เปิดเรื่องเล่าอาถรรพ์-ลางร้ายก่อนเกิดโศกนาฏกรรม “เรือไททานิค” ล่ม

22 มิ.ย. 66

เปิดเรื่องเล่าอาถรรพ์นิยายบอกเหตุ-ลางร้ายจากมัมมี่เจ้าหญิงอาเมน-รา (Amen-Ra) ก่อนเกิดโศกนาฏกรรม “เรือไททานิค” ล่ม

ประวัติเรือไททานิค

เรือไททานิค หรือ เรืออาร์เอ็มเอส ไททานิค (RMS Titanic) สร้างเสร็จพร้อมให้บริการในปี พ.ศ.2455 จัดเป็นเรือเดินสมุทรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ณ ขณะนั้น สามารถรองรับผู้โยสารได้ถึง 2,435 คน ในวันที่ 12 เมษายา 2455 มีผู้โดยสารบนเรือทั้งสิ้น 2,208 คน และแบ่งเป็นลูกเรือ 860 คน และเกิดเหตุโศกนาฏกรรมชนภูเขาน้ำแข็งในมหาสมุทรแอตแลนติก จมลงในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2455 มีกำหนดการออกจากท่าเรือที่เซาแธมป์ตัน ประเทศอังกฤษ ไปยังนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 12 เมษายา 2455 ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 1,514 ราย

ไททานิค

 

 

เรื่องเล่าอาถรรพ์-ลางบอกเหตุก่อนไททานิคล่ม!

 

นิยายบอกเหตุ?

Futility (The Wreck of the Titan )นิยายที่เขียนโดย Morgan Robertson เป็นนิยายที่ไม่ได้เขียนเกี่ยวกับไททานิคโดยตรง แต่เป็นเรื่องราวที่พูดถึงเรือขนาดใหญ่ที่มีขนาดเท่าสนามฟุตบอล 3 สนามต่อกันชื่อว่า “Titan” เดินทางออกจากเซาแธมป์ตัน ไปขึ้นฝั่งที่นิวยอร์ก โดยเดินเรือผ่านมหาสมุทรแอตแลนติก กลางดึกคืนหนึ่งขณะเดินเรือไปกลางมหาสมุทรเกิดโศกนาฏกรรมชนภูเขาน้ำแข็ง ซึ่งนิยายเรื่องนี้เขียนก่อนเกิดเหตุโศกนาฏกรรมไททานิคถึง 14 ปี

 นิยาย

ข้อมูลจาก Youtube : Point of View

เปิดประวัติ 110ปี ไททานิก เรือที่ไม่มีวันจม

 

อาถรรพ์มัมมี่เจ้าหญิงอาเมน-รา (Amen-Ra)!

เรื่องราวที่เชื่อกันว่าสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เรือไททานิกล่มนั้น เป็นเพราะอาถรรพ์คำสาปจากมัมมี่ของเจ้าหญิงอียิปต์ที่มีผู้แอบนำขึ้นเรือไปด้วยนั่นเอง!

เจ้าหญิงพระองค์นี้มีนามว่า ‘เจ้าหญิงอาเมน-รา’ (Amen-Ra) มีพระชนม์ชีพในช่วงประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในราชวงศ์ของอียิปต์โบราณ ว่ากันว่าเจ้าหญิงอาเมน-รามีนิสัยโหดเหี้ยม ชอบจับทาสและเชลยมาทารุณกรรม ครั้นเมื่อเจ้าหญิงสิ้นพระชนม์ พระศพได้ถูกบรรจุลงในโกศหรือโลงศพไม้ ที่ประดับตกแต่งด้วยทองและเพชรนิลจินดาอย่างงดงามตระการตา จากนั้นก็นำไปฝังไว้ในสุสานหลวงที่เมือง Luxor ริมฝั่งแม่น้ำไนล์ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1890 กลุ่มมหาเศรษฐีหนุ่มชาวอังกฤษ 4 คน ได้เดินทางไปท่องเที่ยวที่ประเทศอียิปต์ และได้เข้าชมสุสานหลวงอันเป็นที่ฝังพระศพของเจ้าหญิงอาเมน-รา มีผู้เข้ามาเสนอขายโลงบรรจุพระศพมัมมี่เจ้าหญิงแก่เศรษฐีหนุ่มทั้ง 4 คน ซึ่งในสมัยนั้นในหมู่คนรวยนิยมซื้อมัมมี่เอาไว้เพื่อใช้ตกแต่งบ้าน เศรษฐีหนุ่มคนหนึ่งตัดสินใจซื้อโลงบรรจุศพมัมมี่ของเจ้าหญิงอาเมน-ราเอาไว้ โดยจ่ายเงินไปในราคาหลายพันปอนด์และนำโลงมัมมี่กลับมาเก็บไว้ที่โรงแรมที่เขาพักอยู่ และนั่นก็คือจุดเริ่มต้นทั้งหมดของเรื่องนี้

23172758_1937110546304108_626

สองชั่วโมงต่อมา เศรษฐีหนุ่มผู้เป็นเจ้าของโลงมัมมี่ได้ออกเดินทางไปเที่ยวชมทะเลทราย หากแต่เขาก็ไม่ได้หวนกลับมาอีกเลย วันรุ่งขึ้นเศรษฐีหนุ่มคนที่สองถูกคนรับใช้ชาวอียิปต์ยิงบาดเจ็บสาหัส จนต้องถูกตัดแขนข้างหนึ่งทิ้ง ต่อมาเศรษฐีหนุ่มคนที่สามทราบข่าวร้ายระหว่างเดินทางกลับบ้านว่า ธนาคารที่เขาฝากเงินไว้เกิดล้มละลายทำให้เขาหมดเนื้อหมดตัว เศรษฐีคนสุดท้ายต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคร้ายที่ไม่มีวันรักษาให้หายขาดได้ แต่ถึงกระนั้นโลงบรรจุพระศพมัมมี่เจ้าหญิงก็ถูกนักธุรกิจจากมหานครลอนดอนคนหนึ่งสั่งซื้อ โดยในระหว่างการขนส่งจากประเทศอียิปต์มายังประเทศอังกฤษนั้น ก็เกิดอุปสรรคขึ้นตลอดเส้นทาง และเมื่อนักธุรกิจผู้นี้ได้ครอบครองมัมมี่ของเจ้าหญิง ไม่นานนักครอบครัวของเขาก็ประสบเหตุร้ายต่างๆ นานา นักธุรกิจผู้นี้จึงตัดสินใจบริจาคโลงมัมมี่อาถรรพ์ให้แก่พิพิธภัณฑ์อังกฤษ (British Museum) และแน่นอนว่า เหตุการณ์ประหลาดก็ได้เกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ในพิพิธภัณฑ์บ่อยครั้ง ทำให้ทุกคนไม่มีใครกล้าเข้าใกล้โลงบรรจุพระศพมัมมีเจ้าหญิงอาเมน-ราอีกเลย

เรือไททานิค

และในที่สุดก็มีนักโบราณคดีชาวอเมริกันตัดสินใจซื้อโลงมัมมี่อาถรรพ์จากพิพิธภัณฑ์ โดยขอให้ส่งโลงมัมมี่ของเจ้าหญิงมาพร้อมกับ ‘เรือไททานิก’ ที่จะออกเดินทางในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1912 จากอังกฤษมายังสหรัฐอเมริกา และนั่นก็ทำให้ผู้คนจำนวนมากเชื่อว่า สาเหตุที่เรือไททานิกอับปางลงนั้นเป็นเพราะความพิโรธของเจ้าหญิงอาเมน-รานั่นเอง อย่างไรก็ตามดูเหมือนเรื่องนี้จะกลายเป็นแค่คำบอกเล่าแบบปากต่อปาก เพราะจากหลักฐานคือบัญชีบันทึกสิ่งของที่นำลงเรือไททานิกไปนั้น ไม่ปรากฏว่ามีโลงบรรจุพระศพมัมมี่เจ้าหญิงอาเมน-รา ขึ้นเรือไททานิกไปด้วย หากแต่ก็มีผู้คนอีกไม่น้อยที่เชื่อว่า เป็นเพราะนี่คือโลงศพจึงต้องแอบนำขึ้นเรือมาเพื่อไม่ให้มีใครรู้ จึงไม่ปรากฏในบัญชีสิ่งของที่ส่งทางเรือนั่นเอง

ข้อมูลจาก Facebook : SpokeDark TV

คำสาปอาถรรพ์ 'มัมมี่เจ้าหญิงแห่งอียิปต์' ที่ใครครอบครองต้องมีอันเป็นไป ไม่เว้นแม้กระทั่ง 'เรือไททานิก'

อย่างไรก็ตามเรื่องราวดังกล่าวเป็นเพียงเรื่องที่เล่าต่อๆ กันมา ยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันชัดเจน โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม

 

 

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส