Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
กรมพัฒนาที่ดิน ตะลุย โครงการพัฒนาดินดานสู่ดินดี

กรมพัฒนาที่ดิน ตะลุย โครงการพัฒนาดินดานสู่ดินดี

8 พ.ค. 68
09:32 น.
แชร์

กรมพัฒนาที่ดิน ตะลุย โครงการพัฒนาดินดานสู่ดินดี สร้างเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

กรมพัฒนาที่ดิน ได้เล็งเห็นปัญหาดินดาน เป็นปัญหาที่สำคัญของเกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ของประเทศไทยส่งผลให้เกษตรกรประสบปัญหาผลผลิตตกต่ำ ถึงแม้ว่าเกษตรกรจะมีการจัดการดิน ปุ๋ยพันธุ์พืช และแหล่งน้ำ แต่ผลผลิตก็ยังต่ำอยู่ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากดินเป็นดินดาน ทำให้มีผลผลิตที่ต่ำกว่าศักยภาพของดิน จากข้อมูลสำนักบริการและพัฒนาการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน จากปัญหาดังกล่าวกรมพัฒนาที่ดิน จึงดำเนินการสาธิตทดสอบในแปลงเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นพื้นที่เกิดปัญหาดินดาน โดยการไถระเบิดดินดานร่วมกับการใส่ยิปซัม สามารถแก้ปัญหาดินดานให้กับเกษตรกรผู้ ปลูกมันสำปะหลัง อ้อย ได้เป็นอย่างดี

จากเหตุผลดังกล่าวกลุ่มวิจัยและพัฒนาการจัดการดิมเสื่อมโทรม กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน จึงจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาดินดานเพื่อส่งเสริมและสาธิตการแก้ไขปัญหาดินดาน ให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชไร่เศรษฐกิจ สามารถเพิ่มผลผลิตพืชไร่ และมีรายได้เพิ่มขึ้น

นายสมยศ เชียงทึก หมอดินอาสา หรือเกษตรกรตัวอย่าง ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า เดิมพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังและอ้อยของตนมีปัญหาดินแข็ง ไถดินได้เพียงประมาณ 10 เซนติเมตร ส่วนมากเกษตรกรมีรถไถประจำครัวเรือน ซึ่งเวลายกร่องจะเป็นร่องเล็ก หัวมันสำปะหลังมีการกระจายตามร่องได้น้อย เกิดการขัดขวางการกระจายตัวของรากพืชและการแทรกซึมของน้ำ ทำให้เกิดน้ำท่วมขังหรือไหลบ่ามากขึ้นในช่วงฝนตกและยังชะล้างเอาหน้าดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ออกไปจากพื้นที่ ขณะเดียวกันก็ทำให้พืชขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากชั้นดินดานจะขวางกั้นไม่ให้ความชื้นจากดินชั้นล่างขึ้นมาถึงบริเวณรากพืชได้ จึงทำให้พืชแคระแกร็นหรือยืนต้นตายได้ เนื่องจากปัญหาดังกล่าว

ทางกรมพัฒนาที่ดินได้เล็งเห็น จึงนำโครงการแก้ไขปัญหาดินดานเพื่อส่งเสริมและสาธิตการแก้ไขปัญหาดินดาน มาส่งเสริมให้กับเกษตรกร ทั้งด้านการบำรุงรักษาดิน การฟื้นฟูดิน ด้านการไถระเบิดดินดาน การเก็บตัวอย่างดิน นำไปวิจัยเพิ่มเติม และยังคงส่งเสริมด้านวัตถุดิบ พร้อมกับช่วยปรับปรุงสภาพดินให้เกษตรกร หลังจากกรมพัฒนาที่ดินเข้ามาส่งเสริมการไถระเบิดดินดาน ทำให้ผลผลิตดีขึ้นอย่างชัดเจน หัวมันสำปะหลังมีการกระจายตัวได้ดี หัวมันสำปะหลังใหญ่ขึ้น ไม่มีการเน่าเสีย รายได้เพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

นางสุทักษ์ ทิพย์เนตร เกษตรกรตัวอย่าง ตำบลเขาพระนอน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้แม้ลงทุนสูงแต่ผลผลิตต่ำ เนื่องจากดินไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยเฉพาะมันสำปะหลังที่เน่าเสียบ่อย เกิดจากการขัดขวางการกระจายตัวของรากพืชและการแทรกซึมของน้ำ ทำให้เกิดน้ำท่วมขังหรือไหลบ่ามากขึ้นในช่วงฝนตก ด้วยเหตุนี้ได้รับการส่งเสริมของสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 กรมพัฒนาที่ดิน เข้ามาช่วยให้องค์ความรู้เกี่ยวกับดินในพื้นที่ ทำให้ทราบปัญหามากขึ้น และยังส่งเสริมการแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็น การไถระเบิดดินดาน การเก็บตัวอย่างดินไปตรวจสอบ การปรับปรุงบำรุงดิน ด้วย พด. ต่าง ๆ ซึ่งหลังจากกรมพัฒนาที่ดินเข้ามาจัดอบรมให้ความรู้ ทำให้ผลผลิตดี รายได้ดี ทำให้เกษตรกรมีความเข้าใจเรื่องดินมากขึ้น และสามารถเพิ่มผลผลิตได้อย่างชัดเจน

ทั้งนี้ จากความสำเร็จที่เกิดขึ้นในพื้นที่นำร่อง กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาการจัดการดินเสื่อมโทรม ได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาดินดานในระดับกว้างขึ้น โดยเน้นการให้ความรู้ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการไถระเบิดดินดาน การใช้วัสดุปรับปรุงดิน และการตรวจวิเคราะห์ดินอย่างต่อเนื่อง พร้อมผลักดันให้กลายเป็นนโยบายหลักในพื้นที่ที่มีปัญหาดินเสื่อมโทรมทั่วประเทศ กรมพัฒนาที่ดินยังคงเดินหน้าส่งเสริมแนวทางแก้ไขดินดานในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรไทยสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ เครื่องมือ และการสนับสนุนที่จำเป็นในการฟื้นฟูดิน และเพิ่มศักยภาพการผลิตของตนเองในระยะยาว

Advertisement

แชร์
กรมพัฒนาที่ดิน ตะลุย โครงการพัฒนาดินดานสู่ดินดี