม” (Iron Dome) ระบบป้องกันขีปนาวุธอัจฉริยะ

10 ต.ค. 2566 ถือว่าเป็นสถานการณ์ที่ทั้งโลกต่างให้ความสนใจ และจับตามองเป็นพิเศษ หลังจากที่กลุ่มติดอาวุธฮามาส เปิดฉากโจมตีอิสราเอลทั้งทางอากาศ ทางบก และทางทะเล ทำให้หลายพื้นที่ตกอยู่ในความไม่ปลอดภัย ประชาชนต้องหลบซ่อนตัวอยู่ในบ้าน และใช้ห้องเพื่อเป็นสถานที่นิรภัยรอความช่วยเหลือจากกองกำลังอิสราเอล

แต่หนึ่งในยุทโธปกรณ์ที่สำคัญของอิสราเอล ที่ช่วยป้องกันภัยคุกคามจากขีปนาวุธที่กลุ่มติดอาวุธ “ฮามาส” ยิงถล่มในหลายพื้นที่คือเทคโนโลยีที่ชื่อว่า " ไอรอนโดม (Iron Dome) "

 ไอรอนโดม

ไอรอนโดม

ไอรอนโดม Iron Dome คืออะไร?

คือ ระบบป้องกันขีปนาวุธ ดักจับหรือสกัดกั้นเหนือน่านฟ้า ติดตั้งเรดาร์ที่ตรวจจับจรวด จากนั้นใช้ระบบสั่งการและควบคุม โดยจะคำนวณอย่างรวดเร็วว่าจรวดที่เข้ามานั้น ก่อให้เกิดภัยคุกคามหรือมีแนวโน้มที่จะโจมตีพื้นที่ที่มีผู้คนอาศัยอยู่หรือไม่ หากจรวดก่อให้เกิดภัยคุกคาม Iron Domes จะทำการยิงขีปนาวุธจากพื้นดินเพื่อทำลายในอากาศ ใช้สำหรับตอบโต้จรวด ปืนใหญ่และปืนครก (C-RAM)

 อิสราเอล

จุดกำเนิดของ Iron Dome

ต้นกำเนิดของ Iron Dome ย้อนกลับไปในสงครามอิสราเอล - เลบานอนในปี 2549 เมื่อฮิซบอลเลาะห์ยิงจรวดหลายพันลูกเข้าสู่อิสราเอล ในปีต่อมาอิสราเอลประกาศว่า Rafael Advance Systems ที่ดำเนินการโดยรัฐจะสร้างระบบป้องกันทางอากาศใหม่เพื่อปกป้องเมืองและผู้คน ซึ่งได้รับการพัฒนาโดย Israel Aerospace Industries

 

Iron Dome ถูกนำมาใช้ในปี 2554 ในขณะที่ Rafael อ้างว่ามีอัตราความสำเร็จมากกว่า 90% โดยมีการสกัดกั้นมากกว่า 2,000 ครั้ง ผู้เชี่ยวชาญยอมรับว่าอัตราความสำเร็จสูงกว่า 80% Rafael กล่าวในเว็บไซต์ว่าสามารถ “ปกป้องกองกำลังรวมถึงฐานปฏิบัติการล่วงหน้า (Forward Operating Base, FOB) และพื้นที่ในเมืองจากภัยคุกคามทางอ้อมและทางอากาศในวงกว้าง”

ขณะที่ Associated Press เผยว่า ระบบ Iron Dome ของอิสราเอลสามารถสกัดกั้นจรวดที่ยิงโดยกลุ่มฮามาสได้ร้อยละ 90 ในการโจมตีครั้งล่าสุด

 ปาเลสไตน์

การทำงานของ Iron Dome

  1. เรดาร์จะทำการตรวจสอบจรวดในระยะรัศมี 2.3-43 ไมล์ หรือ 4- 70 กิโลเมตรจากตัวเครื่องยิงสกัดกั้น และทำการส่งข้อมูลไปยังศูนย์บัญชาการ
  2. ศูนย์บัญชาการจะทำการวิเคราะห์คำนวณ ตำแหน่ง วิธีของจรวดว่าจะโจมที่ในพื้นที่ ที่มีคนอยู่อาศัยหรือไม่ รวมถึงคำนวณจุดที่เมื่อยิงขีปนาวุธสกัดกั้นแล้วจะชนกันที่ตรงไหน
  3. เมื่อมีภัยคุกคามพร้อมกัน โดยการรับมือระบบจะให้ความสำคัญกับจรวดที่เป็นภัยคุกคามมีแน้วโน้มโจมตีเมือง และระบบโครงสร้างพื้นฐาน
  4. และสุดท้าย ระบบควบคุมจะเชื่อมต่อกับตัวสั่งการยิงขีปนาวุธเพื่อทำลายจรวด เมื่อประเมินแล้วว่ามีความสมเหตุสมผลที่จะต้องสกัดกั้น เนื่องจากจรวดเป็นภัยคุกคาม ไอรอนโดมจะทำการยิงขีปนาวุธเพื่อเป็นการสะกัดกั้นกลางอากาศ

ข้อมูลอ้างอิงจาก : CNN,แม่หนูเป็นวิศวะ

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม