วัดแจงลูกศิษย์ของขึ้นกระโจนใส่ หลวงพ่อเปิ่น กลางพิธีไหว้ครูเกิดจากสิ่งนี้!

5 มี.ค. 66

วัดบางพระ แจงอาการลูกศิษย์ของขึ้นกระโจนใส่ หลวงพ่อเปิ่น เกจิดังแห่งลุ่มน้ำนครชัยศรี กลางพิธีไหว้ครูเกิดจากจิตตั้งมั่นศรัทธาในรอยสัก

จากกรณที่ วัดบางพระ ต.บางแก้วฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม จัดพิธีไหว้ครูประจำปี 2566 หลวงพ่อเปิ่น (พระครูอุดมประชานาถ) มีบรรดาศิษยานุศิษย์มาทุกสารทิศ เดินทางมาเข้าร่วมพิธีไหว้ครูหลวงพ่อเปิ่น บูรพาจารย์ตำนานสักยันต์เสือเผ่น สักยันต์หนุมาน ที่โด่งดัง

โดยระหว่างร่วมพิธี ลูกศิษย์หลายคนเกิดอาการประหลาดซึ่งหลายคนเรียกว่า "ของขึ้น" ซึ่งหลายคนที่มีอาการก็จะแสดงกิริยาที่ต่างกันออกไป บ้างวิ่ง บ้างเดินไปทั่วบริเวณ บางคนมีลักษณะคล้ายเสือส่งเสียงำคราม ก่อนจะกระโจนเข้าหารูปปั้นของหลวงพ่อเปิ่น ซึ่งเจ้าหน้าที่ของทางวัดก็ได้ทำให้อาการของลูกศิษย์ที่กระโจนหาหลวงพ่อเปิ่นสงบลง

โดยจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ประชาชนหลายคนต่างสงสัยต่ออาการของเหล่าลูกศิษย์ที่เกิดขึ้น ทางวัดบางพระได้ออกมาอธิบายเรื่องราวดังกล่าวผ่านเพจเฟซบุ๊ก วัดบางพระ จ.นครปฐม (หลวงพ่อเปิ่น) โดยระบุรายละเอียดว่า “อาการของขึ้น” โดยอิงจากฐานความรู้ทางพระพุทธศาสนา ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค "สมาธิ" หมายเอาถึง ภาวะที่จิตมีอารมณ์ตั้งมั่นในอารมณ์เดียวของฝ่ายกุศล ดังนี้ชื่อว่า "สมาธิ" ระดับของสมาธิ สามารถแยกออกไปได้ตามความละเอียดปราณีตของจิต ซึ่งเกณฑ์ในการใช้แบ่งระดับสมาธินั้นมีได้หลายเกณฑ์ เช่น แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปมาสมาธิ , แบ่งเป็น 2 ระดับโดยดูจากผลของสมาธิคือฌาน มีรูปฌานกับอรูปฌาน ฯลฯ

ฌาน คือ ความเพ่ง , สมาบัติ คือ การเข้าถึงฌาน ดังนั้น ทั้งฌาน และสมาบัติจึงไม่ใช่ตัวสมาธิโดยตรง แต่เป็นผลที่เกิดจากสมาธิในระดับละเอียดปราณีตขึ้นไปตามลำดับ ยกตัวอย่างระดับความละเอียดของสมาธิที่ทำให้เกิดรูปฌาน 4 คือ
1 ) ปฐมฌาน มีองค์ 5 ได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์
2 ) ทุติยฌาน มีองค์ 3 ได้แก่ ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์
3 ) ตติยฌาน มีองค์ 2 ได้แก่ สุข เอกัคคตารมณ์
4 ) จตุตฌาน มีองค์ 2 ได้แก่ อุเบกขา เอกัคคตารมณ์

อาการของขึ้น คืออะไร?

จากกรณีที่ปรากฏขึ้นในงานไหว้ครูนี้ อาการของขึ้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นผลของการที่จิตตั้งมั่นศรัทธาในรอยสัก และครูบาอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชา ดังที่แสดงออกมาในขณะที่จิตเกิดอารมณ์ ” ปีติ ” หรือความอิ่มเอิบใจ ซึ่ง ” ปีติ ” นั้น สามารถจำแนกออกได้ 5 ประการ ในคัมภีร์วิมุตติมรรค ได้จำแนกเหตุแห่งการเกิดปีติไว้ 6 ประการ

โดยสรุป อาการของขึ้นตามที่ปรากฏนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสมาธิ ( ความตั้งมั่นแห่งจิต ) อันเกิดจากความเชื่อมั่น ทำให้อารมณ์ของจิตเข้าสู่ “ปีติ” นั่นเอง

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส