“สว. สมชาย” ยินดีเพื่อไทยเป็นแก่นนำจัดตั้งรัฐบาล กางเงื่อนไข 10 ข้อ ในการเลือกนายกฯ

21 ก.ค. 66

สว. สมชาย ยินดีเพื่อไทยเป็นแก่นนำจัดตั้งรัฐบาล กางเงื่อนไข 10 ข้อ นายกฯต้องมีคุณสมบัติเหมาะสม พัฒนาเศรษฐกิจ มีนโยบายทางการทหารในทุกมิติ

วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 นายสมชาย แสวงการ สว. โพสต์เฟซบุ๊กภายหลังพรรคเพื่อไทยแถลงรับไม้ต่อจากพรรคก้าวไกล เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยระบุว่า ยินดีกับการฟอร์มทีมจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของพรรคเพื่อไทย ถือเป็นการเดินตามครรลองประชาธิปไตยที่ถูกต้อง

“สว. สมชาย” ยินดีเพื่อไทยเป็นแก่นนำจัดตั้งรัฐบาล กางเงื่อนไข 10 ข้อ ในการเลือกนายกฯ

ดังนั้น จึงขอเสนอผ่านไปยังพรรคเพื่อไทย ในฐานะแกนนำใหม่ ควรแถลงประเด็นของพรรคร่วมรัฐบาลที่ต้องดำเนินการให้ชัดเจนอย่างน้อย ดังนี้

  1. ตัวบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี
  2. พรรคร่วมรัฐบาล ต้องมีนโยบายร่วมสำคัญในการเดินหน้าประเทศให้เจริญก้าวหน้า มีความสงบสันติสุข และไม่มีนโยบายใดๆจากพรรคร่วมรัฐบาลหรือกลุ่มการเมือง กลุ่มอื่นๆที่พรรคการเมืองสนับสนุนในการแก้ไขประมวลกฎหมายมาตรา 112 และมาตราอื่นๆที่เกี่ยวข้อง หรือดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่กระทบต่อสถาบันหลักคือ สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ทั้งการกระทำโดยตรงของรัฐบาล รมต. สส. และเครือข่ายทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะกระทำเองหรือการให้การสนับสนุนใดๆอีกต่อไป
  3. ไม่นิรโทษกรรมคดีทุจริตและคดี 112 หรือคดีอาชญากรรมร้ายแรง
  4. นโยบายด้านเศรษฐกิจนำพาสู่ประเทศพัฒนาแล้วที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม
  5. นโยบายด้านการต่างประเทศที่ไม่กระทบความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาค
  6. นโยบายด้านการทหารและความมั่นคงปลอดภัยของประเทศในทุกมิติ
  7. นโยบายด้านปฏิรูปการศึกษา การพัฒนาสังคมเพื่อเด็กและเยาวชนให้ปลอดภัยจากสังคมสื่อโซเชี่ยลที่สร้างความเกลียดชังในปัจจุบัน
  8. นโยบายด้านแรงงานและสวัสดิการสังคม
  9. นโยบายกระจายความเจริญลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างครอบคลุมทุกมิติ
  10. นโยบายแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยไม่สนับสนุนการทำประชามติแบ่งแยกดินแดนใด ๆ

“สว. สมชาย” ยินดีเพื่อไทยเป็นแก่นนำจัดตั้งรัฐบาล กางเงื่อนไข 10 ข้อ ในการเลือกนายกฯ

ถ้าพรรคเพื่อไทยแกนนำจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ยังหาข้อสรุปร่วมให้ชัดเจนไม่ได้ ขอเสนอให้ทำเรื่องแจ้งต่อประธานรัฐสภา เพื่อเลื่อนการประชุมรัฐสภาในวันที่ 27 กรกฎาคมนี้ออกไปก่อน เพื่อจะได้เกิดความรอบคอบ รัดกุมให้ชัดเจน ในการให้สมาชิกรัฐสภาพิจารณาร่วมกันทำหน้าที่โหวตให้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ได้เสียที

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม