สึนามิถล่มอินโดนีเซีย ดับ 168 ราย เจ็บกว่า 700 สูญหาย 30 บ้านเรือนพังยับ ไม่กระทบคนไทย (คลิป)

23 ธ.ค. 61
จากเหตุการณ์คลื่นซึนามิ ซัดถล่มประเทศอินโดนีเซีย บริเวณช่องแคบ ซุนดา (Sunda Strait) โดยคาดว่าสาเหตุเกิดจากการปะทุของภูเขาไฟกรากาตัว (Krakatau) ทำให้เกิดคลื่นซึนามิซัดถล่มบริเวณตอนใต้ของเกาะสุมาตรา และตะวันตกของเกาะชวา เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บจำนวนมาก
สภาพความเสียหายหลังสึนามิถล่ม
สภาพความเสียหายหลังสึนามิถล่ม

วันที่ 23 ธ.ค. 61 เพจเฟซบุ๊ก กลุ่มประชาสัมพันธ์กรมอุตุนิยมวิทยา โพสต์แจ้งข่าวสาร พร้อมออกแถลงการ และระบุข้อความว่า "#ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา #แผ่นดินไหวที่ Southern Sumatra, Indonesia #ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย 23 ธันวาคม 2561 เวลา 09.30 น."

ด้านเฟซบุ๊ก ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ข้อความระบุว่า "23 ธ.ค.61 เวลา 13.00 น. (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ศภช. ปภ.ขอแจ้งข่าวกรณีเกิดภูเขาไฟ กรากะตัว บริเวณช่องแคบซุนดรา อินโดนีเซีย (ห่างเกาะภูเก็ตประมาณ 1,700 กม)ได้เกิดปะทุเมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. ของวันที่ 22 ธันวาคม 2561 (เวลาไทย) นั้น เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดคลื่นสึนามิ(สาเหตุจากดินถล่มใต้ทะเล บริเวณภูเขาไฟ)ขนาดความสูง 0.28-0.90 เมตร กระทบชายฝั่งประเทศอินโดนีเซีย เวลาประมาณ 21.30 น. ของวันที่ 22 ธันวาคม 2561 เบื้องต้นมีรายงานผู้เสียชีวิตแล้ว 65 ราย บาดเจ็บกว่า 630 ราย โดยสินามินี้ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก ให้ติดตามข่าวจากทางราชการอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ ศภช.ปภ.จะรายงานให้ทราบเป็นระยะอย่างต่อเนื่องต่อไป"

ล่าสุด เพจเฟซบุ๊ก Royal Thai Embassy, Jakarta โพสต์ข้อความแจ้งข่าวสาร โดยระบุว่า "Update เหตุการณ์สึนามิบนชายฝั่งเขตเมือง Pandeglang, Serang, และ Lampung ตอนใต้ ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2561 เวลา 21.30 น. (สถานะ ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2561 เวลา 14.30 น.) 1. โฆษกหน่วยงานบริหารจัดการภัยพิบัติแห่งชาติอินโดนีเซีย (National Disaster Management Agency : BNPB) แจ้งยอดผู้เสียชีวิตจำนวน 168 ราย ผู้บาดเจ็บมากกว่า 700 ราย ผู้สูญหายกว่า 30 ราย 2. คลื่นสึนามิได้สร้างความเสียหายต่อโครงสร้างบ้านเรือนจำนวนกว่า 430 แห่ง โรงแรม 9 แห่ง และเรือ 10 ลำ 3. ทางการ อซ. ได้ประกาศแนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงชายฝั่งในพื้นที่ช่องแคบซุนดา และติดตามข้อมูลทางการจากสำนักงานอุตุนิยมวิทยา ภูมิอากาศ และธรณีฟิสิกส์อินโดนีเซีย (BMKG) และหน่วยงานบริหารจัดการภัยพิบัติแห่งชาติอินโดนีเซีย (BNPB) 4. จากการตรวจสอบกับเครือข่ายนักศึกษาไทยในเขต Lampung ซึ่งมีประมาณ 30 คน พบว่าปลอดภัยดี

ขอบคุณเฟซบุ๊ก กลุ่มประชาสัมพันธ์กรมอุตุนิยมวิทยา, ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ, Royal Thai Embassy, Jakarta, Twitter Ale Jibrael© @shrewdshrewd, AnnaMarie O Carroll @aocarroll

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ