เพิ่มขีดความสามารถเกษตรกรรมไทยพัฒนาเกษตรกรอัจฉริยะ

8 ต.ค. 65

ในการประชุม APEC 2022 ไทยมีนโยบายชัดเจนในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการเกษตรของไทยด้วย Bio-Circular-Green Economy Model หรือBCG ซึ่งเป็นการนำความหลากหลายทางชีวภาพ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาใช้ประโยชน์เพื่อแปรรูปสินค้าทางการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น โดยหนึ่งในแนวทางที่สอดคล้องไปกับ BCG Economy Model รวมถึงนโยบาย Thailand 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่รัฐบาลวางกรอบแนวทางครอบคลุมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 - 2580 คือ "โครงการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming)" โดยในขั้นต้นเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้บริหารจัดการเพื่อให้ทำการเกษตรง่ายขึ้น ลดต้นทุนได้มากขึ้น และได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น เช่น การใช้เครื่องมือปรับสัดส่วนปุ๋ย ปริมาณการให้น้ำ และการได้รับแสง การใช้เทคโนโลยี GPS ในการตรวจสอบสภาพอากาศ การออกแบบระบบชลประมานอัตโนมัติ และการสร้างโรงเรือนอัจฉริยะที่ติดตั้งระบบติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ รวมทั้งควบคุมการพ่นละอองน้ำเพื่อลดอุณหภูมิ เป็นต้น

article-th_blue-no.15-3aarticle-th_blue-no.15-3

นอกจากนี้ ตามแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะปี พ.ศ. 2565 – 2566 จะมุ่งเน้นที่การขับเคลื่อนงานด้านเกษตรอัจฉริยะที่ยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้นด้วยการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนกระบวนการผลิตสินค้าทางการเกษตร การปรับรูปแบบการเกษตรในปัจจุบันให้มุ่งสู่เกษตร 4.0 โดยนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาเพื่อนำไปสู่เกษตรอัจฉริยะแห่งอนาคต โดยมีเป้าหมาย คือ มุ่งเน้นการทำการเกษตรแบบทำน้อยได้มาก ใช้ทรัพยากรในการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีการลดต้นทุนและการสูญเสีย ในขณะเดียวกันก็เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มากขึ้น ด้วยการนำเครื่องจักรกลหรือเครื่องมือที่ทันสมัยโดยเฉพาะ “เกษตรดิจิทัล” มาใช้ในกระบวนการผลิต รวมถึงดำเนินการขับเคลื่อนโครงการ “เกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer)” อย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่เข้ามาทำงานในภาคการเกษตรมากขึ้นด้วย

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม