เปิดวิธีเพิ่ม-ถอนชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ภายใน 11 พ.ค.นี้

3 พ.ค. 65

เปิดขั้นตอน เพิ่มชื่อ-ถอนชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่า กทม. กรณีไม่มีชื่อหรือมีชื่อผู้อื่นในทะเบียนบ้าน กำชับต้องยื่นภายใน 11 พ.ค.นี้ 

วันที่ 2 พ.ค.65 นางวันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร ตรวจเยี่ยมการเตรียมความพร้อมเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ณ สำนักงานเขตหลักสี่ ดอนเมือง จตุจักร และบางเขน โดยมีผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมคณะ ผู้อำนวยการเขต ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต และหัวหน้าฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ร่วมให้ข้อมูลและรายละเอียดการดำเนินงานเตรียมการเลือกตั้ง ที่จะมีขึ้นในวันที่ 22 พ.ค. 65 เวลา 08.00 - 17.00 น.

รองปลัดกรุงเทพมหานคร ได้กำชับให้สำนักงานเขตต่างๆ ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ ตรวจสอบความพร้อมและความแข็งแรงของสถานที่เลือกตั้งที่เป็นเต็นท์ เนื่องจากเกรงว่าหากเกิดลมพัดแรงหรือฝนตกอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือเป็นอุปสรรคในการลงคะแนนได้ รวมถึงตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์การเลือกตั้งว่าครบถ้วนเพียงพอหรือไม่ การสำรองและเตรียมเจ้าหน้าที่ประจำหน่อยเลือกตั้งสำรองไว้กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินเจ้าหน้าที่หลักไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่ได้ อีกทั้งให้มีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนเพื่อให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งให้มากที่สุด

เลือกตั้งผู้ว่ากทม

แจ้งประชาชนชนตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่า กทม.

ขณะนี้สำนักงานเขตได้จัดส่งจดหมายแจ้งรายชื่อผู้สิทธิเลือกตั้งให้ประชาชนทราบแล้ว ทางสำนักงานเขตเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทั้งของตนและสมาชิกในครอบครัวว่าครบถ้วนหรือไม่ รวมถึงสถานที่การใช้สิทธิ หรือสามารถตรวจสอบสิทธิเลือกตั้งได้ที่ เว็บไซต์สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย  

หากพบว่าไม่ถูกต้องให้รีบดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว ซึ่งสามารถเพิ่ม-ถอนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ถูกต้องได้ภายในวันที่ 11 พ.ค. 65 

 

วิธีการเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่า กทม.

1.ขอให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง   

2.ตรวจสอบว่าตนเองหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของตน มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือไม่ หรือเจ้าบ้านเห็นว่ามีชื่อบุคคลอื่นอยู่ในทะเบียนบ้านของตนโดยไม่ได้อาศัยอยู่จริงหรือไม่

3.หากพบว่าตนหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของตนไม่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือมีชื่อบุคคลอื่นอยู่ในทะเบียนบ้านของตนให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องถิ่นเพื่อขอเพิ่มชื่อ – ถอนชื่อ 

4.นำสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นใดที่ทางราชการออกให้ไปแสดงตัวพร้อมยื่นคำร้อง ภายในวันที่ 11 พ.ค.นี้ 

รองปลัดกรุงเทพมหานคร ยังได้กำชับเรื่องการดูแลเรื่องการจราจรบริเวณที่เลือกตั้งเพื่ออำนวยความสะดวก ช่วยเหลือผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ทั้งนี้รองปลัดกรุงเทพมหานครได้เน้นย้ำสิ่งสำคัญคือการวางตัวเป็นกลางทางการเมืองของข้าราชการและบุคลากรในสังกัดกรุงเทพมหานคร ต้องมีความระมัดระวังในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และหลีกเลี่ยงการร่วมกิจกรรมที่อาจเข้าข่ายการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งได้

นอกจากนี้ให้สำนักงานเขตเตรียมความพร้อมกรณีผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ติดโควิด-19 มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ต้องดำเนินการอย่างไรให้สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 จากการมาใช้สิทธิเลือกตั้งได้ เนื่องจากการมาใช้สิทธิเลือกตั้งต้องลงคะแนน ณ ที่เลือกตั้งที่กำหนดไว้ และมีชื่ออยู่เท่านั้น อย่างไรก็ตามเพื่อให้มีแนวทางดำเนินการที่ชัดเจนเกี่ยวกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ติดเชื้อโควิด-19 ทางกรุงเทพมหานครจะได้หารือแนวทางดำเนินการที่ชัดเจนกับทาง ศบค.ต่อไป

 

ติดตามผลการเลือกตั้งได้ที่นี่

1_17

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดไทม์ไลน์ เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 2565 คนกรุงต้องทำอะไรต่อบ้าง?
ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 2565 ผู้ไม่สามารถไปใช้สิทธิ 22 พ.ค. ต้องทำอย่างไรบ้าง
รู้หรือไม่เลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพ ปีนี้ใช้งบหาเสียงได้เท่าไหร่

 

 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม