Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ส่องเพื่อนบ้านอาเซียน งัดแผนลุยศึกการท่องเที่ยว เร่งเครื่องดึงเม็ดเงิน

ส่องเพื่อนบ้านอาเซียน งัดแผนลุยศึกการท่องเที่ยว เร่งเครื่องดึงเม็ดเงิน

20 พ.ค. 68
14:31 น.
แชร์

ส่องเพื่อนบ้านอาเซียน งัดกลยุทธ์ลุยสนามการท่องเที่ยว เร่งเครื่องดึงเม็ดเงินต่างชาติ ไทยต้องตามเกมให้ทัน

ในช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา องค์การท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Tourism) ส่งสัญญาณที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของการเติบโตก้าวหน้าในภาพรวมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโลก โดยใช้ตัวชี้วัดเกี่ยวกับจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศและรายได้ที่เกิดจากการท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นเฉลี่ยในทุกภูมิภาค สถานการณ์ท่องเกี่ยวโลกในภาพรวมกำลังกลับคืนสู่ภาวะก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 ประชาชนเริ่มออกเดินทางท่องเที่ยวทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจการบิน ธุรกิจในภาคบริการกำลังจะกลับมาสู่ยุครุ่งเรืองอีกครั้ง ในขณะที่ประเภทของนักท่องเที่ยวเริ่มแบ่งกลุ่มได้หลากหลายมากขึ้น เกิดนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ที่มีรสนิยมความชอบ และมองหาความแปลกแตกต่างที่รองรับไลฟ์สไตล์ในโลกสมัยใหม่ที่เจริญก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสุดล้ำ

ประเทศไทย มีรายได้หลักจากการท่องเที่ยวและยังเป็นจุดหมายสำคัญของนักท่องเที่ยวต่างชาติในการเดินทางมาเยือนย่านอาเซียน ทำให้เกิดการแข่งขันและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างเห็นได้ชัดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแต่ละประเทศต่างตั้งเป้าและวางกลยุทธ์ทุกอย่างเพื่อช่วงชิงนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ โดยเพื่อนบ้านที่เป็นคู่แข่งสำคัญด้านการท่องเที่ยวของไทยมีกลยุทธ์อะไรบ้าง มาดูกัน

เวียดนาม

เวียดนามเป็นดาวรุ่งด้านการท่องเที่ยวที่กำลังได้รับความสนใจ ปัจจุบันการท่องเที่ยวเวียดนามชูจุดขายด้านทรัพยากรธรรมชาติและ "แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้าง" (Man-made Attraction) ดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยว จุดแข็งด้านการท่องเที่ยวของเวียดนามคือ เวียดนามเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพไม่สูง และมีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย

ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวเวียดนามเบื้องต้น พบว่า ในปี 2567 เวียดนามมีนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 17 ล้านคน รายได้จากการท่องเที่ยวคิดเป็นร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับ GDP โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7 ในปี 2566 นักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวเวียดนาม ส่วนใหญ่มาจากเกาหลีใต้ จีน และไต้หวัน

ในปี 2568 เวียดนามตั้งเป้าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 23 ล้านคน รายได้ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2567 ตั้งเป้าการจ้างงานไว้ที่มากกว่า 10 ล้านตำแหน่งงานเพิ่มสัดส่วนของ GDP ด้านการท่องเที่ยวจากร้อยละ 8 เป็นร้อยละ 13 โดยวางกลยุทธ์ไว้ที่การเชื่อมต่อด้านการเดินทางทางอากาศ วีซ่า และการส่งเสริม Destination Marketing

ตลาดเป้าหมายของเวียดนาม คือ ตลาดนักท่องเที่ยวจากเอเชีย คิดเป็นร้อยละ 79.6 ตลาดนักท่องเที่ยวจากยุโรป ร้อยละ 11.3 ในขณะที่นักท่องเที่ยวจากอเมริกาและโอเชียเนีย เป็นร้อยละ 5.7 และ 3.1 ตามลำดับ หากพิจารณาในรายตลาด พบว่า เวียดนามมีความพยายามที่จะเจาะตลาดนักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ตะวันออกกลาง การยกระดับศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของเวียดนามเป็นประเด็นที่น่าสนใจมาก ส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการตลาดที่ได้ผลอย่างสูงในช่วงเวลาที่ผ่านมา คือ การยกระดับแหล่งท่องเที่ยวอันมากมายของเวียดนาม เช่น จังหวัด Thua Thien Hue ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโก ในปี Visit Vietnam Year หรือ เทศกาลดอกไม่ไฟที่ดานัง (Danang International Fireworks Festival) ในช่วงฤดูร้อน ถ้ำ Son Doong เป็นถ้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีความยาว 9 กิโลเมตร สูง 200 เมตร

การประกาศตัวลงสนามการท่องเที่ยวของเวียดนามมีความน่าสนใจ โดยเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2568 สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเวียดนาม (Vietnam Tourism Association) ประกาศ 5 ภารกิจสำคัญที่จะดำเนินการในปี 2568 เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ 23 ล้านคน นักท่องเที่ยวภายในประเทศ 120 ล้านคน และรายได้ จากการท่องเที่ยว 980 ล้านล้านดอง โดยดำเนินการ 5 ภารกิจ ได้แก่

1. การรวบรวมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานรัฐและท้องถิ่น เพื่อการแก้ปัญหาความยากลำบากในการประกอบธุรกิจท่องเที่ยว

2. มุ่งเน้นเรื่องการเตรียมจัดกิจกรรม เทศกาล ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยว

3. วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวใหม่ ๆ โดยให้ความสำคัญกับนวัตกรรมและการยกระดับคุณภาพบริการทางการท่องเที่ยว

4. ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวสีเขียว และจุดหมายปลายทางที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

5. สร้างกิจกรรมความร่วมมือในระดับนานาชาติ

สิงคโปร์

องค์การท่องเที่ยวสิงคโปร์ (Singapore Tourism Board : STB) พยายามผลักดันให้องค์กรมีจุดแข็ง และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้เป็น "องค์กรทางการตลาดระดับโลกที่มีความคล่องตัว กล้าหาญ และสร้างสรรค์" (A World-Class Marketing Organization That is Agile, Bold and Creative) โดยกำหนดผลลัพธ์ (Outcomes) คือ

• การผลักดันให้สิงคโปร์ ได้รับการพิจารณาให้เป็นจุดหมายปลายทางด้วยการสร้างการรับรู้ผ่านเรื่องราวและเนื้อหาที่หลากหลาย

• ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม (Right segments) ผ่านความพยายามทางการตลาดแบบกำหนดกลุ่มเป้าหมาย

• ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วม (Engagement) และการใช้จ่าย โดยใช้กลยุทธ์การสื่อสารเฉพาะบุคคล (personalized communications)

กลยุทธ์การตลาดของสิงคโปร์

• กลยุทธ์ที่ 1 การบอกเล่าเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ของสิงคโปร์ (Telling a Great Sineapore Story) โคยเรื่องราวของคโปร์ต้องเป็นเรื่องที่แท้จริง (Authentc) ไม่ใช่เรื่องราวเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเท่านั้น แต่รวมถึงเรื่องราวที่เล่าโดยทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (Beyond Destination Brand) โดยข้อมูลเหล่านี้ จะนำมาทบทวนแบรนด์ท่องเที่ยวอีกครั้ง โดยกำหนดให้เป็น หนึ่งแบรนด์ หนึ่งแคมเปญ (One Brand One Campaign) และเจาะลึกเรื่องราวของแบรนด์ด้วยเนื้อหาที่เข้มข้น (Deepening the Brand story with rich content)

• กลยุทธ์ที่ 2 กลยุทธ์การดึงดูดแฟนตัวจริง (Attracting The Right Fans) มุ่งเป้าไปยังกลุ่มลูกค้าที่มีการคัดกรองอย่างแม่นยำ เพื่อเจาะให้ถูกตลาดที่เหมาะสม ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายทั่วโลกที่มีบุคลิกเลพาะตัว (Global Segments with Distinct Personas) มีการจำแนกไว้ 4 กลุ่ม คือ กลุ่ม ครอบครัวหนุ่มสาว (Young Family) กลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่ (Working Millennials) กลุ่มสูงวัยที่กระฉับกระเฉง (Active Silvers) และกลุ่มนักเดินทางเพื่อธุรกิจ (Business Travelers) โดยในกลยุทธ์นี้นอกจากดึงดูดกลุ่มแฟนตัวจริงแล้ว กลยุทธ์นี้ยังให้ความสำคัญกับการสร้างความสมดุลในกลุ่มตลาด เพื่อมุ่งสู่การเติบโตทางการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน โดยการปกป้องรักษากลุ่มตลาดในเอเชียที่เป็นฐานลูกค้าเดิม เช่น อินโดนีเซีย จีน และอินเดีย รวมถึงกลุ่มตลาดเอเชียที่มีการเติบโตสูง เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง เวียดนาม และ เมียนมาร์ อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์นี้ยังกระจายกลุ่มตลาดออกไปนอกเอเชีย ซึ่งเป็นตลาดสำคัญระยะยาว (Long-Haul Market) เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี และฝรั่งเศส

• กลยุทธ์ที่ 3 การปรับปรุงการนำส่งข้อมูล (Enhancing Deliveny) โดยการระดมความรู้ เครื่องมือ และช่องทางที่ถูกต้องในการเสนอเรื่องราวของสิงคโปร์ให้กับกลุ่มแฟนอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ทั้งนี้ สิ่งที่จะต้องดำเนินการอย่างจริงจังคือ การตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven Marketing) การผลักดันศูนย์กลางข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและบริการ (Destination Information and Service Hub) รวมถึงการใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มโชเชียลมีเดีย การบอกเล่าเรื่องราว การแบ่งปันข้อมูลความสนใจของเราไปยังผู้อื่น

มาเลเซีย

ปี 2567 จำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่เดินทางเข้ามาเลเซีย ระหว่างเดือนมกราคม-พฤศจิกายน จำนวน 22.5 ล้านคน อันดับ 1 เป็นนักท่องเที่ยวจากสิงคโปร์มากกว่า 8 ล้านคน อันดับ 2 เป็นนักท่องเที่ยวจากอินโดนีเซีย 3.2 ล้านคน และอันดับ 3 นักท่องเที่ยวจากจีน 3 ล้านคน ส่วนตลาดนักท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่เติบได้ดี เช่น นักท่องเที่ยวจากไทย 1.4 ล้านคน นักท่องเที่ยวจากอินเดียมากกว่า 1 ล้านคน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 72 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566

ในปี 2568 กระทรวงการท่องเที่ยว ศิลปะและวัฒนธรรม (Mistกistry of Tourism , Arts and Culture : Motac) ระบุว่าปี 2568 เป็นปีที่มาเลเซียจะเตรียมตัวสำหรับการประกาศให้ ปี 2569 เป็น ปีท่องเที่ยวมาเลเซีย (Visit Malaysia Year 2026) โดยตั้งเป้าจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ จำนวน 35.6 ล้านคน และรายได้จากการท่องเที่ยว 33,000 ล้านดอลลาร์ และนักท่องเที่ยวภายในประเทศ 261 ล้านคน รายได้จากการท่องเที่ยว 26,000 ล้านดอลลาร์ โดยการประกาศปีท่องเที่ยวมาเลเซีย 2569 ครั้งนี้ เน้นย้ำเรื่องความยั่งยืน การมีส่วนร่วม และการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตามที่ นายกรัฐมนตรีมาเลเชีย นายอันวาร์ อิบบราฮิม (Anwar Ibrahim) มอบนโยบายไว้

ในขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรงการท่องเที่ยว นำเสนอเพิ่มเติมเรื่อง การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์กลุ่มเฉพาะ (Niche Tourism Experience) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อเพิ่มการใช้จ่ายและวันพักเฉลี่ยของนักท่องเที่ยว โดยแคมเปญของ ปีท่องเที่ยวมาเลเซีย 2569 คือ "Landmark Event, Nation Rich Culture Diversity, Natural Beauty and Hospitality" ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรัฐบาลมาเลเซียจัดสรรงบประมาณ 550 ล้านริงกิต ในปี 2568 เพื่อลงทุนในกิจกรรมและสนับสนุนโครงการทางวัฒนธรรม การจัดกิจกรรมท่องเที่ยวที่น่าสนใจ การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นผ่านงานศิลปะ แบบดั้งเดิม

อย่างไรก็ตาม ในปี 2568 จะเป็นปีที่มาเลเซียวางกระบวนการทำงานไว้อย่างบูรณาการ ทั้งการผสมผสานการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การลงทุนภาครัฐ และความร่วมมือของภาคเอกชน โดยแผนงานการท่องเที่ยวในปี 2568 กลับไม่ใช่เฉพาะเป้าหมายเชิงตัวเลขเท่านั้น แต่ยังต้องสะท้อนวิสัยทัศน์ด้านการเติบโตอย่างยั่งยืน พลังของชุมชนและความร่วมมือระหว่างประเทศ

กลยุทธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวของมาเลเซียในปี 2568

• นโยบาย Visa-Free จะขยายระยะเวลาไปจนถึงธันวาคม 2569

• การเพิ่มการเดินทางเชื่อมโยงทางอากาศ เช่น การเปิดตัวเส้นทางการบินระหว่างประเทศใหม่ 10 เส้นทาง เชื่อมต่อกัวลาลัมเปอร์ ยะโฮร์บารู โกตาคินาบาลู ลังกาวี และปีนัง กับจุดหมายปลายทางในเวียดนาม อินเดีย ไทย เกาหลีได้ และ จีน ที่น่าสนใจคือ นายโทนี เฟอนานเดซ (Tony Fernandes) CEO ของ Capital A เปิดเผยแผนงานที่จะทำให้กัวลาลัมเปอร์ พัฒนาเป็นศูนย์กลางสายการบินราคาประหยัดชั้นนำของโลก ซึ่งจะผลักดันให้มาเลเซียกลายเป็น Key Player สำคัญในการเดินทางราคาประหยัด นอกจากข้อมูลดังกล่าวแล้ว ยังพบว่า ข้อมูล OAG Megahubs ประจำปี 2567 ยังจัดอันดับให้ ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ เป็นท่าอากาศยานที่มีการเชื่อมต่อมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสนามบินนานาชาติฮีทโธรว์ ลอนดอน โดยมีบริการเชื่อมต่อ Low-cost connections มากกว่า 14,500 แห่ง ครอบคลุม 137 จุดหมายปลายทาง

• กลยุทธ์การกระจายตลาดไปสู่ตลาด Niche Market เช่น Wellness Eco Luxury Gastronomy Muslim

• กลยุทธ์ยกระดับการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ผ่านช่องทางออนไลน์ใช้ Influencer marketing

• กลยุทธ์การส่งเสริมตลาดศักยภาพ โดยเฉพาะตลาดอินเดีย ได้มีการประกาศยกเว้นวีซ่า ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2566 ต่อมาได้ขยายการยกเว้นวีซ่า 30 วัน สำหรับพลเมืองอินเดียไปจนถึงเดือนธันวาคม 2569

ทั้งนี้ ยังมีการเพิ่มการเชื่อมต่อระหว่างอินเดียและมาเลเชีย โดยมีเที่ยวบินตรง 246 เที่ยว พร้อมเปิดตัวเส้นทางใหม่ โดยสายการบิน IndiGo และสายการบินแอร์เอเชียเชื่อมต่อมาเลเซียกับจุดหมายปลายทาง 17 แห่งในอินเดีย โดยมีเที่ยวบินรวม 91 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ 2567 เพียงปีเดียว แอร์เอเชียเปิดตัวเส้นทางบินใหม่ 8 เส้นทางสู่ประเทศอินเดีย

อินโดนีเซีย

อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีขนาดทางเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเอียงใต้ สำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในอินโดนีเซียนั้นกระทรวงการท่องเที่ยวของอินโดนีเซีย ตั้งเป้าหมายให้นักท่องเที่ยวออกไปสำรวจจจุดหมายปลายทางที่แปลกใหม่ ไม่เหมือนไคร (Unique and Exotic Destinations) ไม่เฉพาะต้องเที่ยวที่บาหลีเท่านั้น อย่างไรก็ตามการท่องเที่ยวของอินโดนีเซียยังต้องเผชิญความท้าทายหลายประการ เช่น ความต้องการที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ทันสมัย และ การบริหารจัดการสภาวะนักท่องเที่ยวล้นเกินในพื้นที่ท่องเที่ยวหลัก รวมถึงประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

ในปี 2568 อินโดนีเซียตั้งเป้าจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ 14.6-16 ล้านคน และนักท่องเที่ยวในประเทศ 1.08 พันล้านคน-ครั้ง รายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ 19-21.1 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นร้อยละ 4.6 ของ GDP เกิดการจ้างงาน 25.8 ล้านตำแหน่ง ข้อสังเกตที่น่าสนใจสำหรับเป้าหมายในปี 2568 คือ การตั้งเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยวภายในประเทศ 1.08 พันล้านคน ซึ่งต่ำกว่าปี 2567 และ 2566 ซึ่งตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1.2 และ 1.4 พันล้านคน เหตุผลของการลดเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศ คือ อินโดนีเซียให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพ มากกว่าปริมาณ

กลยุทธ์การส่งเสริมการท่องเที่ยวปี 2568 ของอินโดนีเชีย กำหนดเป้าหมายให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ยกระดับการท่องเที่ยว ทั้งความสะอาดและความปลอดภัย เน้นความเป็นมาตรฐานสากล ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

• นโยบาย Free Visa เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากจีน และออสเตรเลีย

• เน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

• นำเสนอภูมิทัศน์ที่สวยงามและวัฒนธรรมจาก 17,000 เกาะ โดยเฉพาะเกาะโคโมโด ซึ่งเป็นที่อยู่ของมังกรโคโมโด 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติ

ประเทศไทย

ทิศทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย ในปี 2568 ยังคงใช้แคมเปญหลัก Amazing Thailand ในภาพรวม สำหรับตลาดต่างประเทศ ใช้ Amazing Thailand : Your Stories Never End ตลาดท่องเที่ยวไทย ใช้แคมเปญ สุขทันที ที่เที่ยวไทย

ในปี 2568 ประเทศไทยโปรโมตให้เป็นปี Amazing Thailand Grand Tourism & Sport Year 2025 โดยมีวัตถุประสงค์ คือ ขานรับนโยบายรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวด้วยแนวคิด Ignite Tourism Thailand โดยร่วมกับพันธมิตรทุกภาคส่วนเพื่อสร้างรายได้ กระจายประโยชน์อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ยกระดับชีวิตคนไทยและสิ่งแวดล้อม พร้อมผลักดันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน

แนวคิดหลักในการดำเนินงานคือ Grand Collaborations หรือความร่วมมือครั้งยิ่งใหญ่ ประกอบด้วย 5 แนวคิดการดำเนินงาน คือ

• Grand Festivity จัดให้มีกิจกรรมใหญ่ตลอดทั้งปี เพื่อเป็นจุดขายและดึงดูดนักท่องเที่ยว พร้อมอำนวยความสะดวกในทุกช่องทาง

• Grand Moment การนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวที่มอบประสบการณ์ใหม่ๆ แบบ Very VIP

• Grand Privilege เน้นก็จกรรม Shopping และ Package Tour ตั๋วเครื่องบิน

• Grand Invitation เชิญบุคคลระดับโลกมาเมืองไทยอดทั้งปี อาทิ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬา นักเขียนรางวัลโนเบล มาท่องเที่ยวและแชร์ประสบการณ์

• Grand Celebrations ร่วมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่าง ๆ อาทิ ไทย-จีน ครบรอบ 50 ปี ไทย - สหรัฐอเมริกา ครบรอบ 192 ปี ไทย-สิงคโปร์ ครบ 60 ปี และ ไทย - อินโดนีเซีย ครบรอบ 75 ปี

Advertisement

แชร์
ส่องเพื่อนบ้านอาเซียน งัดแผนลุยศึกการท่องเที่ยว เร่งเครื่องดึงเม็ดเงิน