อดีตผู้บริหารกฟผ. จี้ รัฐควรแก้ปัญหาค่าไฟแพงให้ตรงจุด ไม่ควรเอื้อทุนใหญ่เอกชน

2 ต.ค. 66

อดีตผู้บริหารกฟผ. จี้ เร่งแต่งตั้งผู้ว่าฯคนใหม่ ย้ำรัฐควรแก้ปัญหาค่าไฟแพงให้ตรงจุด ไม่ควรเอื้อทุนใหญ่เอกชน

วันที่ 2 ตุลาคม 2566 กลุ่มอดีตผู้ปฏิบัติงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และภาคประชาชน นำโดยนายพิเชษฐ์ ชูชื่น อดีตผู้บริหารกฟผ., นายธรรมยุทธ สุทธิวิชา อดีตสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกฟผ. (สร.กฟผ.) และนายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้เดินทางยื่นหนังสือต่อ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ระบุว่า เพื่อเรียกร้องให้มีการแต่งตั้งผู้ว่าการกฟผ.คนที่ 16 และแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้าแพงในขณะนี้

อดีตผู้บริหารกฟผ. จี้ รัฐควรแก้ปัญหาค่าไฟแพงให้ตรงจุด ไม่ควรเอื้อทุนใหญ่เอกชน

โดยปัญหาในการแต่งตั้งผู้ว่าการกฟผ.คนที่ 16 เกิดจากการเสนอชื่อแต่งตั้งในช่วงยุบสภาและรัฐบาลรักษาการ ทำให้ขณะนั้นคณะรัฐมนตรีไม่สามารถพิจารณาให้ความเห็นชอบหรืออนุมัติได้ จนขณะนี้ประเทศไทยได้มีรัฐบาลเป็นที่แน่นอนแล้ว จึงขอเร่งให้ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พิจารณาดำเนินการนำเสนอชื่อ นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อเห็นชอบอนุมัติแต่งตั้งให้นายเทพรัตน์ ผู้ซึ่งได้รับการสนับสนุนและการยอมรับทั้งจากพนักงาน กฟผ. และสหภาพแรงงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นผู้ว่าการ กฟผ. เป็นคนต่อไป เพราะเป็นการสรรหามาโดยชอบธรรมแล้ว แต่หากมีการสรรหาผู้ว่าการ กฟผ.ใหม่ ก็จะกลายเป็นข้อสงสัยต่อสังคมว่ามีใบสั่งจากทุนใหญ่

อดีตผู้บริหารกฟผ. จี้ รัฐควรแก้ปัญหาค่าไฟแพงให้ตรงจุด ไม่ควรเอื้อทุนใหญ่เอกชน

สำหรับเรื่องค่าไฟฟ้าแพงนั้น ต้นกำเนิดเกิดมาจากในอดีตภาครัฐและกระทรวงพลังงานเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีบทบาทและกำหนดนโยบายในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้ามากเกินไป โดยขาดการสร้างความสมสมดุลย์ด้าน Demand และ Supply จะเห็นจากปัจจุบัน Supply มีมากกว่า Demand เกินครึ่งหนึ่ง อีกทั้งยังกำหนดให้ กฟผ. ทำสัญญาจ่ายค่าความพร้อมและอื่น ๆ ตลอดจนปล่อยปละละเลยกำหนดนโยบายให้ใช้พลังงานหมุนเวียนมากเกินไป โดยอ้างปัญหาโลกร้อนและไปลงนามสัญญาร่วมกับประเทศต่าง ๆ โดยไม่ดูข้อจำกัดภายในประเทศ จนเป็นเหตุให้เกิดข้อครหารัฐบาลเอื้อประโยชน์ให้กับนายทุนพลังงาน

อดีตผู้บริหารกฟผ. จี้ รัฐควรแก้ปัญหาค่าไฟแพงให้ตรงจุด ไม่ควรเอื้อทุนใหญ่เอกชน

อย่างไรก็ตาม จากนโยบายของรัฐบาล (เศรษฐา ทวีสิน) ประกาศลดค่าไฟ ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่เป็นการแก้ไขปัญหที่ปลายเหตุ ซึ่งไม่ยั่งยืน เพราะการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ จำเป็นต้องแก้ไขสัญญาที่รัฐเสียเปรียบให้เอกชน สร้างความสมดุลย์ Demand และ Supply อย่างสมเหตุสมผล เปิดเสรีการนำเข้าเชื้อเพลิง GAS (LNG) เพื่อให้เกิดการแข่งขัน ซึ่งจะทำให้ค่าไฟฟ้าถูกลง กำหนดให้ภาคเอกชนสามารถขอใช้ท่อ Gas จาก ปตท. ได้โดยไม่มีเงื่อนไข โดยการ
สนับสนุนจากรัฐบาล ควรให้ กฟผ.เป็นองค์กรหลักในการนำเสนอและจัดทำแผน PDP เพื่อนำเสนอรัฐบาลได้อย่างถูกต้อง

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส