อาคารกำลังก่อสร้าง ย่านพระราม 9 ทรุดถล่ม คนงานบาดเจ็บ 5 ราย

12 ก.พ. 66

อาคารก่อสร้าง ย่านพระราม9 ทรุดตัวถล่ม คนงานบาดเจ็บ 5 ราย ตร.รุดตรวจสอบ เตรียมสั่งระงับก่อสร้าง ประกาศเป็นเขตอันตราย

เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 12 ก.พ. ร.ต.อ.ธนวัฒน์ วิภาโตทัย รอง สว.(สอบสวน) สน.มักกะสัน รับแจ้งเหตุ อาคารกำลังก่อสร้างถล่มทับคนงานบาดเจ็บ เหตุเกิดที่ อาคารอยู่ระหว่างการก่อสร้างไม่มีชื่อ ซอยวัดอุทัยธาราม ถนนกำแพงเพชร7  แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กทม. รุดไปตรวจสอบพร้อม พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. พ.ต.อ.จรินทร์ ลำลึก ผกก.สน.มักกะสัน เจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร  (เจ้าหน้าที่สถานีดับเพลิงและกู้ภัยบางกะปิ) อาสาสมัครมูลนิธิป่อเต็งตึ๊งและอุปกรณ์เครื่องตัดถ่าง

ที่เกิดเหตุพบเป็นอาคารพาณิชย์ หลังที่ 5 ความสูง 4 ชั้น(รวมชั้นใต้ดิน)  3 คูหา อยู่ระหว่างการก่อสร้าง พบพื้นและคานปูนบริเวณชั้นที่ 4 และชั้น 3 ถล่มลงมาอยู่ที่ชั้น 2 ของตัวอาคาร เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและค้นหาผู้ติดค้างตามซากปรักหักพังก่อนช่วยเหลือคนงานชาวเมียนมารับบาดเจ็บ 3 ราย  ชาย 1 หญิง 2 มีบาดแผลแตกที่ศรีษะและแผลถลอกตามตัว นอกจากนี้ยังมีหญิงคนงานชาวเมียนมา 2 ราย เป็นลมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นำส่งโรงพยาบาล ทั้ง 5 ราย

จากการสอบสวนทราบว่า จากผู้ควบคุมคนงานทราบว่า อาคารกำลังก่อสร้างดังกล่าว สร้างเป็นอาคารที่พักอาศัยและออฟฟิศ ระยะเวลาการก่อสร้าง 365 วัน ระหว่างวันที่ 8 ก.ค.65 -7 ก.ค.66 ก่อสร้างตั้งซ้ายขวา กว่า 10 อาคาร มีคนงานก่อสร้างทั้งหมด 130 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานชาวเมียนมา
 
ก่อนเกิดเหตุเพื่อนคนงานด้วยกันตระโกนว่าอาคารจะถล่มคนงานจำนวนหนึ่งวิ่งหนึออกมาจากที่กิดเหตุทัน หลังจากนั้นโครงสร้างอาคารชี้น 4 และ 3 ถล่มลงมา

เบื้องต้นตรวจสอบพบคนงานชายหญิง 125 คน ยืนยันไม่มีผู้สูญหายและเสียชีวิต

ด้านพล.ต.ท.ธิติแสงสว่าง ผบช.น. ภายหลังเดินทางมาตรวจสอบที่เกิดเหตุด้วยตนเอง และใช้เวลาในการเข้าพื้นที่ไปตรวจสอบและหารือร่วมกับทางด้านของ สำนักงานเขตห้วยขวางและกทมก่อนเปิดเผยว่า หลังเกิดเหตุได้ทำการตรวจสอบ จำนวนแรงงานที่เข้ามาทำงานปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เกิดเหตุ แล้วพบว่า ขณะเกิดเหตุมีคนงานทำงานอยู่ทั้งสิ้น 130 คน เพื่อความแน่ชัดจึงได้สั่งการให้เจ้าหนี้เจ้าหน้าที่ทำการเช็กยอดคนงานใหม่อีกครั้ง

อาคารก่อสร้าง ย่านพระราม9 ทรุดตัวถล่ม

โดยมีการ นำรายชื่อคนงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในโครงการมาขานชื่อเป็นรายบุคคล ซึ่งพบ คนงานประจำการอยู่บริเวณแห่งนี้ 125 คนและไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลอีกจำนวน 5 คนจึงครบตามจำนวน

ส่วนวิศวกรผู้ควบคุมงานขณะนี้ได้เชิญตัวไปสอบปากคำที่สนมักกะสันพื้นที่เกิดเหตุ แล้วพร้อมเสนอให้สำนักงานเขตมีคำสั่ง ยุติการก่อสร้างชั่วคราวโดยให้ปิดพื้นที่เพื่อรอการตรวจสอบความปลอดภัยทางด้านโครงสร้างเสียก่อน
      
ขณะที่ธีรยุทธ ภูมิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนัก ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของกรุงเทพมหานคร ยืนยันว่า จากการตรวจสอบแล้วไม่พบสัญญาณชีพติดค้างอยู่ใต้ซากอาคารแต่อย่างใด จึงมีคำสั่งให้ยุติการค้นหาทันที และจากการตรวจสอบรายชื่อ แรงงาน

พบขณะนี้ครบตามจำนวน ที่ระบุไว้ ส่วนจะปิดสถานที่เขตก่อสร้างเป็นเวลาเท่าไหร่นั้นยังไม่สามารถตอบได้ขึ้นอยู่กับสำนักงานเขตห้วยขวาง
แต่คาดว่าการจะกลับมาทำการก่อสร้างได้อีกครั้งต่อเมื่อมีการตรวจสอบโครงสร้างความปลอดภัยของตัวโครงสร้างอาคารแล้วเสร็จ

สาเหตุ อาคารย่านพระราม 9 ทรุดตัวถล่ม จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า โครงสร้างของอาคารถูกต้องสมบูรณ์แบบตามที่ขออนุญาตไว้ เพียงแต่การโหลดปูนขึ้นไปยังบริเวณชั้น 5 ไม่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม เนื่องจากมีการนำปูนไปไว้ในจุดๆ เดียวไม่ได้มีการไม่ได้กระจายน้ำหนักไปยังพื้นที่อื่น จึงทำให้โครงสร้างไม่สามารถรับน้ำหนักได้

เบื้องต้น เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบหาผู้เกี่ยวข้องรับผิดชอบเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

ตึกทรุดตัว ถล่ม พระราม 9

advertisement

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส