สุดเจ๋ง! อพวช.พบ มดบากจีนใจ มดชนิดใหม่ของโลกในอุทยานธรณีโลกสตูล

24 ส.ค. 66

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ปลื้มค้นพบ มดบากจีนใจ มดชนิดใหม่ของโลก ในอุทยานธรณีโลกสตูล 

วันที่ 24 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เปิดเผยว่า อพวช. พบ มดชนิดใหม่ของโลก ในอุทยานธรณีโลกสตูล 

โดยทีมวิจัยทางธรรมชาติวิทยา อพวช.ได้ให้ความสนใจพื้นที่อุทยานธรณีสตูล และได้ดำเนินโครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของแมลง ภายใต้โครงการศึกษาความหลากหลายของพืช และสัตว์ในอุทยานธรณีสตูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 จนถึง พ.ศ. 2567 โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) 

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ปลื้มค้นพบ มดบากจีนใจ มดชนิดใหม่ของโลก ในอุทยานธรณีโลกสตูล 

ซึ่งเป้าหมายของการศึกษานั้น อยู่ในบริเวณอุทยานธรณีสตูล และพื้นที่ติดต่อกันในบริเวณจังหวัดสตูลและตรัง กระทั่งในปี พ.ศ. 2565 นักวิจัย อพวช. ได้ค้นพบมดชนิดใหม่ของโลกในพื้นที่ศึกษา

“มดบากจีนใจ” มดชนิดใหม่ของโลก ถูกค้นพบโดยนายทัศนัย จีนทอง และ ดร.วียะวัฒน์ ใจตรง นักวิชาการกองวิชาการสัตววิทยา สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา อพวช. 

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ปลื้มค้นพบ มดบากจีนใจ มดชนิดใหม่ของโลก ในอุทยานธรณีโลกสตูล 

โดยพบมดชนิดใหม่นี้ อาศัยอยู่ในกิ่งไม้แห้ง ที่ติดค้างอยู่กับลำต้นของไม้พุ่มในป่าละเมาะด้านนอกถ้ำอุไรทอง และบริเวณป่าข้างถนนใกล้คลองห้วยบ้า อำเภอละงู จังหวัดสตูล ในวันที่ 21 เม.ย. 2565 และได้ถูกตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vombisidris satunensis Jeenthong, Jaitrong & Tasen, 2023 

ได้ถูกบรรยายลักษณะและตีพิมพ์ลงในวารสาร Tropical Natural History ฉบับที่ 23 (ปี พ.ศ. 2566) และมดชนิดใหม่ได้ถูกตั้งชื่อไทยว่า “มดบากจีนใจ” ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เพื่อเป็นที่ระลึกในพิธีเปิดนิทรรศการสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ New Species of Life เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2566 

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ปลื้มค้นพบ มดบากจีนใจ มดชนิดใหม่ของโลก ในอุทยานธรณีโลกสตูล 

มดบากจีนใจ เป็น มดขนาดเล็ก มีความยาวลำตัว 2.64 มิลลิเมตร ส่วนหัวและลำตัวมีสีเหลือง ส่วนท้องสีน้ำตาลเข้ม ขาทั้งสามคู่สีเหลืองอ่อนกว่าลำตัว ส่วนหัวมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นผิวด้านหน้าของหัวเป็นลายตาข่าย ด้านข้างหัวมีลักษณะเป็นร่องแคบ 1 เส้น ยาวคาดจากส่วนท้ายหัวผ่านมาชิดขอบล่างตารวม (compound eyes) และยาวไปถึงด้านข้างปาก (Subocular groove) และบริเวณส่วนอก ซึ่งหลอมรวมกับท้องปล้องแรกมีหนาม (Propodeal spine) 1 คู่ มีลักษณะตรง หนา และสั้น ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากมดบากชนิดอื่น 

การค้นพบมดชนิดใหม่ของโลกในอุทยานธรณีสตูล แสดงให้เห็นถึงความคงอยู่ของความหลากหลาย และความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่อุทยานธรณี ซึ่งนอกจากความสมบูรณ์ของการเป็นแหล่งทรัพยากรธรณีที่สำคัญของประเทศไทย และของโลกแล้ว ยังมีความสำคัญของการเป็นแหล่งทรัพยากรชีวภาพที่สำคัญด้วยเช่นกัน และการค้นพบนี้ช่วยเติมเต็มข้อมูลการศึกษาวิจัยและการจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของอุทยานธรณีสตูล นำไปสู่การวางแผนบริหารจัดการพื้นที่ เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอุทยานธรณีสตูลอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

 

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ: สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา อพวช.

 

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส