แม่โวยรพ.ชุ่ยแปะฉลากผิด ลูกกินยาแก้คันหวิดดับ สธ.แจง กินครึ่งซีซีไม่ตาย แต่ลำไส้คือต้นเหตุ (คลิป)

24 ธ.ค. 65

จากกรณีหญิงรายหนึ่ง ได้โพสต์เรื่องราวลงเฟซบุ๊กส่วนตัว ขอความเป็นธรรมกรณีโรงพยาบาลประจำอำเภอในพื้นที่ จ.กระบี่ จัดยาพลาด เอายาคาราไมน์ซึ่งเป็นยาใช้ภายนอกให้ลูกวัย 1 เดือนกิน จนอาการโคม่าเข้าห้อง ไอ.ซี.ยู.

776073

วันที่ 24 ธ.ค. 65 ทีมข่าวอมรินทร์ ทีวี ได้พูดคุยกับผู้โพสต์ซึ่งเป็นเเม่ของเด็ก คือ น.ส.ขนิษฐา อายุ 24 ปี เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 64 ลูกชาย คือ ด.ช.กฤษฎา หรือ "น้องเเน็ก" ปัจจุบันอายุ 2 เดือน มีอาการไม่สบายเป็นไวรัสผิวหนัง จึงพาไปรักษาที่โรงพยาบาลประจำอำเภอ โดยนอนรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลเเห่งนี้ 3 คืน 4 วัน เเพทย์ได้ให้น้ำเกลือเเละยาฆ่าเชื้อจนอาการดีขึ้น เเพทย์ก็ให้กลับบ้านเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. พร้อมกับจัดยาให้มาทานที่บ้าน เมื่อเดินทางถึงบ้านเวลา 13.20 น. ก็ให้ลูกนอนหลับพักผ่อน

761345149992

จนเวลา 15.00 น. ลูกตื่นนอน ก็ให้ลูกกินนม อาบน้ำ ก่อนจะเอายาให้ลูกกิน ซึ่งเป็นยาน้ำเเบบขวดฉลากยาเป็นภาษาอังกฤษ ตนเองก็อ่านไม่ออก แต่อีกด้านของขวดจะเป็นฉลากยาภาษาไทย ซึ่งทางโรงพยาบาลแปะมาให้ระบุว่า "แคลเซียม รับประทานครั้งละ 1 เม็ด" 1 เม็ดก็คือ 1 ซีซีของยาน้ำ

687019171811

หลังจากอ่านทำความเข้าใจเเล้ว ก็นำใส่หลอดยาฉีดให้ลูกกิน ฉีดเข้าไปครั้งที่ 1 ลูกกิน เเต่พอฉีดครั้งที่ 2 ปรากฎว่าลูกไม่กินกลับคายออกมาและร้องไห้หนัก ตอนนั้นตนเองตกใจมากทำอะไรไม่ถูก จึงเรียกสามีซึ่งเป็นพ่อเด็กให้เข้ามาดูลูก ทางสามีก็ลองชิมยาดู ปรากฎว่าสามีลิ้นชาบอกว่าเป็นคาลาไมน์ ซึ่งจากการค้นหาตามอินเตอร์เน็ตและสอบถามหลาย ๆ คน ปรากฏเป็นคาลาไมน์ ยาใช้ภายนอกห้ามรับประทาน

894614

หลังจากนั้นลูกมีอาการอาเจียน ท้องเสีย อุจจาระออกมาเป็นน้ำ จึงพาลูกกลับไปที่โรงพยาบาลเดิมอีกครั้งในวันเดียวกัน เเพทย์ให้นอนห้องรวมอยู่ 6 คืน อาการก็ยังไม่ดีขึ้น ทางโรงพยาบาลก็ไม่ยอมบอกความชัดเจนว่าลูกป่วยเป็นอะไร บอกเพียงอาการไม่หนัก และปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวกับคาลาไมน์ที่กินไป

ขณะเดียวกันก็ได้ให้เภสัชกรของโรงพยาบาลซึ่งเป็นผู้จัดยา ได้เข้ามาขอโทษตนเองเเละครอบครัว ยอมรับว่ามีการติดฉลากยาผิดพลาด วันที่ 7 ธ.ค. น้าสาวมาเยี่ยมและเห็นว่าลูกอาการยังไม่ดีจึงโวยวายขอให้ทางโรงพยาบาลรีบส่งตัวเด็กไปที่โรงพยาบาลกระบี่ วันที่ส่งตัวทางโรงพยาบาลประจำอำเภอได้โอนเงินมาให้ตนจำนวน 70,000 บาท และให้เงินติดตัวมาอีก 5,000 บาท รวม 75,000 บาท เป็นการรับผิดชอบเบื้องต้น

633804

น.ส.ขนิษฐา กล่าวอีกว่า โดยเเพทย์โรงพยาบาลกระบี่ระบุว่าลูกชายมีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ ลำไส้บวม หลังจากนอนรักษาที่โรงพยาบาลกระบี่ 4 วัน จนถึงวันที่ 11 ธ.ค. เเพทย์ให้กลับบ้านได้อีกครั้ง โดยให้ใบรับรองแพทย์ระบุว่า เด็กมีอาการผิวหนังอักเสบบริเวณถุงอัณฑะ ตอนนั้นก็คิดว่าน่าจะไม่เป็นอะไรแล้ว แต่พอกลับมาอยู่บ้านได้ 2 วัน ลูกก็ยังอาการไม่ดียังถ่ายเหลวตลอด

จนวันที่ 14 ธ.ค. เเพทย์โรงพยาบาลกระบี่ นัดให้มาตรวจอีกครั้ง หลังจากนั้นก็ให้นอนดูอาการที่โรงพยาบาล เเต่อาการก็ยังไม่ดีขึ้น จนวันที่ 21 ธ.ค. พาลูกเข้าห้อง ไอ.ซี.ยู. ซึ่งอาการโดยรวมของลูกชาย ณ วันที่ 24 ธ.ค. เเพทย์เเจ้งว่าอาการดีขึ้นตามลำดับ เเต่ยังคงให้นอนอยู่ในห้อง ไอ.ซี.ยู. เเละเฝ้านดูอาการอย่างใกล้ชิด

ส่วนโรงพยาบาลประจำอำเภอ หลังจากส่งตัวลูกมาที่โรงพยาบาลกระบี่ก็ไม่เคยติดต่อมาเลยมีเเต่ฝ่ายญาติที่ติดต่อไป เเต่ก็ได้รับคำตอบเพียงว่าอยู่ระหว่างตรวจสอบ ยังไม่ทราบว่าเกิดจากคาราไมน์จริงหรือไม่ ซึ่งส่วนตัวเชื่อว่าต้องเกิดจากคาราไมน์อย่างเเน่นอน เเละอยากรู้ว่าทางโรงพยาบาลจะรับผิดชอบกับเหตุการณ์นี้อย่างไร ตอนนี้หัวอกคนเป็นเเม่เครียดมาก เป็นห่วงลูก กังวลว่ายาที่ลูกกินเข้าไปจะส่งผลต่อร่างกายของลูกในระยะยาวหรือไม่

502980

ด้าน นายเเพทย์สุรัตน์ ตันติทวีวรกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกระบี่ ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายเเพทย์สาธารณสุขจังหวัดกระบี่เเถลงรายละเอียดข้อเท็จจริงต่อสื่อมวลชนว่า เด็กรายดังกล่าวอายุ 2 เดือนเศษ ได้ถูกส่งตัวมารักษาที่โรงพยาบาลกระบี่ เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. ด้วยอาการถ่ายเหลว เเละมีผื่นคันบริเวณขาหนีบ ซึ่งทางโรงพยาบาลมีการดูเเลอย่างเต็มที่โดยเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จนอาการดีขึ้นตามลำดับจึงให้ผู้ป่วยกลับบ้าน

ต่อมาวันที่ 14 ธ.ค. ผู้ป่วยเดินทางมาติดตามอาการตามที่เเพทย์นัด ซึ่งเเพทย์พบว่าผู้ป่วยมีอาการอิดโรย อ่อนเพลีย จากการสอบถามเเม่เด็กทราบว่าผู้ป่วยถ่ายเหลวติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง ก่อนมาพบเเพทย์ตามนัดในวันดังกล่าว ทางโรงพยาบาลจึงรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลเพื่อรักษาตามอาการ

149992

ต่อมาทางโรงพยาบาลให้การดูเเลเด็กในห้องเเยก คือ NICU หรือห้อง ไอ.ซี.ยู.เด็ก เพื่อให้การดูเเลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด โดยผู้ป่วยไม่ได้อยู่ในอาการวิกฤติเเต่อย่างใด รู้สึกตัวดี เเละไม่ต้องใช้เครื่องมือเเละอุปกรณ์ช่วย ยืนยันว่าการที่นำเด็กเข้าห้อง ไอ.ซี.ยู. เพียงเพื่อต้องการดูเเลอย่างใกล้ชิดเท่านั้น ซึ่งอาการก็ดีขึ้นตามลำดับ โดยในวันพรุ่งนี้ 25 ธ.ค. เตรียมให้ทานนมได้ตามปกติ

สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยกินยาคาลาไมน์นั้น ไม่เกี่ยวข้องกับอาการป่วย อีกทั้งตนเองได้ประสานไปยังคณะเเพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ข้อมูลว่ายาคาลาไมน์ที่ผู้ป่วยได้รับหากจะเป็นอันตรายต้องได้รับในปริมาณที่มาก เช่น 1-2 ขวด เเต่ปริมาณที่เด็กได้รับในครั้งนี้เพียงครึ่งซีซี. ดังนั้นจึงไม่อยู่ในระดับที่อันตราย ยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้องกับยาคาลาไมน์ ส่วนอาการท้องเสียของเด็กอาจเกิดจากภาวะในร่างกายของเด็กเอง หรืออาจเกิดจากปัจจัยอย่างอื่น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กท้องเสีย

242915

ส่วนกรณีที่ผู้ปกครองเด็กกังวลเรื่องการรักษาที่ใช้เวลานาน ขอชี้เเจงว่าการรักษาลำไส้กว่าจะกลับมาฟื้นตัวต้องใช้ระยะเวลานาน ดังนั้นต้องได้รับการรักษาไปก่อน ยืนยันว่าอาการเด็กไม่น่าเป็นห่วง โรงพยาบาลกระบี่มีเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวช มีศักยภาพเพียงพอในการดูเเล ไม่จำเป็นต้องส่งต่อโรงพยาบาลอื่น

ทั้งนี้ ในส่วนของการจ่ายยาตามหลักปฏิบัติของทุกโรงพยาบาลจะมีกระบวนการตรวจสอบ โดยเเพทย์จะสั่งมายังห้องยาว่าให้จัดยาชนิดใดบ้าง เเล้วพนักงานประจำห้องยาจะเป็นผู้ติดฉลากยา จากนั้นก็ส่งให้กับเภสัชกรประจำห้องยาตรวจสอบความเรียบร้อย ก่อนส่งยาให้ผู้ป่วย เเต่ยังพบว่ามีความผิดพลาดจ่ายยาคาลาไมน์ให้ผู้ป่วย ซึ่งความผิดพลาดในครั้งนี้ทางสาธารณสุขจังหวัดจะต้องเก็บมาเป็นบทเรียน

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม