สู้ไม่ถอย! กลุ่มต้านก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะ ปักหลักปิดถนน จราจรอัมพาต ลั่นรอนายกฯ สั่งยุติ

12 ธ.ค. 61
วันที่ 12 ธ.ค. 61 กลุ่มชาวบ้านอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ยังคงใช้รถอีแต๋น ปิดยึดสี่แยกหนองบัว ที่มีเส้นทางสายหลัก ทั้งทางหลวงหมายเลข 11 อินบุรี-เขาทราย และทางหลวงหมายเลข 225 นครสวรรค์-ชัยภูมิ เพื่อประท้วงขับไล่ โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ให้ออกนอกพื้นที่ โดยอ้างว่าจะทำเกิดผลกระทบทางด้านมลพิษต่อชุมชน และจะไม่ยอมย้ายพื้นที่การชุมนุมออกไป จนกว่าจะได้รับคำตอบในการยุติการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะอย่างชัดเจน ล่าสุดการปิดถนนดังกล่าว ส่งผลให้การจราจรติดขัดเป็นจำนวนมาก ผู้ที่ใช้รถใช้ถนนที่เดินทางมาจากจังหวัดพิษณุโลก มุ่งหน้าเข้าสู่กรุงเทพมหานคร ไม่สามารถผ่านทางแยกดังกล่าวได้ ส่วนรถที่มาจากจังหวัดชัยภูมิ เข้าสู่อำเภอหนองบัว เข้าสู่จังหวัดนครสวรรค์ ก็ยังไม่สามารถผ่านสี่แยกดังกล่าวได้
กลุ่มต้านก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะ
กลุ่มต้านก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะ
ล่าสุด เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.หนองบัว ต้องปัดรถบางส่วนให้ใช้เส้นทางการเกษตรของชาวบ้าน ลัดเลาะ อ้อมเข้าสู่เส้นทางหลัก ซึ่งสร้างความลำบากเป็นอย่างมาก
กลุ่มต้านก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะ
กลุ่มต้านก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะ
ตำรวจภูธรจังหวัดนครสวรรค์ พร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกำลังพลกว่า 3 กองร้อย เพื่อเจ้าสลายการชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านโรงไฟฟ้าขยะ ตามคำสั่งของ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ด้านความมั่นคง และกิจการพิเศษ และจะเดินทางมาด้วยตัวเอง โดยยืนยันว่า การชุมนุมที่เกิดขึ้นไม่เกี่ยวกับการ ปลดล็อก ม.44 หรือการหาเสียงทางการเมือง ของ คสช. แต่อย่างใด
กลุ่มต้านก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะ
ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านโรงไฟฟ้าขยะ ยังคงปักหลัก โดยยืนยันจะปักหลักจนกว่าจะได้พบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และสั่งปิดโรงงาน นางเรียมวิไล เรืองธีระวงศา หนึ่งในผู้ชุมนุม เปิดเผยว่า หากการการเจรจาในวันนี้ไม่เป็นไปตามเป้า ก็จะดำเนินการปิดถนนสาย 11 อย่างถาวร เนื่องจากหากมีโรงไฟฟ้าขยะเกิดขึ้น จะส่งผลกระทบกับชาวบ้านในพื้นที่ อีกทั้งชาวบ้านยังได้เตรียมเผาโรงศพพร้อมกับพริกเกลืออีกด้วย ซึ่งที่ตั้งของโรงไฟฟ้าขยะ อยู่บนพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำของชุมชน
เจ้าหน้าที่ กลุ่มต้านก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะ
โดนผู้ชุมนุม เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้กลุ่มชาวบ้านได้เคยไปร้องเรียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว รวมถึงยื่นหนังสือที่สำนักนายกรัฐมนตรี แต่ไม่มีหน่วยงานใดตอบกลับมา ขณะที่การก่อตั้งโรงงาน มีการประชาพิจารณ์ เพียงแค่หมู่บ้านเดียวเท่านั้น อีกทั้งการยืนขอตั้งโรงขยะ ตอนแรกเป็นโรงไฟฟ้าชีวะมวล จากนั้นมีการยืนขอเปลี่ยนแปลงเป็นเชื้อเพลิงขยะ RDF

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ